KMITL Innovation Expo 2025 Logo

น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์จากหนอนตายหยาก

น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์จากหนอนตายหยาก

รายละเอียด

น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์จากหนอนตายหยาก ทำให้ความสะอาดได้ทุกพื้นผิวขจัดแมลงและคราบสกปรก ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์

น้ำยาทำความสะอาดในตลาดมักมีสารเคมีที่เป็นอันตราย โครงงานนี้จึงศึกษาและพัฒนาน้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ที่ปลอดภัย ใช้งานได้หลากหลาย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมอื่น ๆ

การผลิตต้นวิโอลา (Viola) ดอกไม้กินได้ด้วยระบบการปลูกโดยไม่ใช้ดิน

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การผลิตต้นวิโอลา (Viola) ดอกไม้กินได้ด้วยระบบการปลูกโดยไม่ใช้ดิน

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมร่วมกับจำนวนชั่วโมงในการให้แสงต่อการเจริญเติบโตของต้นวิโอลา (Viola) ภายใต้โรงงานผลิตพืช เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต ลดระยะเวลา และเพิ่มรอบการผลิตให้เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยวางแผนการทดลองแบบ 3x3 Factorial in CRD มี 9 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำๆ ละ 6 ต้น ซึ่งปัจจัยที่ใช้ศึกษามีอยู่ 2 ชนิด คือ ปัจจัยที่ 1 ความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจน (N) ร่วมกับโพแทสเซียม (K) ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ดังนี้ 1) N:K 1:1, 2) N:K 1:2 และ 3) N:K 2:1 ปัจจัยที่ 2 จำนวนชั่วโมงในการให้แสงต่อวันที่แตกต่างกัน 3 กรรมวิธี ดังนี้ 1) จำนวนชั่วโมงในการให้แสง 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง 2) จำนวนชั่วโมงในการให้แสงช่วง Vegetative 8 ชั่วโมงพัก 16 ชั่วโมง จากนั้นช่วงกระตุ้นตาดอกเพิ่มแสงเป็น 13 ชั่วโมง พัก 11 ชั่วโมง หลังจากเกิดตาดอก จะให้แสง 8 ชั่วโมง พัก 16 ชั่วโมง และ 3) จำนวนชั่วโมงในการให้แสง 5 ชั่วโมงพัก 3 ชั่วโมง โดยทุกกรรมวิธีปรับอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ค่า EC 1.5-2.0 mS/cm และ ค่า pH 5.8-6.5 ผลการทดลอง พบว่า การให้ระดับความเข้มข้นของปุ๋ย N:K ในอัตราส่วน 1:1 ร่วมกับแสง 24 ชั่วโมง ทำให้การเจริญเติบโตทางลำต้นและมีคุณภาพดอกมากที่สุด รวมทั้งการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เหมาะแก่การนำไปประกอบอาหารหรือตกแต่งจาน ซึ่งกรรมวิธีนี้ทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพของผลผลิตได้ดีที่สุด สามารถลดระยะเวลาในการผลิตดอกวิโอลาในแต่ละรอบจาก 90-100 วัน ลดลงเหลือ 43-45 วัน และเพิ่มรอบการผลิตให้เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องคำนึงถึงฤดูกาล หรือสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต

การพัฒนาพันธุ์และเทคนิคการผลิตพริกเผ็ด (C. chinense) ให้มีผลผลิตและสารเผ็ดสูง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การพัฒนาพันธุ์และเทคนิคการผลิตพริกเผ็ด (C. chinense) ให้มีผลผลิตและสารเผ็ดสูง

พริก (Capsicum chinense) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงในอุตสาหกรรมอาหารและยา เนื่องจากเป็นแหล่งของแคปไซซิน ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีบทบาทสำคัญ อย่างไรก็ตาม ระดับความเผ็ดและคุณภาพผลผลิตได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม (G×E interaction) ส่งผลให้เกิดความแปรปรวนในการสังเคราะห์แคปไซซิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโต คุณภาพผลผลิต และปริมาณแคปไซซินของพริกเผ็ด C. chinense พันธุ์ Scotch Bonnet โดยดำเนินการปลูกทดสอบ ณ แปลงสาธิตของคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงสองฤดูกาลเพาะปลูก ได้แก่ กรกฎาคม–ตุลาคม (ฤดูฝน) และ ธันวาคม–เมษายน (ฤดูแล้ง) ภายใต้ 4 สภาพแวดล้อมการปลูก พร้อมทำการวิเคราะห์อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และคุณภาพของแสงในแต่ละสภาพแวดล้อมเพื่อประเมินผลกระทบต่อสรีรวิทยาของพืชและกระบวนการสังเคราะห์แคปไซซิน นอกจากนี้ ได้พัฒนาเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (F1 hybrid) โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ 6 สายพันธุ์ ผ่านแผนการผสมแบบ Half-diallel 15 คู่ลูกผสม พร้อมทั้งประเมินค่าความสามารถในการผสมทั่วไป (General Combining Ability; GCA) และความสามารถในการผสมเฉพาะ (Specific Combining Ability; SCA) เพื่อคัดเลือกคู่ผสมที่มีศักยภาพสูงในการให้ผลผลิตและปริมาณแคปไซซินที่สม่ำเสมอ ผลการศึกษานี้คาดว่าจะเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพริกเผ็ดสูง ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์และสามารถคงระดับแคปไซซินในระดับสูงได้อย่างมีเสถียรภาพ

ผลิตภัณฑ์นายฮ้อยหัวฟู

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ผลิตภัณฑ์นายฮ้อยหัวฟู

การศึกษาปรสิตในปลาหมอคางดำและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ปรสิตเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของปลาและความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล การศึกษาปรสิตในปลาจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมินสถานภาพประชากรปลาและผลกระทบต่อระบบนิเวศ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการสำรวจปรสิตเบื้องต้นในปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron) ในน่านน้ำจังหวัดชุมพร เพื่อตรวจสอบว่าปลาชนิดนี้มีการติดเชื้อปรสิตหรือไม่ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะช่วยเป็นแนวทางสำคัญสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล รวมถึงแนวทางในการนำปลาหมอคางดำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อลดจำนวนประชากรของปลาชนิดนี้ในระบบนิเวศ หนึ่งในแนวทางการแปรรูปปลาหมอคางดำ คือ ผลิตภัณฑ์ "นายฮ้อยหัวฟู" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำเนื้อปลามาทอดให้กรอบและฟู ก่อนนำมายำกับมะม่วงเพื่อเพิ่มรสชาติให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น การแปรรูปนี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับปลา แต่ยังเป็นแนวทางในการบริหารจัดการประชากรปลาหมอคางดำที่อาจมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ จากผลการศึกษา พบว่าไม่มีการติดเชื้อปรสิตทั้งภายในและภายนอกของปลาหมอคางดำที่เก็บตัวอย่าง ซึ่งบ่งชี้ว่าสภาพแวดล้อมทางทะเลในพื้นที่ศึกษามีความเหมาะสมต่อสุขภาพของปลา อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในระยะยาว และประเมินผลกระทบของปลาหมอคางดำต่อความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อให้สามารถจัดการทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน