KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ผลิตภัณฑ์นายฮ้อยหัวฟู

ผลิตภัณฑ์นายฮ้อยหัวฟู

รายละเอียด

การศึกษาปรสิตในปลาหมอคางดำและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ปรสิตเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของปลาและความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล การศึกษาปรสิตในปลาจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมินสถานภาพประชากรปลาและผลกระทบต่อระบบนิเวศ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการสำรวจปรสิตเบื้องต้นในปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron) ในน่านน้ำจังหวัดชุมพร เพื่อตรวจสอบว่าปลาชนิดนี้มีการติดเชื้อปรสิตหรือไม่ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะช่วยเป็นแนวทางสำคัญสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล รวมถึงแนวทางในการนำปลาหมอคางดำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อลดจำนวนประชากรของปลาชนิดนี้ในระบบนิเวศ หนึ่งในแนวทางการแปรรูปปลาหมอคางดำ คือ ผลิตภัณฑ์ "นายฮ้อยหัวฟู" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำเนื้อปลามาทอดให้กรอบและฟู ก่อนนำมายำกับมะม่วงเพื่อเพิ่มรสชาติให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น การแปรรูปนี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับปลา แต่ยังเป็นแนวทางในการบริหารจัดการประชากรปลาหมอคางดำที่อาจมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ จากผลการศึกษา พบว่าไม่มีการติดเชื้อปรสิตทั้งภายในและภายนอกของปลาหมอคางดำที่เก็บตัวอย่าง ซึ่งบ่งชี้ว่าสภาพแวดล้อมทางทะเลในพื้นที่ศึกษามีความเหมาะสมต่อสุขภาพของปลา อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในระยะยาว และประเมินผลกระทบของปลาหมอคางดำต่อความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อให้สามารถจัดการทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

มีการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ ในพื้นที่จังหวัดชุมพร โดยเฉพาะปากแม่น้ำ ดังนั้น จึงมีความสนใจว่าปลาชนิดนี้แพร่กระจายลงสู่ทะเลหรือไม จึงสำรวจพร้มอศึกาาาการติดเชื้อปรสิต เนื่องจากอยากทราบว่าทำไมถึงแพร่กระจายในระบบนิเวศเร็วมาก และสามารถนำมารับประทานได้หรือไม่

นวัตกรรมอื่น ๆ

การศึกษาประสิทธิภาพของปูนในการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ในการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การศึกษาประสิทธิภาพของปูนในการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ในการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei)

การศึกษาประสิทธิภาพปูนในการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว Efficacy Study of lime in Enhancing Water Alkalinity for Pacific White Shrimp (Litopenaeus vannamei) Aquaculture การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ของปูนที่มีองค์ประกอบ calcium oxide มากกว่า 50% และ magnesium oxide ไม่ต่ำกว่า 29% ในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว ทดลองที่ระดับความเข้มข้น 0, 5, 10, 15 และ 20 ppm เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง โดยเก็บข้อมูลที่ชั่วโมงที่ 0, 3, 6, 12, 24, 36 และ 48 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปูนมีประสิทธิภาพการแตกตัวสูง (65-86%) ในชั่วโมงแรก และเข้าสู่การแตกตัวสมบูรณ์ (98.5-98.6%) ภายใน 6 ชั่วโมง ค่า pH มีการเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของปูนในช่วงแรก และค่อยๆ ลดลงในช่วง 3-12 ชั่วโมง ก่อนเข้าสู่สภาวะคงที่ ส่วนค่า Total alkalinity พบการเพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วง 3-6 ชั่วโมงแรกและคงที่จนสิ้นสุดการทดลอง การวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าทั้งความเข้มข้นและระยะเวลามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทุกพารามิเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

ความรู้พื้นฐานการจัดการธุรกิจเทคโนโลยี

คณะบริหารธุรกิจ

ความรู้พื้นฐานการจัดการธุรกิจเทคโนโลยี

หนังสือเล่มนี้มุ่งให้ความรู้พื้นฐานการจัดการธุรกิจเทคโนโลยี โดยมีกรณีศึกษาที่ครอบคลุมธุรกิจเทคโนโลยีในหลากหลายสาขา

การศึกษาและวิเคราะห์แบคเทริโอซินจากลำดับจีโนมและความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคของ Lactococcus lactis TKP1-5 ที่คัดแยกได้จากอุจจาระของเป็ด

คณะวิทยาศาสตร์

การศึกษาและวิเคราะห์แบคเทริโอซินจากลำดับจีโนมและความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคของ Lactococcus lactis TKP1-5 ที่คัดแยกได้จากอุจจาระของเป็ด

แบคเทอริโอซินเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพชนิดหนึ่งที่จุลินทรีย์เป็นคนผลิตออกมาซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคได้ จากงานวิจัยนี้นั้นได้มีการศึกษาความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคและระบุชนิดของแบคเทอริโอซินของแบคเรียกรดแลคติกสายพันธุ์ TKP1-5 ที่คัดแยกมาจากอุจจาระเป็ด ซึ่งมีการระบุลักษณะสปีชีส์ของสายพันธุ์ TKP1-5 โดยใช้การวิเคราะห์จากลำดับ 16s rRNA และลำดับจีโนมทั้งหมด พบว่าจากค่า ANIb, ANIm, และค่า dDDH พบว่าสายพันธุ์นี้คือ Lactococcus lactis อีกทั้งยังมีการทดสอบลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์นี้พบว่ามีความสามารถในการเจริญเติบโตใดในสภาวะแวดล้อมดังต่อไปนี้ สามารถโตได้ที่เปอร์เซ็นต์เกลือที่ 2-6% อุณหภูมิ 25-45 องศาเซลเซียส และพีเอช 3-9 ตามลำดับ โดยการศึกษาและระบุชนิดของแบคเทอริโอซินผ่านการวิเคราะห์ลำดับจีโนมนั้นพบว่าเป็นชนิด ไนซิน-ซี (Nisin-Z) ที่ค่าคะแนนเท่ากับ 114.775 รวมไปถึงการวิเคราะห์ความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคพบว่ามีความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคดังนี้ Pediococcus pentosaceus JCM5885, Listeria monocytogenes ATCC 19115, Enterococcus faecalis JCM 5803T, Salmonella Typhimurium ATCC 13311ᵀ, Aeromonas hydrophila B1 AhB1, Streptococcus agalactiae 1611 และ Streptococcus cowan I ตามลำดับ การวิเคราะห์ลำดับจีโนมทั้งหมดยังยืนยันได้อีกว่า L.lactis TKP 1-5 นี้ไม่พบยีนที่สามารถจะเป็นจุลชีพก่อโรค ยีนดื้อยา และพลาสมิด อีกด้วย อีกทั้งยังพบยีนที่มีความเกี่ยวข้องในการเป็นโพรไบโอติกหรือยีนที่ก่อให้เกิดประโยชน์อีกด้วย ทั้งนี้หวังว่าสายพันธุ์ TKP1-5จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่อุตสาหกรรมอาหารนั้นนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารในการต้านจุลชีพก่อโรคในอนาคต