Ginbanirose มีเป้าหมายในการพัฒนาสารสกัดจากสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน โดยใช้วัตถุดิบหลัก ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง หัวปลี และขิง ซึ่งมีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยบรรเทาอาการปวด สารสกัดถูกปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีเอนแคปซูเลชันแบบลิโพโซม เพื่อเพิ่มการดูดซึมและความเสถียร กระบวนการผลิตประกอบด้วยการสกัดสารจากสมุนไพร การทำแห้งแบบฟรีซดราย และการเตรียมฟอร์มูเลชันลิโพโซม ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดมีสารประกอบฟีโนลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง โดย Ginbanirose สามารถตอบโจทย์คุณภาพชีวิตของผู้หญิงและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในตลาดสมุนไพรที่กำลังเติบโตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากพืชสมุนไพรซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพและความงาม Ginbanirose เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เกิดจากการผสานคุณสมบัติของพืชสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพ เช่น กระเจี๊ยบแดง ขิง และปลีกล้วย ซึ่งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การศึกษาคุณสมบัติของพืชเหล่านี้และพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับพืชสมุนไพรไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดสุขภาพและความงาม การใช้เทคนิค Liposome Encapsulation เพื่อเพิ่มความคงตัวและประสิทธิภาพของสารสำคัญจากพืช เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้สามารถพัฒนา Ginbanirose ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและสามารถแข่งขันในตลาดได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีความสำคัญในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรไทย พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบธรรมชาติ เพื่อรองรับแนวโน้มของตลาดที่มุ่งสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง
คณะวิศวกรรมศาสตร์
การออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ขั้นสูงสำหรับงานอุตสาหกรรมเป็นการทำงานในหลากหลายขั้นตอนและหลากหลายวิธีขึ้นกับแต่ละบริษัท โดยจากที่ได้รับการเรียนรู้การทำงานแล้วนั้น ได้ทำการใช้โปรแกรม Cadence Allegro ในการออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ และการทำสหกิจในครั้งนี้ได้รับการออกแบบในหลากหลายบอร์ดมีความยากและง่ายที่แตกต่างกันไปและการเรียนรู้ในการทำสหกิจนี้ไม่สามารถเรียนรู้รายละเอียดภายในมหาวิทยาลัยได้ โดยต้องทำงานกับหลายฝ่ายภายในบริษัท Analog Devices (Thailand) การออกแบบที่ได้จัดทำนี้ได้ความช่วยเหลือจากพี่เลี้ยงที่ดูแลและสอนงานช่วยให้การทำสหกิจผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
งานชิ้นนี้ได้ถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดหลักของสภาวะโลกร้อนและโลกหลังยุคล่มสลาย ที่ได้ส่งผลกระทบให้ระบบนิเวศเกิดการแทรกแซงและความวุ่นวาย และการดำรงอยู่ของหลายๆสิ่งมีชีวิตบนโลกต้องสูญหายไป ซึ่งเกิดจากการกระทำของมนุษย์ การแก้ไขและซ่อมแซมโลกใบนี้จึงอาจเป็นความหวังที่ไม่อาจเกิดขึ้นจริง เชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนตัวของข้าพเจ้าที่ต้องสูญเสียสิ่งที่รัก และความทุกข์จากการตั้งความหวังที่ยิ่งใหญ่ ผ่านกระบวนการศิลปะโดยใช้สื่อ Animation Art และ Sound art
คณะวิทยาศาสตร์
แบคเทอริโอซินเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพชนิดหนึ่งที่จุลินทรีย์เป็นคนผลิตออกมาซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคได้ จากงานวิจัยนี้นั้นได้มีการศึกษาความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคและระบุชนิดของแบคเทอริโอซินของแบคเรียกรดแลคติกสายพันธุ์ TKP1-5 ที่คัดแยกมาจากอุจจาระเป็ด ซึ่งมีการระบุลักษณะสปีชีส์ของสายพันธุ์ TKP1-5 โดยใช้การวิเคราะห์จากลำดับ 16s rRNA และลำดับจีโนมทั้งหมด พบว่าจากค่า ANIb, ANIm, และค่า dDDH พบว่าสายพันธุ์นี้คือ Lactococcus lactis อีกทั้งยังมีการทดสอบลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์นี้พบว่ามีความสามารถในการเจริญเติบโตใดในสภาวะแวดล้อมดังต่อไปนี้ สามารถโตได้ที่เปอร์เซ็นต์เกลือที่ 2-6% อุณหภูมิ 25-45 องศาเซลเซียส และพีเอช 3-9 ตามลำดับ โดยการศึกษาและระบุชนิดของแบคเทอริโอซินผ่านการวิเคราะห์ลำดับจีโนมนั้นพบว่าเป็นชนิด ไนซิน-ซี (Nisin-Z) ที่ค่าคะแนนเท่ากับ 114.775 รวมไปถึงการวิเคราะห์ความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคพบว่ามีความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคดังนี้ Pediococcus pentosaceus JCM5885, Listeria monocytogenes ATCC 19115, Enterococcus faecalis JCM 5803T, Salmonella Typhimurium ATCC 13311ᵀ, Aeromonas hydrophila B1 AhB1, Streptococcus agalactiae 1611 และ Streptococcus cowan I ตามลำดับ การวิเคราะห์ลำดับจีโนมทั้งหมดยังยืนยันได้อีกว่า L.lactis TKP 1-5 นี้ไม่พบยีนที่สามารถจะเป็นจุลชีพก่อโรค ยีนดื้อยา และพลาสมิด อีกด้วย อีกทั้งยังพบยีนที่มีความเกี่ยวข้องในการเป็นโพรไบโอติกหรือยีนที่ก่อให้เกิดประโยชน์อีกด้วย ทั้งนี้หวังว่าสายพันธุ์ TKP1-5จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่อุตสาหกรรมอาหารนั้นนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารในการต้านจุลชีพก่อโรคในอนาคต