KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลม้า

ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลม้า

รายละเอียด

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการจัดการของเสียจากม้า กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลม้า และความคิดเห็นต่อการใช้นวัตกรรมปุ๋ยอินทรีย์จากมูลม้า โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าวผลิตจากของเสียจากม้า ซึ่งเป็นของเสียที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัด มาผ่านกระบวนการหมักจนกลายเป็นปุ๋ยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีธาตุอาหารที่จะเป็นต่อพืช จากผลการตรวจวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์ จากห้องปฏิบัติการปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีเกษตร สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พบว่า ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลม้านั้น มีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุ สะท้อนถึงศักยภาพในการกำจัดของเสียจากม้า กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลม้า ประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ และแนวทางเพิ่มคุณค่าเพื่อการขยายผลทางการตลาดเชิงพาณิชย์

วัตถุประสงค์

ปัจจุบันกีฬาขี่ม้าในประเทศไทยได้รับความนิยม และเกิดฟาร์มเลี้ยงม้าในประเทศไทยมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาการจัดการของเสียจากม้า โดยม้าแต่ละตัวผลิตมูลเฉลี่ย 18-23 กิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1 ตันต่อเดือน หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กลิ่นเหม็น การแพร่กระจายของเชื้อโรค และข้อร้องเรียนจากชุมชนโดยรอบ เจ้าของฟาร์มต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดมูลม้า แนวทางหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาคือการนำของเสียจากม้ามาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยลดของเสียและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ สามารถนำสารเร่งหมักมาใช้เพื่อลดระยะเวลาการหมัก และเสริมแหนแดงเพื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ย ซึ่งช่วยให้ได้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและสามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์ สร้างรายได้ให้กับเจ้าของฟาร์มและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมอื่น ๆ

ฝาแฝดดิจิตอลของตู้ปลาเพื่อการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

ฝาแฝดดิจิตอลของตู้ปลาเพื่อการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

งานวิจัยนี้นำเสนอ ฝาแฝดดิจิตอลของตู้ปลาเพื่อการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยพัฒนาแบบจำลองเสมือนจริงที่สามารถแสดงค่าพารามิเตอร์สำคัญของน้ำ ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่าง, อุณหภูมิ, อัตราการไหลของน้ำ และ ออกซิเจนที่ละลายน้ำ แบบเรียลไทม์ ข้อมูลจากเซ็นเซอร์จะถูกประมวลผล และแสดงผลผ่านส่วนอินเทอร์เฟซกราฟิกผู้ใช้ เพื่อสะท้อนสถานะของตู้ปลาเสมือนจริง ซึ่งช่วยให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำได้อย่างแม่นยำ และไม่พึ่งพาซอฟท์แวร์ราคาแพง

ผลของความหนาบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพข้าวโพดหมักอาหารสัตว์

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ผลของความหนาบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพข้าวโพดหมักอาหารสัตว์

สภาพแวดล้อมที่แปรปรวนในปัจจุบันทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ในฤดูแล้งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น การศึกษาผลของความหนาบรรจุภัณฑ์ ต่อคุณภาพข้าวโพดอาหารสัตว์ในระหว่างการเก็บรักษาระยะยาวเพื่อคงคุณภาพของข้าวโพดหมักในฤดูแล้งเนื่องจากเกิดการขาดแคลน ผลการศึกษาพบว่า บรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดความหนา 80, 120, 150 และ 200 ไมครอนที่อายุ 0-21 วัน มีคุณสมบัติทางกายภาพได้แก่ กลิ่น, เนื้อพืชหมัก, สี และค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยกลิ่นของพืชหมักจะมีความคล้ายกลิ่นผลไม้ดอง หรือน้ำส้มสายชู เนื้อพืชหมักจะมีความแน่น ส่วนใบและลำต้นคงสภาพเดิม สีของพืชหมักมีสีเหลืองอมเขียว และมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 3.7-4.7 การวิเคราะห์ปริมาณกรดแลคติก พบว่า บรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดความหนา 200 ไมครอนที่อายุเก็บรักษา 21 วัน มีปริมาณกรดแลคติกมากที่สุด (5.64%) และคุณค่าทางโภชนะของข้าวโพดหมักในบรรจุภัณฑ์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

เครื่องคัดแยกเฉดสีของพลอยอัตโนมัติ

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

เครื่องคัดแยกเฉดสีของพลอยอัตโนมัติ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องคัดแยกเฉดสีของพลอยแบบอัตโนมัติ เพื่อลดข้อจำกัดของการคัดแยกเฉดสีโดยอาศัยแรงงานมนุษย์ ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านความรวดเร็วและความแม่นยำ งานวิจัยนี้นำเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) มาใช้ในการวิเคราะห์และแยกเฉดสีของพลอย โดยพัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถตรวจจับและจำแนกเฉดสีได้อย่างแม่นยำ พร้อมด้วยการออกแบบระบบรางอัตโนมัติเพื่อขนส่งพลอยผ่านเครื่องคัดแยกเฉดสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบรางดังกล่าวช่วยให้กระบวนการคัดแยกดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง วิธีการทำงานของเครื่องคัดแยกประกอบด้วยการจับภาพสีของพลอยด้วยกล้องความละเอียดสูง จากนั้นประมวลผลภาพด้วยโปรแกรม เพื่อจำแนกเฉดสีของพลอย และส่งพลอยไปยังตำแหน่งที่กำหนดบนรางอัตโนมัติ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เครื่องคัดแยกเฉดสีอัตโนมัติที่รวมระบบรางมีความแม่นยำและรวดเร็วสูง สามารถช่วยลดต้นทุนแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกเฉดสีของพลอยได้อย่างมีนัยสำคัญ