KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ตู้แช่เวชภัณฑ์ชนิดกระจายความเย็นอย่างทั่วถึงพร้อมระบบบันทึกข้อมูลและควบคุมระยะไกล

ตู้แช่เวชภัณฑ์ชนิดกระจายความเย็นอย่างทั่วถึงพร้อมระบบบันทึกข้อมูลและควบคุมระยะไกล

รายละเอียด

ตู้แช่เวชภัณฑ์ชนิดกระจายความเย็นอย่างทั่วถึงพร้อมระบบบันทึกข้อมูลและควบคุมระยะไกล เป็นตู้แช่เวชภัณฑ์ที่มีระบบควบคุมการกระจายความเย็นภายในตู้แช่ให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกันทุกระดับความสูงภายในตู้แช่ พร้อมระบบบันทึกข้อมูล (Data Logging) เพื่อตรวจสอบห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain) ในการเก็บรักษาเวชภัณฑ์ พร้อมระบบแจ้งเตือนและควบคุมการทำงานระยะไกล

วัตถุประสงค์

1. เพื่อแก้ปัญหาของการนำตู้แช่ปกติมาเก็บรักษาเวชภัณฑ์ เนื่องจากตู้แช่ทั่วไปจะมีความแตกต่างของอุณหภูมิในแต่ละระดับความสูงภายในตู้แช่ได้ถึง 5 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถก่อให้เกิดปัญหากับเวชภัณฑ์ที่ไวต่ออุณหภูมิในการเก็บรักษาได้ 2. พัฒนาโดยอาศัยเทคโนโลยีภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

นวัตกรรมอื่น ๆ

การออกแบบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ใหม่

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การออกแบบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ใหม่

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนารถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าโดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงจากระบบเครื่องยนต์สันดาปเป็นระบบไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการลดมลพิษทางอากาศและเสริมสร้างเทคโนโลยียานยนต์ที่ยั่งยืน รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าได้รับการออกแบบโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า BLDC และระบบควบคุมที่ปรับแต่งให้เข้ากับการขับขี่แบบเฉพาะของรถสามล้อในประเทศไทย การศึกษาได้พิจารณาถึงระบบพลังงานที่เหมาะสม รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ขับขี่รถตุ๊กตุ๊กแบบดั้งเดิมเพื่อออกแบบรถที่ตอบสนองต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการนำรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามาใช้นอกจากจะลดการปล่อยมลพิษและฝุ่น PM2.5 ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแก่ภาคการท่องเที่ยวไทย พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจภายในประเทศ

การพัฒนาพันธุ์และเทคนิคการผลิตพริกเผ็ด (C. chinense) ให้มีผลผลิตและสารเผ็ดสูง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การพัฒนาพันธุ์และเทคนิคการผลิตพริกเผ็ด (C. chinense) ให้มีผลผลิตและสารเผ็ดสูง

พริก (Capsicum chinense) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงในอุตสาหกรรมอาหารและยา เนื่องจากเป็นแหล่งของแคปไซซิน ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีบทบาทสำคัญ อย่างไรก็ตาม ระดับความเผ็ดและคุณภาพผลผลิตได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม (G×E interaction) ส่งผลให้เกิดความแปรปรวนในการสังเคราะห์แคปไซซิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโต คุณภาพผลผลิต และปริมาณแคปไซซินของพริกเผ็ด C. chinense พันธุ์ Scotch Bonnet โดยดำเนินการปลูกทดสอบ ณ แปลงสาธิตของคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงสองฤดูกาลเพาะปลูก ได้แก่ กรกฎาคม–ตุลาคม (ฤดูฝน) และ ธันวาคม–เมษายน (ฤดูแล้ง) ภายใต้ 4 สภาพแวดล้อมการปลูก พร้อมทำการวิเคราะห์อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และคุณภาพของแสงในแต่ละสภาพแวดล้อมเพื่อประเมินผลกระทบต่อสรีรวิทยาของพืชและกระบวนการสังเคราะห์แคปไซซิน นอกจากนี้ ได้พัฒนาเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (F1 hybrid) โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ 6 สายพันธุ์ ผ่านแผนการผสมแบบ Half-diallel 15 คู่ลูกผสม พร้อมทั้งประเมินค่าความสามารถในการผสมทั่วไป (General Combining Ability; GCA) และความสามารถในการผสมเฉพาะ (Specific Combining Ability; SCA) เพื่อคัดเลือกคู่ผสมที่มีศักยภาพสูงในการให้ผลผลิตและปริมาณแคปไซซินที่สม่ำเสมอ ผลการศึกษานี้คาดว่าจะเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพริกเผ็ดสูง ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์และสามารถคงระดับแคปไซซินในระดับสูงได้อย่างมีเสถียรภาพ

ผลของการเสริมฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต สัณฐานวิทยาของลำไส้ จุลินทรีย์ในลำไส้ ดัชนีความเครียด คุณภาพซาก และ คุณภาพเนื้อของไก่เนื้อ

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ผลของการเสริมฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต สัณฐานวิทยาของลำไส้ จุลินทรีย์ในลำไส้ ดัชนีความเครียด คุณภาพซาก และ คุณภาพเนื้อของไก่เนื้อ

การเสริมฟรุคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ (FOS) ในอาหารไก่เนื้อภายใต้สภาวะเครียดโดยการเลี้ยงในที่หนาเเน่นและใช้วัสดุรองพื้นเก่าไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านประสิทธิภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซาก และคุณภาพเนื้อ (p>0.05) อย่างไรก็ตาม การเสริม FOS ช่วยปรับปรุงสุขภาพของลำไส้โดยเพิ่มอัตราส่วนความสูงวิลลัสต่อความลึกของคริปท์ ทำให้จำนวนแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัสเพิ่มขึ้น และจำนวน Escherichia coli ลดลง นอกจากนี้ อัตราส่วนเฮเทอโรฟิลต่อลิมโฟไซต์ลดลง ซึ่งบ่งชี้ถึงระดับความเครียดที่ลดลง