KMITL Innovation Expo 2025 Logo

บอร์ดเกมท่องเที่ยวเมืองรอง

บอร์ดเกมท่องเที่ยวเมืองรอง

รายละเอียด

บอร์ดเกมกำลังเป็นที่นิยมในฐานะกิจกรรมที่เชื่อมโยงผู้คนในยุคดิจิทัล และมีคอมมูนิตี้ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในคาเฟ่และแหล่งพบปะต่างๆ ขณะเดียวกัน การท่องเที่ยวไทยก็มีเสน่ห์ที่หลากหลาย ทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เราจึงต้องการนำเสนอการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ โดยผสานเสน่ห์ของเมืองรองเข้ากับความสนุกของบอร์ดเกม เพื่อให้ทั้งความรู้และความบันเทิงไปพร้อมกัน จึงเป็นที่มาของ “C(4)ulture Adventure Board Game”

วัตถุประสงค์

เพราะว่าอยากนำเสนอความรู้ในการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ๆ

นวัตกรรมอื่น ๆ

การปรับปรุงพันธุ์เบญจมาศโดยใช้สิ่งก่อกลายพันธุ์

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การปรับปรุงพันธุ์เบญจมาศโดยใช้สิ่งก่อกลายพันธุ์

ศึกษาผลของสารก่อกลายพันธุ์ ethyl methane sulfonate (EMS) และสารโคลชิซินในการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ของเฐญจมาศในสภาพปลอดเชื้อ โดยทำการแช่เนื้อเยื้อเบญจมาศในสารละลายที่รดับความเข้มข้นต่างๆในระยะเวลาที่แตกต่างกัน พบว่า ชิ้นส่วนเริ่มต้นที่แช่สารละลาย EMS ส่งผลต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสีดอกและรูปทรงของดอก ส่วนสารละลายโคลชิซินส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของจำนวนโครโมโซม และเพิ่มขนาดของต้นและดอก และตรวจสอบด้วยเครื่องหมายโมเลกุลสามารถแยกความแตกต่าง การใช้สิ่งก่อกลายพันธุ์ร่วมกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถชักนำให้เกิดลักษณะใหม่ นำไปสู่การพัฒนาพันธุ์เพื่อเป็นไม้ดอกการค้าได้

ประสิทธิภาพของเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana) สกัดน้ำร้อนเพื่อต่อต้านการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ประสิทธิภาพของเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana) สกัดน้ำร้อนเพื่อต่อต้านการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer)

สารสกัดเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana Linn.) โดยใช้น้ำร้อน (MPE) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพในการต่อต้านแบคทีเรียในลูกปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ที่เลี้ยงในน้ำจืดซึ่งติดเชื้อ Aeromonas hydrophila การศึกษาในหลอดทดลองพบว่า MPE มีความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้ง (MIC) อยู่ที่ 25 ppm และความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) อยู่ที่ 25 ppm สำหรับ In vivo ลูกปลากะพงขาวจะถูกแช่ใน MPE ความเข้มข้นต่างๆ กันที่ 0 ppm (ควบคุม), 20 ppm, 40 ppm และ 60 ppm ตามลำดับ เป็นเวลา 7 วันด้วย A. hydrophila ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่ได้รับ MPE มีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พารามิเตอร์ทางโลหิตวิทยาแสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่ได้รับ MPE มีระดับเม็ดเลือดแดง (RBC), เม็ดเลือดขาว (WBC) และความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน (Hb) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ พารามิเตอร์คุณภาพน้ำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นความเข้มข้นของแอมโมเนีย โดยที่ MPE ความเข้มข้นของแอมโมเนียที่ 60 ppm ถือเป็นระดับต่ำสุด ผลลัพธ์ทั้งหมดสามารถบ่งชี้ได้ว่า MPE สามารถปรับปรุงศักยภาพในการต่อต้านแบคทีเรียและศักยภาพในการเพาะเลี้ยงลูกปลากะพงได้

นวัตกรรมชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรเคลื่อนที่สำหรับแปรรูปผลไม้เขตร้อนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

คณะวิศวกรรมศาสตร์

นวัตกรรมชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรเคลื่อนที่สำหรับแปรรูปผลไม้เขตร้อนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

-