KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ศูนย์กลางการเก็บข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต : การพัฒนาเว็ปแอปพริเคชันสำหรับการเบิกจ่ายเครื่องมือ

รายละเอียด

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็ปแอปพลิเคชันสำหรับการเบิกจ่ายเครื่องมือ เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากการใช้งานโปรแกรม Excel ซึ่งไฟล์ตัวแรกนั้นคัดลอกมาจาก SQL ที่มีอยู่แล้ว และคัดลอกต่อๆกันมา ส่งผลให้ต้องใช้พื้นจำนวนมากและไฟล์ Excel นั้นไม่สามารถเปิดใช้งานพร้อมกันได้ จึงต้องพัฒนาเว็ปแอปพลิเคชันเพื่อเชื่อม SQL โดยตรงเพื่อลดปัญหาที่เกิดจะการใช้ไฟล์ Excel

วัตถุประสงค์

ปัจจุบัน การจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเครื่องมือภายในองค์กรยังคงพึ่งพาโปรแกรม Excel เป็นหลัก โดยมีการใช้ไฟล์ Excel อยู่ 3 ไฟล์หลัก ได้แก่ Master, Request, และ Issue ข้อมูลในไฟล์เหล่านี้ถูกคัดลอกและนำไปใช้ต่อๆ กันมาหลายครั้ง ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่เกิดจากการใช้ไฟล์ Excel คือ ไฟล์ไม่สามารถรองรับการใช้งานพร้อมกันได้หลายคน ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร นอกจากนี้ ไฟล์ Master ที่เป็น Excel ยังเป็นการคัดลอกมาจากข้อมูลในฐานข้อมูล SQL ที่มีอยู่แล้ว ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและเพิ่มความยุ่งยากในการจัดการข้อมูล ด้วยเหตุนี้ ส่วนกลางจึงมีความต้องการในการพัฒนาเว็ปแอปพลิเคชันที่สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล SQL โดยตรง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและจัดการกับข้อมูลการเบิกจ่ายเครื่องมือได้อย่างง่ายดายและสะดวกผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการใช้งานไฟล์ Excel ไม่ว่าจะเป็นขนาดไฟล์ที่ใหญ่เกินไป การเข้าถึงข้อมูลที่ไม่พร้อมกัน และความซ้ำซ้อนของข้อมูลในไฟล์ Excel การพัฒนาเว็ปแอปพลิเคชันนี้จะช่วยลดการใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ลดความซับซ้อนในการใช้งาน และเพิ่มความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลจากหลายผู้ใช้งานพร้อมกัน ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการทำงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้การจัดการข้อมูลการเบิกจ่ายเครื่องมือสามารถทำได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วกว่าเดิม

นวัตกรรมอื่น ๆ

การผลิตน้ำมันไพโรไลซิสจากขยะพลาสติกฝังกลบเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน

คณะวิทยาศาสตร์

การผลิตน้ำมันไพโรไลซิสจากขยะพลาสติกฝังกลบเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตน้ำมันไพโรไลซิสจากขยะพลาสติกฝังกลบที่ผ่านการคัดแยกจากหลุมฝังกลบขยะมูลฝอยอายุ 15 ปี จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี เพื่อนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงทดแทนด้วยเตาปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง (Fixed-Bed Reactor) ที่อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงในการให้ความร้อน มีการออกแบบการทดลองออกเป็น 4 สภาวะ คือ ตัวอย่างขยะพลาสติกฝังกลบที่ยังไม่ผ่านการล้างแต่ทำการตัดลดขนาด ตัวอย่างขยะพลาสติกฝังกลบที่ผ่านการล้างและตัดลดขนาด ตัวอย่างขยะพลาสติกฝังกลบที่ยังไม่ผ่านการล้างและตัดลดขนาด และตัวอย่างขยะพลาสติกฝังกลบยังไม่ผ่านการล้างแต่ทำการตัดลดขนาด และใช้ถ่านกัมมันต์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ น้ำมัน (Py-oil) ถ่าน (Char) และก๊าซ (Gas) ในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบลักษณะและคุณภาพของน้ำมันไพโรไลซิสจากขยะพลาสติกฝังกลบ ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าความร้อน (Heating Value) ค่าความชื้น (Moisture content) เถ้า (Ash) และหมู่ฟังก์ชั่น (Functional group) รวมไปถึงองค์ประกอบทางเคมี โดยใช้การอ้างอิงมาตรฐานน้ำมันเตาตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานเป็นเกณฑ์ ผลการวิเคราะห์ ที่ได้จึงสามารถอธิบายได้ว่าน้ำมันจากการไพโรไลซิสขยะพลาสติกฝังกลบในสภาวะใดที่มีความเหมาะสมและมีความคุ้มค่ากับการนำมาผลิตเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเตาที่มีการใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้ งานวิจัยนี้เป็นอีกหนึ่งแนวทางเลือกที่ช่วยในการจัดการขยะพลาสติกในบ่อฝังกลบให้มีปริมาณลดน้อยลง โดยเปลี่ยนขยะมูลฝอยให้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ออกแบบวงจรสำหรับการควบคุมเครื่องผลิตไฮโดรเจนโดยใช้แหล่งจ่ายจากเซลล์โฟโตโวลเทอิก

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ออกแบบวงจรสำหรับการควบคุมเครื่องผลิตไฮโดรเจนโดยใช้แหล่งจ่ายจากเซลล์โฟโตโวลเทอิก

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนา ระบบแปลงพลังงานไฟฟ้า เพื่อควบคุมการจ่ายพลังงานจาก โซล่าร์เซลล (PV) ไปยัง เครื่องผลิตไฮโดรเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ตามแนวทาง RE100 โดยเฉพาะไฮโดรเจนสีเขียว ที่ได้จากกระบวนการอิเล็กโทรไลซิสน้ำโดยใช้พลังงานสะอาดจากโซล่าร์เซลล์ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดมลพิษ โครงสร้างของระบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย อินเวอร์เตอร์ NPC แบบ 3 ระดับ (Three-Level NPC Inverter), หม้อแปลง, วงจรเรียงกระแสแบบเต็มลูกคลื่น และวงจรกรองความถี่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้กับเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ การออกแบบและจำลองระบบดำเนินการโดยใช้ MATLAB และ Simulink เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวงจรและวิเคราะห์ผลลัพธ์ นอกจากนี้ ยังใช้ระบบควบคุม ไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับวงจรขับเกต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส โดยช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และการออกแบบนี้สามารถแปลงพลังงาน PV ไปเป็นแรงดันและกระแสที่เหมาะสมสำหรับเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ โดยยังคงรักษาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตไฮโดรเจนไว้

ถังแรงดันสูงแบบคอมโพสิตสำหรับก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) และไฮโดรเจน (H₂)

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ถังแรงดันสูงแบบคอมโพสิตสำหรับก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) และไฮโดรเจน (H₂)

ถังบรรจุก๊าซความดันสูงที่ผลิตจากวัสดุประกอบ ได้แก่ คาร์บอนไฟเบอร์ เรซิน และพลาสติก ถูกออกแบบสำหรับบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) หรือไฮโดรเจน ซึ่งถูกเรียกว่า​ถังความดันสูง​ แบบที่​4 โดยในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบให้รองรับการใช้งานที่ความดัน 250 บาร์ สำหรับการขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด