ในปัจจุบัน ความสนใจในสุขภาพและการบริโภคอาหารปลอดสารพิษได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาหารที่สามารถผลิตได้เองในครัวเรือน เช่น เห็ดนางฟ้าภูฐาน ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและเหมาะสำหรับการควบคุมน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม การเพาะเห็ดในโรงเรือนขนาดเล็กมักประสบปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิและความชื้นที่ไม่เสถียร ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของเห็ด การพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอัตโนมัติจึงมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นเพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเห็ดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดความผิดพลาดจากการควบคุมด้วยมือ และส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัยในครัวเรือน นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตและสนับสนุนแนวคิดการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน การใช้เทคโนโลยีนี้จึงถือเป็นนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับการเพาะเห็ดให้มีคุณภาพและเพิ่มความยั่งยืนในการผลิตอาหาร
ในปัจจุบัน ความสนใจในสุขภาพและการบริโภคอาหารปลอดสารพิษได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคจำนวนมากเริ่มมองหาอาหารที่สดใหม่และปลอดภัย โดยเฉพาะอาหารที่สามารถผลิตได้เองในครัวเรือน หนึ่งในอาหารยอดนิยมที่ตอบโจทย์กลุ่มคนรักสุขภาพคือ “เห็ดนางฟ้าภูฐาน” ซึ่งเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งยังมีแคลอรี่ต่ำและย่อยง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือรักษาสุขภาพและยังสามารถตอบโจทย์ทั้งการผลิตอาหารเพื่อบริโภคเองและการสร้างรายได้เสริม อย่างไรก็ตามการเพาะเห็ดในโรงเรือนขนาดเล็กมักเผชิญกับปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องอุณหภูมิและความชื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเห็ด เนื่องจากเห็ดนางฟ้าภูฐานต้องการอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมในแต่ละช่วงของการเพาะปลูก เช่น การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่ไม่เสถียร ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของเห็ด สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและข้อจำกัดในการควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนแบบดั้งเดิมอาจทำให้เกิดความยุ่งยากและไม่แม่นยำ อีกทั้งยังใช้เวลาและแรงงานสูง ทำให้เกิดความต้องการเทคโนโลยีที่ช่วยจัดการและควบคุมสภาพแวดล้อมได้อย่างแม่นยำ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอัตโนมัติในโรงเรือนเห็ดขนาดเล็ก ระบบควบคุมอัตโนมัตินี้ช่วยลดความซับซ้อนของการจัดการโรงเรือน โดยใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้น และส่งข้อมูลไปยังตัวควบคุมเพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการของเห็ดนางฟ้าโดยอัตโนมัติ เช่น การเปิด-ปิดพัดลม ระบายอากาศ หรือการเพิ่มความชื้นผ่านสปริงเกอร์แบบละอองน้ำละเอียด นอกจากนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของเห็ดแล้ว ยังช่วยลดความผิดพลาดจากการควบคุมด้วยมือ นอกจากนี้ ความสำคัญของระบบควบคุมอัตโนมัติไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกให้กับผู้เพาะเห็ด แต่ยังช่วยส่งเสริมการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพในระดับครัวเรือน ผู้เพาะปลูกสามารถผลิตอาหารคุณภาพสูงได้ด้วยตนเอง ลดการพึ่งพาอาหารจากภายนอกที่อาจมีสารเคมีปนเปื้อน และยังช่วยสนับสนุนแนวคิดการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนและส่งเสริมการพึ่งพาตนเองในครัวเรือนด้วยเหตุนี้ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอัตโนมัติในโรงเรือนเห็ดนางฟ้าภูฐานในครัวเรือนขนาดเล็กจึงถือเป็นนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับการเพาะเห็ดให้มีคุณภาพ ช่วยแก้ปัญหาที่พบในวิธีการเพาะแบบดั้งเดิม และสนับสนุนการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนในครัวเรือนอย่างแท้จริง
คณะวิศวกรรมศาสตร์
-
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
ผลงานศิลปนิพนธ์หัวข้อเรื่อง “สงครามในม่านหมอก” เป็นการนำเสนอเรื่องราวที่ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นชื่อเดียวกันของ ผศ. ชาติณรงค์ วิสุตกุล เมื่อปี 2546 เกี่ยวกับโลกอนาคตที่ผู้คนแก่งแย่งและเห็นแก่ตัวจนก่อให้เกิดสงครามทำให้ผู้คนต้องพึ่งพา “เครื่องหายใจ” ในการใช้เพื่ออยู่รอดใน “หมอกพิษสีแดง” ภาคิน เด็กหนุ่มวัย 15 ต้องเดินทางร่วมกับกลุ่มผู้อพยพ พวกเขาเดินทางผ่านเมืองร้าง และบังเอิญพบเข้ากับเด็กชายไร้เครื่องหายใจที่พึ่งกำพร้าพ่อ ภาคินตัดสินใจช่วยเหลือ แม้คนอื่นจะไม่เห็นด้วยก็ตาม เด็กชายพยายามจะปลิดชีวิตตัวเองโดยการปิดเครื่องหายใจ ภาคินที่เข้าไปยื้อชีวิตเด็กกลับหมดสติลงจากการหายใจเอาอากาศพิษเข้าไป คนอื่น ๆ ที่เห็นสิ่งที่ภาคินทำเพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์ ได้สำนึกและร่วมมือกันช่วยชีวิตทั้งสอง ภาคินทำให้ทุกคนรู้ว่า ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก มนุษย์เราต้องร่วมมือ ช่วยเหลือกันไม่ใช่แตกแยก และเห็นแก่ตัว
คณะวิทยาศาสตร์
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังมีจำนวนมากเป็นอันดับที่สอง ในจำนวนผู้ป่วยโรคผิวหนัง ซึ่งโรคภูมิแพ้ผิวหนังนี้ยังไม่มียารักษา ทำได้แค่บรรเทารักษาตามอาการ ทำให้เกิดเป็นโรคเรื้อรัง มีโอกาสที่เชื้อฉวยโอกาสจะเข้าไปก่อโรคเพิ่มจากแผลของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อชนิดอื่น การศึกษาในครั้งนี้จึงสนใจศึกษาการลดโอกาสในการติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โดยใช้สารสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งสนใจใบพลูคาวและดีปลี เนื่องจากมีข้อมูลสนับสนุนเรื่องการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ โดยการนำใบของพืชทั้ง 2 ชนิด มาสกัดแบบหยาบ แช่ใน ethanol 95% เป็นเวลา 7 วัน กรองด้วยกรวยกรอง buchner นำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบ phytochemical เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ phenolic, flavonoid, tannin, anthocyanin, DPPH และนำไปทดสอบฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ ซึ่งในการทดลองประกอบด้วยแบบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ 5 ชนิด ได้แก่ E. coli, Bacillus subtilis, Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis โดยผู้ทำการวิจัยคาดว่าจะสามารถนำไปต่อยอดและนำไปพัฒนาในการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้