KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้าด้วย Power BI และ Power Automate

การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้าด้วย Power BI และ Power Automate

รายละเอียด

โครงงานสหกิจศึกษาหัวข้อการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้าด้วย Power BI และ Power Automate รณีศึกษาบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ศูนย์ปฏิบัติการชลบุรี จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบการเบิก โอน จ่าย และรับเข้าสินค้า โดยมุ่งแก้ไขปัญหาเวลาสูญเปล่าและความล่าช้าที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน จากการสำรวจพบว่าระบบ SAP มีกระบวนการที่ซับซ้อน ต้องมีความชำนาญ แม้ว่าบริษัทจะมีการพัฒนาระบบ iWarehouse เพื่อปรับปรุงความรวดเร็ว แต่ยังคงพบความล่าช้าและความซับซ้อนในขั้นตอนการทำงาน เพื่อแก้ปัญหานี้ ผู้ศึกษาได้นำ Power BI มาช่วยในการแสดงผลข้อมูล เช่น ข้อมูลการเบิก โอน จ่าย และรับเข้าสินค้า ช่วยให้พนักงานคลังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความสูญเปล่าและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Power Automate ยังถูกนำมาใช้ในการประมวลผลเลขการรับสินค้า อัตโนมัติจากอีเมล เพื่อลดข้อผิดพลาดและความล่าช้าในการป้อนข้อมูลจากอีเมล ผลลัพธ์จากการปรับปรุงนี้แสดงให้เห็นว่าพนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้นและสามารถลดเวลาสูญเปล่าที่เกิดขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ หลังเสร็จสิ้นการศึกษา ข้อมูลและแนวทางการพัฒนาเหล่านี้จะถูกส่งต่อให้บริษัทเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป

วัตถุประสงค์

เนื่องจากในกระบวนการทำงานในคลังสินค้า ในหน่วยงานส่วนจัดหาและบริหารพัสดุ กรณีศึกษาบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ศูนย์ปฏิบัติการชลบุรี มีเวลาสูญเปล่าเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน และยังขาดเครื่องมือหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่

นวัตกรรมอื่น ๆ

โครงการออกแบบและจัดวางแนวปะการังเทียมจากเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพร

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

โครงการออกแบบและจัดวางแนวปะการังเทียมจากเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพร

การศึกษานี้มุ่งเน้นการออกแบบ การผลิต และการติดตั้งแนวปะการังเทียมแบบแยกส่วนที่พิมพ์ด้วยเทคโนโลยี 3 มิติ (3DMARs) บริเวณเกาะไข่ จังหวัดชุมพร ประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคิดการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ร่วมมือกับบริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง งานวิจัยนี้กำหนดเกณฑ์การออกแบบและวิธีการติดตั้งโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิจัยเชิงคุณภาพ หลักการสำคัญที่ระบุได้ ได้แก่ ความเป็นโมดูลาร์ (Modularity), ความยืดหยุ่น (Flexibility), ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) และการใช้งานได้จริง (Usability) โดยใช้แนวทางที่มุ่งเน้นผู้ใช้งานเพื่อให้แนวปะการังเทียมสามารถขนส่งและติดตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและการปฏิบัติที่ยั่งยืน การออกแบบแบบโมดูลาร์ช่วยให้สามารถขยายขนาดได้ง่าย ส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและการตั้งถิ่นฐานของตัวอ่อนปะการัง นอกจากนี้ เทคนิคการติดตามผลใต้น้ำยังช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะพื้นที่ ซึ่งนำไปสู่การสร้างแบบจำลองดิจิทัลทวิน (Digital Twin) งานวิจัยนี้นำเสนอกรอบแนวทางปฏิบัติสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล และช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับชุมชนชายฝั่งในประเทศไทยและในระดับสากล

การออกแบบสวนสาธารณะ : Dreamscape Park

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การออกแบบสวนสาธารณะ : Dreamscape Park

การออกแบบสวนสาธารณะ Dreamscape Park ในพื้นที่ 50 ไร่ ออกแบบอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ ART โดยการออกแบบมุ่งเน้นการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว ควบคู่ไปกับการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้ตอบโจทย์ทุกเพศทุกวัย มีแลนด์มาร์กเป็นบ่อน้ำรูปหยดหมึกและอัฒจันทร์ขนาดกลางไว้ทำกิจกรรมต่างๆ มีการเพิ่มพื้นที่พักผ่อนได้แก่ คาเฟ่ พื้นที่นั่งชิล โซนกิจกรรมกลางแจ้ง โซนกีฬาได้แก่ สนามบาสเกตบอล สนามตะกร้อ ทางเดิน-ทางวิ่งรอบสวน โซนสัตว์เลี้ยง โซนสนามเด็ก สวนประจำจุดต่างๆ และเส้นทางสัญจรสามารถเข้าถึงได้ทั่วพื้นที่ ผู้ใช้งานสามารถมาผักผ่อนได้อย่างสบายใจและทำกิจกรรมตามความต้องการได้อย่างเต็มที่

ชีวิตติดแว้น

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

ชีวิตติดแว้น

งานชิ้นนี้ได้แนวคิดจากการนำวัฒนธรรมการแว้นรถของวัยรุ่นไทย มานำเสนอในรูปแบบใหม่ผ่านมุมมองของตัวเรา สร้างคาแรคเตอร์และนำองค์ประกอบต่างๆภายในวัฒนธรรมมารวมเข้ากับสิ่งที่เราชอบ ไม่ว่าจะเป็นสติ๊กเกอร์ โปสเตอร์และ เสื้อวงดนตรี ด้วยเทคนิคสีอะคริลิค