KMITL Innovation Expo 2025 Logo

นภาระยับ

นภาระยับ

รายละเอียด

แบบจำลองเชิงแนวคิด (conceptual model) ที่ได้แรงบันดาลใจมากจากกระจกสีในสถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic) ถ่ายทอดความซับซ้อนและสมดุลผ่านลวดลายเรขาคณิตที่ประณีต ซึ่งสะท้อนถึงความกลมกลืนอันศักดิ์สิทธิ์ โครงสร้างที่สมมาตร และการไล่ระดับของแสงที่ลอดผ่านกระจกสี ช่วยสร้างมิติของความเคลื่อนไหว เสริมให้บรรยากาศโดยรอบเปี่ยมไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์และมนต์ขลัง เปรียบดั่งหน้าต่างที่เปิดสู่สรวงสวรรค์

วัตถุประสงค์

โครงการนี้เกิดจากแรงบันดาลใจในการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะสถาปัตยกรรมกอทิกและการออกแบบสมัยใหม่ โดยนำกระจกสีมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาความสมดุลและความศักดิ์สิทธิ์ของลวดลายและแสง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแสงและวัสดุในการสร้างบรรยากาศที่มีความลึกและความเคลื่อนไหว

นวัตกรรมอื่น ๆ

ระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ โดยระบบประกอบไป 4 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ 1 สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และความยาวนานของแสง เป็นต้น ส่วนที่ 2 หน่วยประมวลผล (Controller Unit) โดยจะมีการติดตั้งอัลกอริทึมหรือแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อใช้ประเมินค่าการคายระเหยน้ำของพืชอ้างอิง (ETo) และจะใช้คำนวณร่วมกับค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืชนั้น ๆ (Crop Coefficient: Kc) และข้อมูล อื่น ๆ เกี่ยวกับพืชนั้น ๆ เพื่อประเมินปริมาณการใช้น้ำตามความต้องการของพืชโดยอัตโนมัติ ส่วนที่ 3 ส่วนติดต่อผู้ใช้งานและหน้าจอแสดงผล (User Interface (UI) and Display) เป็นส่วนที่ให้เกษตรกรหรือผู้ใช้งานสามารถป้อนข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของพืช ชนิดของดินที่ปลูก ประเภท ของระบบการให้น้ำ จำนวนหัวจ่ายน้ำ ระยะปลูก และช่วงการเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น และส่วนที่ 4 หน่วยควบคุมและหัวจ่ายน้ำ (Irrigation Unit)

การตรึงวัสดุนาโนโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายอะฟลาทอกซิน บี1

คณะวิทยาศาสตร์

การตรึงวัสดุนาโนโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายอะฟลาทอกซิน บี1

วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ตกแต่งด้วยวัสดุนาโนโลหะ (Bi-Metallic NPs/ Photocatalyst) ได้ถูกสังเคราะห์ ในการสลายอะฟลาทอกซิน บี1 ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ตกแต่งด้วยวัสดุนาโนโลหะถูกสังเคราะห์ด้วยคลื่นอัลตราโซนิก (Ultrasonic waves) วัสดุถูกนำมาศึกษาคุณลักษณะทางเคมีโดยการใช้เทคนิค Transmission electron microscope (TEM), X-ray photoelectron spectroscopy (XPS), X-ray diffraction analysis (XRD), Fourier transform infrared spectrometer (FT-IR), Zeta potential analyzer และ UV-visible spectrophotometer อนุภาคนาโนโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการย่อยสลาย AFB1 ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งครัวเรือนภายใต้แสงวิสิเบิล โดยนำมาวิเคราะห์ด้วยโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ช่วงความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร พบว่าสามารถกำจัด AFB1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 100 % ภายในเวลา 2 นาที ประสิทธิภาพที่เหนือชั้นนี้เป็นผลมาจาก โครงสร้างที่มีรูพรุนสูง พื้นที่ผิวจำเพาะที่เพิ่มขึ้น และอัตราการรวมตัวใหม่ของอิเล็กตรอน-โฮลที่ลดลง แสดงให้เห็นว่าวัสดุนาโนที่ได้พัฒนาประสบความสำเร็จในการสลาย AFB1

โครงการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเครื่องขายของอัตโนมัติ

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

โครงการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเครื่องขายของอัตโนมัติ

การออกแบบกราฟฟิกตู้ขายของอัตโนมัติ และพื้นที่โดยรอบขนาด 5*6 เมตร โดยนำแบรนด์สกินแคร์ INGU เป็นสินค้า