KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ไร้การกระทำ

รายละเอียด

งานชิ้นนี้ได้ถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดหลักของสภาวะโลกร้อนและโลกหลังยุคล่มสลาย ที่ได้ส่งผลกระทบให้ระบบนิเวศเกิดการแทรกแซงและความวุ่นวาย และการดำรงอยู่ของหลายๆสิ่งมีชีวิตบนโลกต้องสูญหายไป ซึ่งเกิดจากการกระทำของมนุษย์ การแก้ไขและซ่อมแซมโลกใบนี้จึงอาจเป็นความหวังที่ไม่อาจเกิดขึ้นจริง เชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนตัวของข้าพเจ้าที่ต้องสูญเสียสิ่งที่รัก และความทุกข์จากการตั้งความหวังที่ยิ่งใหญ่ ผ่านกระบวนการศิลปะโดยใช้สื่อ Animation Art และ Sound art

วัตถุประสงค์

ข้าพเจ้าต้องการแสดงถึงปัญหาและสิ่งที่มนุษย์ได้ทิ้งเศษซากไว้ให้ผู้อื่นรับผลกระทบแทนตน เพื่อให้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิต เพื่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั่วโลก และข้าพเจ้าได้เชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวลงไปเพื่อเป็นการแสดงความรู้สึกร่วมซึ่งล้วนเป็นความทุกข์ออกไปให้ผู้อื่นได้รับทราบไม่มากก็น้อยเพื่อแบ่งเบาความทุกข์นี้ไปจากข้าพเจ้า

นวัตกรรมอื่น ๆ

ออกแบบวงจรสำหรับการควบคุมเครื่องผลิตไฮโดรเจนโดยใช้แหล่งจ่ายจากเซลล์โฟโตโวลเทอิก

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ออกแบบวงจรสำหรับการควบคุมเครื่องผลิตไฮโดรเจนโดยใช้แหล่งจ่ายจากเซลล์โฟโตโวลเทอิก

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนา ระบบแปลงพลังงานไฟฟ้า เพื่อควบคุมการจ่ายพลังงานจาก โซล่าร์เซลล (PV) ไปยัง เครื่องผลิตไฮโดรเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ตามแนวทาง RE100 โดยเฉพาะไฮโดรเจนสีเขียว ที่ได้จากกระบวนการอิเล็กโทรไลซิสน้ำโดยใช้พลังงานสะอาดจากโซล่าร์เซลล์ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดมลพิษ โครงสร้างของระบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย อินเวอร์เตอร์ NPC แบบ 3 ระดับ (Three-Level NPC Inverter), หม้อแปลง, วงจรเรียงกระแสแบบเต็มลูกคลื่น และวงจรกรองความถี่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้กับเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ การออกแบบและจำลองระบบดำเนินการโดยใช้ MATLAB และ Simulink เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวงจรและวิเคราะห์ผลลัพธ์ นอกจากนี้ ยังใช้ระบบควบคุม ไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับวงจรขับเกต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส โดยช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และการออกแบบนี้สามารถแปลงพลังงาน PV ไปเป็นแรงดันและกระแสที่เหมาะสมสำหรับเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ โดยยังคงรักษาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตไฮโดรเจนไว้

การออกแบบสวนสาธารณะ : Saint Chon College Campus Park

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การออกแบบสวนสาธารณะ : Saint Chon College Campus Park

ต่อยอดจากโปรเจ็คออกแบบสวนสาธารณะ สู่การออกแบบพื้นที่วิทยาเขต บนพื้นที่ 50 กว่าไร่ในตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นทั้งสถานศึกษาและพื้นที่พักผ่อนและให้การเรียนรู้แก่ผู้คนโดยรอบ

การหาสภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการผลิตน้ำอัญชันเข้มข้นด้วยการระเหยสุญญากาศ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การหาสภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการผลิตน้ำอัญชันเข้มข้นด้วยการระเหยสุญญากาศ

โครงการปริญญานิพนธ์นี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำอัญชันเข้มข้นด้วยกระบวนการระเหยสุญญากาศ โดยเพื่อรักษาคุณภาพของสารสำคัญในดอกอัญชัน เช่น แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารสีธรรมชาติที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระสูง โดยใช้วิธีการวางแผนการทดลองแบบBox-Behnken Design ซึ่งเป็นวิธีทางสถิติที่ช่วยในการวิเคราะห์ปัจจัยหลายตัว การศึกษานี้เน้นการพิจารณาอัตราส่วนของดอกอัญชันแห้งต่อน้ำ อุณหภูมิการสกัด และอุณหภูมิการระเหย ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการคงคุณภาพของสารสำคัญ สี กลิ่น และรสชาติ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การใช้อัตราส่วนดอกอัญชันแห้งต่อน้ำที่ 1:15 อุณหภูมิการสกัด 60 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิการระเหย 40 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดันต่ำสามารถลดการสูญเสียสารสำคัญและรักษาคุณสมบัติของน้ำอัญชันเข้มข้นได้ดีที่สุด ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำอัญชันเข้มข้นในระดับอุตสาหกรรมและเพิ่มศักยภาพในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากดอกอัญชัน