KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การเสริมสารอาหารในแครกเกอร์ด้วยกากกาแฟ

รายละเอียด

กากกาแฟเป็นส่วนเหลือจากการชงกาแที่มีส่วนของสารอาหารหลายชนิด งานวิจัยนี้จึงใช้กากกาแฟเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แครกเกอร์ โดยศึกษาสูตรและกระบวนการผลิตแครกเกอร์สูตรพื้นฐานที่ได้รับความนิยม ก่อนการเสริมด้วยกากกาแฟที่อัตราส่วนต่างๆ ผลการทดลองพบว่าการใส่กากกาแฟในแครกเกอร์ ได้รับคะแนนความชอบจากผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มกาแฟ อีกทั้งยังกากกาแฟยังสามารถเพิ่มปริมาณสารอาหาร โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ให้กับผลิตภัณฑ์

วัตถุประสงค์

ผลิตภัณฑ์เบเกอรี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคนิยมชื่นชอบ และสะดวกต่อการบริโภคทั้งในเวลาเร่งด่วนและเวลาว่าง โดยเฉพาะแครกเกอร์ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่สะดวกพกพา และสามารถนำมาบริโภคได้ในทุกช่วงเวลา การเสริมคุณค่าทางโภชนาการในแครกเกอร์ จึงมีส่วนช่วยให้ผู้บริิโภคได้รับประโยชน์มากขึ้น นอกจากนี้ แครกเกอร์มีองค์ประกอบของส่วนผสมที่อาจส่งผลต่อคุณภาพ โดยเฉพาะไขมัน แนวมลทางการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบที่มีส่วยช่วยในการเสริมสารอาหารแบะช่วยต้านการเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชันเนื่องจากไขมัน จึงมีศักยภาพในการนำไปใช้ผลิตจริง กากกาแฟจึงนับเป็นวัตถุดิบที่มีคุณลักษณะดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงใช้กากกาแฟในการเสริมอาหารให้กับแครกเกอร์ ด้วยกากกาแฟมีใยอาหาร มีสารประกอบโพลีฟีนอลดและยังเป็นการใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือการชงกาแฟ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรมอื่น ๆ

นวัตกรรมเครื่องยนต์สเตอร์ลิงพลังงานสะอาด

คณะวิศวกรรมศาสตร์

นวัตกรรมเครื่องยนต์สเตอร์ลิงพลังงานสะอาด

เนื่องจากความต้องการพลังงานที่มีมากขึ้น แต่เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักมีอยู่อย่างจำกัดและเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิษและภาวะโลกร้อน ดังนั้นพลังงานทางเลือกจึงเป็นกุญแจสำคัญเพื่อความยั่งยืนด้านพลังงาน ประเทศไทยมีศักยภาพของพลังงานชีวมวลจากเกษตรกรรม ดังนั้นการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าที่มลพิษต่ำและสามารถใช้ได้กับแหล่งพลังงานทดแทนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเครื่องยนต์สเตอร์ลิงซึ่งมีโครงสร้างชิ้นส่วนไม่ซับซ้อน ปราศจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์จึงเป็นเครื่องยนต์ที่มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องยนต์สเตอร์ลิงร่วมกับแหล่งพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฟฟ้าและสาธิตการทำงานจริง เกิดองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องยนต์ผลิตไฟฟ้าปราศจากมลพิษในประเทศ ตลอดจนสามารถขยายผลนำไปใช้ประโยชน์กับคนไทย

เซนเซอร์ตรวจวัดสารซาลบูทามอลทางเคมีไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคพอลิเมอร์ลอกแบบโมเลกุลร่วมกับวัสดุนาโนคอมพอสิตคอปเปอร์ออกไซด์และกราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์

วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ

เซนเซอร์ตรวจวัดสารซาลบูทามอลทางเคมีไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคพอลิเมอร์ลอกแบบโมเลกุลร่วมกับวัสดุนาโนคอมพอสิตคอปเปอร์ออกไซด์และกราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์

การใช้เซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าร่วมกับแสงเพื่อตรวจวัดสารเร่งเนื้อแดงที่มีชื่อว่า "ซาลบูทามอล(Salbutamol)" โดยอาศัยเทคนิคพอลิเมอร์ลอกแบบโมเลกุลในการตรวจวัดร่วมกับวัสดุนาโนคอมพอสิตคอปเปอร์ออกไซด์และกราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์(CuO/g-C₃N₄ Nanocomposite) ในการเพิ่มประสิทธิภาพของเซนเซอร์

รถไฟฟ้าสามล้อแบรนด์ ERA รุ่น ATOM

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

รถไฟฟ้าสามล้อแบรนด์ ERA รุ่น ATOM

-