KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ดีโฮม

ดีโฮม

รายละเอียด

ชิ้นงานนี้เป็นแบบจำลองเชิงแนวคิด (conceptual model) ที่นำแนวคิดสถาปัตยกรรมคตินิยมเปลี่ยนแนว (Deconstructivism) มาใช้ในการออกแบบ ภายใต้ชื่อ "DeHome" ซึ่งมาจากคำว่า Deconstruction Home โดยทำการแยกองค์ประกอบพื้นฐานของบ้าน ได้แก่ หลังคา เสา ประตู หน้าต่าง และอิฐ ออกเป็นส่วนๆ แล้วนำมาจัดวางใหม่ในรูปแบบที่สะท้อนความแตกกระจาย ขัดแย้ง และเคลื่อนไหว การออกแบบนี้ท้าทายแนวคิดดั้งเดิมของความมั่นคงของโครงสร้าง ผ่านการขยายขนาดขององค์ประกอบสำคัญ เช่น ประตู หน้าต่าง และเสา เพื่อเน้นความบิดเบี้ยวและพลังของการเปลี่ยนแปลง งานชิ้นนี้ไม่เพียงแค่รื้อโครงสร้างทางกายภาพของบ้าน แต่ยังเป็นการตีความใหม่ของแนวคิด "บ้าน" ในบริบทของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอีกด้วย

วัตถุประสงค์

ต้องการประยุกต์ความรู้ที่ได้เรียนเข้ากับการออกแบบ และท้าทายความคิดโดยการตีความแนวคิดของ "บ้าน" ใหม่ในบริบทของสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

นวัตกรรมอื่น ๆ

การพัฒนาระบบอัตโนมัติเพื่อการเพาะเลี้ยงปลากัดอย่างแม่นยำ

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การพัฒนาระบบอัตโนมัติเพื่อการเพาะเลี้ยงปลากัดอย่างแม่นยำ

ปลากัด (Betta splendens) เป็นปลาสวยงามที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับที่ 1 ของปลาสวยงามของประเทศ แต่มีข้อจำกัดในการเพิ่มกำลังผลิตปลากัด เนื่องจากการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และการขาดแคลนแรงงานคนไทย งานวิจัยนี้ต้องการพัฒนา 2 ระบบ คือ ระบบอนุบาลลูกปลากัดและระบบเลี้ยงปลากัดขนาดตลาดโดยการใช้ระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติอย่างแม่นยำเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำในระบบและลดการใช้แรงงาน การพัฒนาต้นแบบระบบอนุบาลลูกปลากัดและระบบเลี้ยงปลากัดขนาดตลาด โดยใช้ระบบอัตโนมัติอย่างแม่นยำมี 2 ระบบ ได้แก่ ระบบนำของเสียบางส่วนที่เกิดจากการเลี้ยงไปใช้ประโยชน์ (minimal-waste) และระบบบำบัดน้ำทั้งหมดที่เกิดจากการเลี้ยงกลับมาใช้ใหม่ (zero-waste) เพื่อแก้ปัญหาทั้งด้านคุณภาพน้ำ สวัสดิภาพสัตว์ และแรงงานที่ใช้ในการเลี้ยงปลากัด จากงานทดลองพบว่า ทำให้ปลากัดมีอัตรารอดที่ดีกว่าระบบดั้งเดิมร้อยละ 10-15 เมื่อพิจารณาถึงผลตอบแทนสุทธิ ระบบ zero waste เป็นระบบที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด

การจัดการตารางการรักษาเคมีบำบัดของผู้ป่วยโรงพยาบาลมะเร็งและแชทบอทให้คำปรึกษา

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

การจัดการตารางการรักษาเคมีบำบัดของผู้ป่วยโรงพยาบาลมะเร็งและแชทบอทให้คำปรึกษา

การรักษาผู้ป่วยมะเร็งในแผนกเคมีบำบัดของโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรีมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและไม่สะดวก เนื่องจากกระบวนการส่งผลตรวจเลือดผ่านแอปพลิเคชันไลน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ทำให้การดำเนินงานขาดความคล่องตัว ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการและติดตามผู้ป่วยมะเร็งในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (web-based application) และแอปพลิเคชันไลน์ LINE LIFF (LINE Front-end Framework) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ระบบเว็บแอปพลิเคชันออกแบบมาเพื่อใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ในการติดตาม นัดหมาย และเก็บข้อมูลผู้ป่วย ส่วนแอปพลิเคชันไลน์ ออกแบบสำหรับผู้ป่วยในการส่งผลตรวจเลือด ดูตารางนัดหมาย บันทึกอาการหลังรับยาเคมีบำบัด บันทึกค่าน้ำหนักของผู้ป่วยทุกสัปดาห์ และแชทบอทสำหรับให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ระบบนี้พัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูลและสนับสนุนการวางแผนการรักษาอย่างอัตโนมัติ ส่งผลให้กระบวนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งมีความรวดเร็ว ทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ระบบโมดูลฟาร์มไฮโดรโปนิกส์อัตโนมัติ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ระบบโมดูลฟาร์มไฮโดรโปนิกส์อัตโนมัติ

ชุดจำลองระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ระบบน้ำไหลขนาดเล็กที่มีการมอนิเตอร์ ดูแลและควบคุมปริมาณปุ๋ยในระบบ