การพัฒนาครีมบำรุงมือจากสารสกัดต้นแก้ว ด้วยกระบวนการสกัดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการสกัดสารสำคัญจากต้นแก้วโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สารสกัดที่ได้มีคุณสมบัติเด่นในการต้านแบคทีเรียและต้านอนุมูลอิสาระ และถูกนำไปพัฒนาเป็นส่วนผสมของครีมบำรุงมือ
ต้นแก้ว (Murraya paniculata) เป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์พื้นบ้านและมีรายงานถึงคุณสมบัติทางชีวภาพ เช่น ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและต้านอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตาม การนำสารสกัดจากต้นแก้วมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางยังมีข้อจำกัดด้านวิธีการสกัดที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการสกัดด้วยน้ำ และศึกษาคุณสมบัติเพื่อนำไปพัฒนาเป็นครีมบำรุงมือที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อผู้ใช้
คณะวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้นำเสนอการพัฒนา "บ้านแมวอัจฉริยะ (Smart Cat House)" โดยใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) และการประมวลผลภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยในการดูแลแมวของเจ้าของ โครงสร้างพื้นฐานของบ้านแมวอัจฉริยะประกอบด้วยบอร์ด ESP8266 ที่เชื่อมต่อกับกล้อง ESP32 CAM สำหรับการตรวจสอบแมว และบอร์ด Arduino ที่ควบคุมเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวในกระบะทราย เซ็นเซอร์อุณหภูมิและความชื้น DHT22 เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำและอาหารด้วย Ultrasonic รวมถึงระบบจ่ายน้ำดื่มสำหรับแมว ระบบให้อาหารอัตโนมัติ และระบบระบายอากาศที่ควบคุมด้วย DC FAN ซึ่งปรับการทำงานตามอุณหภูมิที่วัดได้ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมี IR sensor สำหรับตรวจจับการเข้าห้องน้ำของแมว และระบบเปลี่ยนทรายอัตโนมัติด้วย SERVO MOTOR ระบบทั้งหมดเชื่อมต่อและควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน Blynk ที่สามารถใช้งานบนมือถือ ทำให้เจ้าของสามารถติดตามและดูแลสัตว์เลี้ยงได้จากระยะไกล การตรวจจับและยืนยันตัวตนของแมว ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพจากกล้อง ESP32 CAM ร่วมกับ YOLO (You Only Look Once) ซึ่งเป็นอัลกอริทึมตรวจจับวัตถุที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อตรวจจับและแยกแยะระหว่างแมวกับคน ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ จะถูกส่งไปยังบอร์ด Arduino เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านแมวอัจฉริยะ เช่น การเปิด-ปิดไฟ การเปลี่ยนทรายอัตโนมัติ การปรับอุณหภูมิและความชื้น การให้อาหารและน้ำตามเวลาที่กำหนด หรือการระบายอากาศ การใช้ระบบเชื่อมต่อผ่าน ESP8266 และแอปพลิเคชัน Blynk ช่วยให้การควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ทำได้ง่ายและสะดวก เจ้าของสามารถติดตามและควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมดได้จากทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ถังบรรจุก๊าซความดันสูงที่ผลิตจากวัสดุประกอบ ได้แก่ คาร์บอนไฟเบอร์ เรซิน และพลาสติก ถูกออกแบบสำหรับบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) หรือไฮโดรเจน ซึ่งถูกเรียกว่าถังความดันสูง แบบที่4 โดยในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบให้รองรับการใช้งานที่ความดัน 250 บาร์ สำหรับการขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อสร้างคำบรรยายอัตโนมัติจากการแบ่งส่วนความเสียหายของชิ้นส่วนรถยนต์ โดยการวิเคราะห์จากข้อมูลภาพของรถยนต์โดยใช้โครงสร้างแบบโครงคร่าวแบบรวม (Unified Framework) เพื่อช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งและอธิบายความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว โดยการพัฒนาประยุกต์จากพื้นฐานงานวิจัยที่มีชื่อว่า ”GRiT: A Generative Region-to-text Transformer for Object Understanding” ที่ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาและปรับแต่งให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์ภาพที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์โดยเฉพาะ การปรับปรุงนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำให้แบบจำลองสามารถสร้างคำบรรยายสำหรับบริเวณต่างๆ ของรถยนต์ได้อย่างแม่นยำ ตั้งแต่บริเวณที่ได้รับความเสียหายไปจนถึงการระบุส่วนประกอบต่างๆ บนรถยนต์ ทางผู้วิจัยได้เน้นการพัฒนาเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อสร้างคำบรรยายอัตโนมัติและการแบ่งส่วนความเสียหายในการวิเคราะห์ความเสียหายของรถยนต์ เพื่อช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งและอธิบายความเสียหายที่เกิดขึ้นกับยานยนต์ได้อย่างแม่นยำ ช่วยเพิ่มความรวดเร็ว ลดภาระของผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเสียหาย โดยวิธีการเเบบดั้งเดิมอาศัยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน เพื่อลดปัญหานี้ ทางเราเสนอให้ใช้ประโยชน์จากการสร้างข้อมูลเพื่อฝึกฝนการสร้างคำบรรยายาย เเละ แบ่งส่วนความเสียหายอย่างอัตโนมัติ โดยใช้ โครงสร้างแบบโครงคร่าวแบบรวม ซึ่งการพัฒนานี้เป็นการขยายความสามารถของแบบจำลองให้สามารถประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางมากขึ้นในภาคส่วนของยานยนต์ ทางผู้วิจัยได้สร้างชุดข้อมูลใหม่จาก CarDD ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการตรวจจับความเสียหายของรถยนต์ ในชุดข้อมูลนี้มีการติดป้ายกำกับความเสียหายบนรถยนต์ และผู้วิจัยได้นำข้อมูลชุดดังกล่าวมาเข้าสู่แบบจำลองเพื่อแยกส่วนของรถยนต์เป็นชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อจัดทำการติดป้ายกำกับคำอธิบายที่แม่นยำสำหรับแต่ละชิ้นส่วนและหมวดหมู่ความเสียหาย ผลลัพธ์เบื้องต้นจากเเบบจำลอง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างคำบรรยายอัตโนมัติและการแบ่งส่วนความเสียหายในการวิเคราะห์ความเสียหายของรถยนต์ได้อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ด้วยผลลัพธ์นี้ เเบบจำลองนี้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะถูกพัฒนาต่อยอดในอนาคต การพัฒนาต่อยอดนี้ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการแบ่งส่วนความเสียหายและสร้างคำบรรยายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับปรุงความสามารถในการตอบสนองต่อความหลากหลายของความเสียหายที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวและส่วนต่างๆ ของรถยนต์ ซึ่งจะช่วยให้ระบบสามารถประยุกต์ใช้ได้กับยานยนต์หลากหลายรูปแบบและสภาพความเสียหายที่แตกต่างกันมากขึ้นในอนาคต