ในยุคที่ข้อมูลรีวิวสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมีจำนวนมาก การสรุปความคิดเห็นให้เข้าใจง่ายและใช้งานได้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญ งานวิจัยนี้นำเสนอระบบวิเคราะห์รีวิวสินค้าด้วย Aspect-Based Sentiment Analysis (ABSA) ซึ่งเป็นเทคนิคใน Natural Language Processing (NLP) ที่สามารถแยกแยะแง่มุมสำคัญของรีวิว (เช่น การจัดส่ง คุณภาพสินค้า บรรจุภัณฑ์) และวิเคราะห์อารมณ์ (บวก ลบ หรือเป็นกลาง) ของแต่ละแง่มุม ระบบนี้ช่วยให้ผู้บริโภคและร้านค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการนี้ได้พัฒนา AI สำหรับการวิเคราะห์ ABSA ภาษาไทย โดยใช้ WangchanBERTa ซึ่งฝึกบนข้อมูลภาษาไทย และเปรียบเทียบกับโมเดลต่างๆ เช่น TF-IDF + Logistic Regression, Word2Vec + BiLSTM, และ Multilingual BERT (mBERT/XLM-R) เพื่อประเมินประสิทธิภาพในด้านความแม่นยำ ความเร็ว และการใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ยังมีการแสดงผลผ่าน Dashboard Visualization เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจแนวโน้มของรีวิวได้อย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือการพัฒนาเครื่องมือ AI ที่ใช้งานจริงในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น และช่วยร้านค้าในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ข้อมูลรีวิวสินค้าจากผู้บริโภคมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก รีวิวเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจซื้อของลูกค้าและการปรับปรุงคุณภาพสินค้าของร้านค้า อย่างไรก็ตาม ปริมาณข้อมูลที่มากเกินไปและความหลากหลายของรูปแบบการแสดงความคิดเห็นทำให้การสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้เป็นไปได้ยาก ผู้บริโภคต้องใช้เวลามากในการอ่านรีวิวจำนวนมากเพื่อสรุปแนวโน้มความคิดเห็น ในขณะที่ร้านค้าประสบปัญหาในการวิเคราะห์ข้อมูลรีวิวเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้ Aspect-Based Sentiment Analysis (ABSA) ซึ่งเป็นเทคนิคใน Natural Language Processing (NLP) ที่สามารถแยกแยะ แง่มุมสำคัญของรีวิวสินค้า (Aspects) และวิเคราะห์ อารมณ์ของแต่ละแง่มุม (Sentiments) โดยอัตโนมัติ การนำเทคนิคนี้มาใช้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถรับข้อมูลเชิงลึกจากรีวิวได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ร้านค้าสามารถใช้ข้อมูลรีวิวเพื่อปรับปรุงสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ โครงงานนี้ยังมุ่งเน้นการศึกษาว่า แนวทาง AI แบบใดมีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำ ABSA สำหรับภาษาไทย โดยเปรียบเทียบ วิธีการประมวลผลภาษาธรรมชาติแบบดั้งเดิม กับเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกที่ทันสมัย เพื่อให้ได้แนวทางที่เหมาะสมที่สุด พร้อมทั้งพัฒนา Dashboard Visualization ที่ช่วยให้ข้อมูลรีวิวถูกนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้งานจริงในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
บทคัดย่อ: เฟรนช์ฟรายกล้วย โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เฟรนช์ฟรายกล้วย ซึ่งเป็นของว่างที่นำกล้วยมาทอดในรูปแบบคล้ายเฟรนช์ฟรายส์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกล้วยและสร้างทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค การทดลองประกอบด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์กล้วยที่เหมาะสม การพัฒนาสูตรแป้งชุบ และการทดสอบรสชาติจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่ากล้วยน้ำว้ามีความเหมาะสมที่สุดในการทำเฟรนช์ฟรายกล้วย เนื่องจากมีเนื้อสัมผัสที่แน่นและให้รสหวานตามธรรมชาติ สูตรแป้งชุบที่ดีที่สุดประกอบด้วยแป้งสาลี ไข่ และนม ซึ่งให้ความกรอบนานขึ้น การทดสอบรสชาติพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้การตอบรับในระดับดีมาก และมีความพึงพอใจต่อรสชาติและเนื้อสัมผัส โครงงานนี้แสดงให้เห็นว่าเฟรนช์ฟรายกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นของว่างเพื่อสุขภาพและสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
โครงงานเรื่องอาฟเตอร์เดย์ ฮอไรซอน (AfterDay Horizon) เป็นเกมเอาชีวิตรอดสำหรับผู้เล่นสองคนที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเน้นการส่งเสริมความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เล่น โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality: VR) และเว็บไซต์เป็นแพลตฟอร์มในการเล่น ภายในเกม ผู้เล่นจะได้สัมผัสกับโลกที่เผชิญกับอารยธรรมที่ล่มสลายจากปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยที่ประชากรต้องอาศัยอยู่ในบังเกอร์เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสภาพแวดล้อมภายนอก อาฟเตอร์เดย์ ฮอไรซอน เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองคนในการทำภารกิจต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้คนในบังเกอร์มีชีวิตรอดให้นานที่สุด ภารกิจเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการร่วมมือ การแก้ปัญหาเป็นทีม และการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ท้าทาย นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความสามัคคีและความเข้าใจระหว่างผู้เล่น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้เล่นได้ตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมแรงร่วมใจในการจัดการปัญหาเพื่อความอยู่รอดร่วมกัน จากการทดสอบตัวเกมเบื้องต้น พบว่าผู้เล่นทำภารกิจสำเร็จและร่วมมือกันได้ดี แต่บางภารกิจซับซ้อนและใช้เวลานาน ควรปรับปรุงเพื่อเพิ่มความสนุกและความราบรื่นในการเล่น
คณะวิศวกรรมศาสตร์
กรรมวิธีผลิตแผ่นแสดงระดับความหืนของอาหารประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ 1. การเตรียมสารละลายอินดิเคเตอร์ 2. การเตรียมสารละลายเซลลูโลส และ 3. การขึ้นรูปแผ่น มีสารละลายโบรโมไทมอลบลู และสารละลายเมทิลเรดทำหน้าที่เป็นอินดิเคเตอร์ ส่วนสารละลายเซลลูโลสประกอบด้วยสารไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส สารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ สารโพลิเอทิลีน ไกลคอล 400 และสารละลายอินดิเคเตอร์ สำหรับการขึ้นรูปแผ่นใช้สารละลายเซลลูโลสผสมกับน้ำยางธรรมชาติเพื่อเพิ่มความยืนหยุ่นและทำให้มีคุณสมบัติไม่น้ำชอบ หลังการอบแห้งสิ่งประดิษฐ์จะมีลักษณะเป็นแผ่นบางสีน้ำเงินเข้ม เมื่อสัมผัสกับสารระเหยของความหืนของอาหารทอด จะเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเข้มเป็นสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ตามปริมาณสารระเหยของความหืนของอาหารทอดที่เพิ่มขึ้น