บทคัดย่อ: เฟรนช์ฟรายกล้วย โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เฟรนช์ฟรายกล้วย ซึ่งเป็นของว่างที่นำกล้วยมาทอดในรูปแบบคล้ายเฟรนช์ฟรายส์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกล้วยและสร้างทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค การทดลองประกอบด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์กล้วยที่เหมาะสม การพัฒนาสูตรแป้งชุบ และการทดสอบรสชาติจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่ากล้วยน้ำว้ามีความเหมาะสมที่สุดในการทำเฟรนช์ฟรายกล้วย เนื่องจากมีเนื้อสัมผัสที่แน่นและให้รสหวานตามธรรมชาติ สูตรแป้งชุบที่ดีที่สุดประกอบด้วยแป้งสาลี ไข่ และนม ซึ่งให้ความกรอบนานขึ้น การทดสอบรสชาติพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้การตอบรับในระดับดีมาก และมีความพึงพอใจต่อรสชาติและเนื้อสัมผัส โครงงานนี้แสดงให้เห็นว่าเฟรนช์ฟรายกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นของว่างเพื่อสุขภาพและสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต
เปลี่ยนจากการบริโภคมันฝรั่งจากเดิมให้มีความแตกต่างจากปกติให้ลูกค้ากลุ่มใหม่ได้รับประทานผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่จากล้วยและได้ช่วยให้เกษตรกรได้มีรายได้ในส่วนนี้ด้วย
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การศึกษาประสิทธิภาพปูนในการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว Efficacy Study of lime in Enhancing Water Alkalinity for Pacific White Shrimp (Litopenaeus vannamei) Aquaculture การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ของปูนที่มีองค์ประกอบ calcium oxide มากกว่า 50% และ magnesium oxide ไม่ต่ำกว่า 29% ในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว ทดลองที่ระดับความเข้มข้น 0, 5, 10, 15 และ 20 ppm เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง โดยเก็บข้อมูลที่ชั่วโมงที่ 0, 3, 6, 12, 24, 36 และ 48 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปูนมีประสิทธิภาพการแตกตัวสูง (65-86%) ในชั่วโมงแรก และเข้าสู่การแตกตัวสมบูรณ์ (98.5-98.6%) ภายใน 6 ชั่วโมง ค่า pH มีการเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของปูนในช่วงแรก และค่อยๆ ลดลงในช่วง 3-12 ชั่วโมง ก่อนเข้าสู่สภาวะคงที่ ส่วนค่า Total alkalinity พบการเพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วง 3-6 ชั่วโมงแรกและคงที่จนสิ้นสุดการทดลอง การวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าทั้งความเข้มข้นและระยะเวลามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทุกพารามิเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
คณะบริหารธุรกิจ
ตู้แช่เวชภัณฑ์ชนิดกระจายความเย็นอย่างทั่วถึงพร้อมระบบบันทึกข้อมูลและควบคุมระยะไกล เป็นตู้แช่เวชภัณฑ์ที่มีระบบควบคุมการกระจายความเย็นภายในตู้แช่ให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกันทุกระดับความสูงภายในตู้แช่ พร้อมระบบบันทึกข้อมูล (Data Logging) เพื่อตรวจสอบห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain) ในการเก็บรักษาเวชภัณฑ์ พร้อมระบบแจ้งเตือนและควบคุมการทำงานระยะไกล
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
โครงงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบติดตามงานสำหรับสมาชิกในทีม โดยใช้ภาษา Python ในการดึงข้อมูลจากไฟล์ Excel และนำเข้าสู่ฐานข้อมูล SQL Server เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ระบบนี้มีฟังก์ชันการแจ้งเตือนสถานะงานผ่าน LINE และแสดงผลรายงานผ่าน Power BI เพื่อให้หัวหน้างานสามารถติดตามความคืบหน้าและประเมินผลงานของสมาชิกในทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบยังช่วยส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการงานและเวลาให้กับสมาชิกในทีมอีกด้วย