ปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่ผู้คนใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นผู้ใช้รถจึงนิยมทำประกันภัยเพื่อลดความเสี่ยงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ในส่วนของบริษัทประกันภัย บริษัทจะรับผิดชอบความเสียหายตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ หนึ่งในหน้าที่ที่ฝ่ายสินไหมทดแทนของบริษัทต้องทำคือการจัดหาอะไหล่เพื่อควบคุมต้นทุน อย่างไรก็ตาม ฝ่านสินไหมทดแทนอาจเกิดมีการทำงานที่ผิดพลาด เช่น การสั่งอะไหล่ผิดหรือสั่งมาเกินความจำเป็นที่ต้องการใช้ ปัจจุบันบริษัทประกันภัยยังไม่มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากนัก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบจัดการและจัดเก็บอะไหล่รถยนต์สำหรับบริษัทประกันภัย ระบบถูกออกแบบให้สามารถติดตามสถานะของอะไหล่ ตั้งแต่การจัดเก็บจนถึงการเบิกจ่าย โดยใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดเพื่อเพิ่มความแม่นยำและลดข้อผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล ระบบดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทประกันภัยสามารถบริหารอะไหล่ได้อย่างเป็นระบบ ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ
การประกันภัยเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน บริษัทประกันจึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวรับมือกับกรมธรรม์ที่มากขึ้นในทุกๆปี ทำให้จะต้องมีระบบในการรองรับและจัดการต่างๆ ซึ่งในหน่วยงานของสินไหมรถยนต์เอง ก็ต้องมีระบบและการจัดการที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน และหนึ่งในนั้นคืองานระบบภายในและระบบภายนอกที่เกิดจากความต้องการของสาขาต่างๆของบริษัท และคู่ค้าสัญญาในเครือ ซึ่งทำให้เกิดระบบขึ้นมา ได้แก่ ระบบจัดการและจัดเก็บอะไหล่
คณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาอุปกรณ์ทดสอบเครื่องอัดประจุของยานยนต์ไฟฟ้าแบบกระแสสลับ (AC Charger) ตามมาตรฐาน IEC 61851-1 ภาคผนวก A โดยการจำลองวงจรทดสอบภายในยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตฐาน เพื่อใช้ทดสอบการทำงานของเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ โดยในหัวข้อการทดสอบเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับเครื่องอัดประจุผ่านระบบวงจรควบคุมด้วยสัญญาณ Pulse Width Modulation (PWM) และจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (WI) เพื่อเตรียมการทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบและ/ หรือสอบเทียบ ซึ่งภาพรวมของโครงการนี้คือ พัฒนาอุปกรณ์ทดสอบและจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน โดยได้นำเอาองค์ความรู้และอุปกรณ์ต่างๆมาทำการเก็บข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลมาเปรียบเทียบให้เป็นไปตามมาตรฐานข้างต้น เพื่อทดสอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ Type II ในแต่ละสถานะ อุปกรณ์การทดสอบประกอบไปด้วยส่วนของการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทดสอบกับเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ โดยใช้ PLC S7-1200 และ HMI เพื่อควบคุมการทำงานของสวิตช์ในวงจรอุปกรณ์ทดสอบ รวมถึงการควบคุมพารามิเตอร์และแสดงผล ส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าออสซิโลสโคปและมัลติมิเตอร์ที่ผ่านกระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อให้สอดคล้องกับมาตฐานที่กำหนดไว้
คณะวิศวกรรมศาสตร์
เนื่องจากความต้องการพลังงานที่มีมากขึ้น แต่เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักมีอยู่อย่างจำกัดและเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิษและภาวะโลกร้อน ดังนั้นพลังงานทางเลือกจึงเป็นกุญแจสำคัญเพื่อความยั่งยืนด้านพลังงาน ประเทศไทยมีศักยภาพของพลังงานชีวมวลจากเกษตรกรรม ดังนั้นการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าที่มลพิษต่ำและสามารถใช้ได้กับแหล่งพลังงานทดแทนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเครื่องยนต์สเตอร์ลิงซึ่งมีโครงสร้างชิ้นส่วนไม่ซับซ้อน ปราศจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์จึงเป็นเครื่องยนต์ที่มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องยนต์สเตอร์ลิงร่วมกับแหล่งพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฟฟ้าและสาธิตการทำงานจริง เกิดองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องยนต์ผลิตไฟฟ้าปราศจากมลพิษในประเทศ ตลอดจนสามารถขยายผลนำไปใช้ประโยชน์กับคนไทย
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
เสื้อระบายความร้อนที่มีระบบแลกเปลี่ยนความร้อนจากการไหลแบบสองเฟส เป็นนวัตกรรมใหม่ ถูกออกแบบ เพื่อระบายความร้อนให้กับนักดับเพลิง, นักแข่งรถ และ ผู้ที่ต้องสวมใส่ชุด PPE (Personal Protective Equipment) ในการทำงาน ระบบสามารถทำความเย็น ในระดับ 18-20 องศาเซลเซียส ได้อย่างต่อเนื่อง และมีกลไกการฉีดแก๊สเข้าไปในของเหลวเพื่อเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อน