KMITL Innovation Expo 2025 Logo

เม็ดดินเผารีไซเคิล เสริมแคลเซียมจากธรรมชาติ

รายละเอียด

EcoGrow Pellets คือ เม็ดดินปลูกพืชความพรุนสูง ที่ผลิตจาก ตะกอนดินอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ผสมกับกระดูกไก่บดเพื่อเสริมแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญ ให้พืชเติบโตแข็งแรง เหมาะสำหรับการปลูกพืชทุกชนิด โดยเฉพาะพืชที่ต้องการโครงสร้างดินโปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี EcoGrow Pellets เป็นนวัตกรรมเม็ดดินเผาที่ออกแบบมาเพื่อให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยโครงสร้าง ที่มีความพรุนสูง ทำให้สามารถระบายน้ำและอากาศได้ดี ลดปัญหาดินแน่นหรือการขังน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของรากเน่าและการเจริญเติบโตที่ชะงักงัน นอกจากนี้ เม็ดดินยังอุดมไปด้วย แคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญจากกระดูกไก่บด ซึ่งช่วยเสริมสร้างโครงสร้างพืชและเพิ่มความแข็งแรงของระบบราก ทำให้พืชสามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ ผลิตภัณฑ์นี้ผลิตจากตะกอนดินอุตสาหกรรมเซรามิกส์รีไซเคิล 100% ตามแนวทาง Zero Waste และ BCG Economy Model เพื่อลดของเสียและเพิ่มมูลค่าสิ่งเหลือใช้ ให้กลายเป็น วัสดุปลูกที่มีคุณค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับทั้งพืชผัก ไม้ดอก และพืชกระถาง ใช้งานง่าย สะอาด และปลอดภัย ช่วยให้การทำเกษตรเป็นเรื่องยั่งยืนมากขึ้นทั้งในแง่ของผลผลิตและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์

ผลิตภัณฑ์ “Eco Grow Pellet” เป็นเม็ดดินเผาน้ำหนักเบา ซึ่งผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมเซรามิกส์ และพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับวัสดุเหลือใช้ โดยสอดคล้องกับแนวคิด Zero Waste และหลักการของ BCG Economy Model ที่เน้นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าในทุกช่วงของวงจรชีวิต นอกจากนี้ โครงการยังเพิ่มปุ๋ยจากกระดูกไก่ ซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่สำคัญ เพื่อเสริมคุณค่าทางอาหารสำหรับพืช และช่วยลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมี โดยเน้นกระบวนการผลิตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมอื่น ๆ

ลอยไปลอยมา

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

ลอยไปลอยมา

-

นวัตกรรมชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรเคลื่อนที่สำหรับแปรรูปผลไม้เขตร้อนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

คณะวิศวกรรมศาสตร์

นวัตกรรมชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรเคลื่อนที่สำหรับแปรรูปผลไม้เขตร้อนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

-

ระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ โดยระบบประกอบไป 4 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ 1 สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และความยาวนานของแสง เป็นต้น ส่วนที่ 2 หน่วยประมวลผล (Controller Unit) โดยจะมีการติดตั้งอัลกอริทึมหรือแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อใช้ประเมินค่าการคายระเหยน้ำของพืชอ้างอิง (ETo) และจะใช้คำนวณร่วมกับค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืชนั้น ๆ (Crop Coefficient: Kc) และข้อมูล อื่น ๆ เกี่ยวกับพืชนั้น ๆ เพื่อประเมินปริมาณการใช้น้ำตามความต้องการของพืชโดยอัตโนมัติ ส่วนที่ 3 ส่วนติดต่อผู้ใช้งานและหน้าจอแสดงผล (User Interface (UI) and Display) เป็นส่วนที่ให้เกษตรกรหรือผู้ใช้งานสามารถป้อนข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของพืช ชนิดของดินที่ปลูก ประเภท ของระบบการให้น้ำ จำนวนหัวจ่ายน้ำ ระยะปลูก และช่วงการเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น และส่วนที่ 4 หน่วยควบคุมและหัวจ่ายน้ำ (Irrigation Unit)