KMITL Innovation Expo 2025 Logo

แผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพาราที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนป้องกันความร้อน

รายละเอียด

ปริญญานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการนำขุยมะพร้าวและน้ำยางพารามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานก่อสร้าง 2) เพื่อหาอัตราส่วนผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพาราที่เหมาะสม และ 3) เพื่อทดสอบคุณสมบัติของแผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพาราภายใต้ มอก. 219-2552 เรื่องแผ่นฝ้ายิปซั่ม วิธีการดำเนินงาน มีขั้นตอนดังนี้ 1) การวางแผนการดำเนินงาน 2) การออกแบบส่วนผสมของแผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพารา 3) จัดทำผลิตภัณฑ์แผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพารา 4) นำผลิตภัณฑ์แผ่นฝ้าเพดานไปทดสอบคุณสมบัติตาม มอก. 219-2552 เรื่องแผ่นฝ้ายิปซั่ม และ 5) สรุปผลการทดสอบ

วัตถุประสงค์

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการปลูกมะพร้าวและยางพาราอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้มีเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการแปรรูปมะพร้าว เช่น ขุยมะพร้าว และน้ำยางธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุธรรมชาติที่ไม่มีสารพิษ มีน้ำหนักเบา ทนทานต่อสภาพอากาศ และมีค่าการนำความร้อนต่ำ ส่วนน้ำยางธรรมชาติเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การนำวัสดุเหล่านี้มาผสมผสานเพื่อผลิตแผ่นฝ้าเพดานที่มีสมบัติเป็นฉนวนป้องกันความร้อน จึงเป็นแนวทางที่สามารถช่วยลดขยะทางการเกษตร และพัฒนาเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อน ซึ่งสามารถช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารได้ ปัจจุบันวัสดุที่ใช้ในการผลิตแผ่นฝ้าเพดานมักเป็นเส้นใยสังเคราะห์หรือวัสดุที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีต้นทุนสูงและอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้งาน การพัฒนาแผ่นฝ้าเพดานจากขุยมะพร้าวผสมน้ำยางธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ช่วยลดปริมาณขยะจากการเกษตร แต่ยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศอย่างคุ้มค่า นอกจากนี้ การใช้วัสดุธรรมชาติยังช่วยลดการพึ่งพาวัสดุนำเข้า ลดต้นทุนการผลิต และส่งเสริมการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนั้น การศึกษาวิจัยและพัฒนาแผ่นฝ้าผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพาราที่มีสมบัติเป็นฉนวนป้องกันความร้อน จึงมีความสำคัญทั้งในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ยั่งยืนในอนาคต

นวัตกรรมอื่น ๆ

ศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

ศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน

โครงการศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน เป็นโครงการต่อเนื่องจากการนำร่องในการทดลองแนวทางการปรับปรุงอาคารเก่า (วช.7) ซึ่งเป็นอาคารห้าชั้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาแนวทางการปรับปรุงอาคารเก่าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการดำเนินการศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน (ต่อเนื่อง) ได้ทำการศึกษาข้อมูลและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและวางระเบียบวิธีการวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงอาคารเก่าเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากการขนส่ง แรงงาน และวัสดุ การใช้พลังงานไฟฟ้าระหว่างการก่อสร้าง การสะสมก๊าซเรือนกระจกจากวัสดุก่อสร้างเก่า/ใหม่ที่ใช้ในการก่อสร้าง การดำเนินการในโครงการนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยมีการเก็บข้อมูลจริงเพื่อประเมินเป็นค่าปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าเปรียบเทียบระหว่างการก่อสร้างอาคารใหม่ และผลจากการปรับปรุงอาคารเก่าที่เป็นกรณีศึกษา จากการเก็บข้อมูลและทำการคำนวณภายหลังเสร็จสิ้นโครงการพบว่าการปรับปรุงอาคารเดิมด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในส่วนของการใช้วัสดุก่อสร้างมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 11.88 kgCO2e/sq.m. ในกรณีการก่อสร้างอาคารใหม่ จะมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 299.35 kgCO2e/sq.m. ซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ประมาณ 26 เท่า เมื่อเทียบกับการก่อสร้างอาคารใหม่

APS Evolution: นวัตกรรมการจอดรถอัตโนมัติที่ตอบโจทย์ผู้ใช้อย่างยั่งยืน

คณะบริหารธุรกิจ

APS Evolution: นวัตกรรมการจอดรถอัตโนมัติที่ตอบโจทย์ผู้ใช้อย่างยั่งยืน

ปัจจุบันปัญหาที่จอดรถในเขตเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความแออัดของจราจร การบริหารพื้นที่ และสิ่งแวดล้อม ระบบจอดรถอัตโนมัติ (Automated Parking System: APS) เป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ ลดระยะเวลาค้นหาที่จอด และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี APS โดยใช้กรอบแนวคิด UTAUT2 และตัวแปรสำคัญ เช่น ความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ (Performance Expectancy), ความง่ายในการใช้งาน (Effort Expectancy), อิทธิพลทางสังคม (Social Influence), ความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี (Trust in Technology) และจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Consciousness) โดยโครงการ APS Evolution นำเสนอโซลูชันการจอดรถอัจฉริยะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นสำหรับผู้ใช้ในเมือง โดยมุ่งเน้น การพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้ใช้และการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ

โครงการพัฒนาระบบสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคม

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

โครงการพัฒนาระบบสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคม

---