อัลบูมินสมาร์ทเทสท์ เป็นนวัตกรรมอุปกรณ์ตรวจคัดกรองโรคไตโดยการตรวจวัดโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะด้วยมือถือ ประกอบไปด้วย (1) ชุดภาชนะและน้ำยาทดสอบ ที่มีความจำเพาะเจาะจงกับอัลบูมิน และ (2) โทรศัพท์มือถือที่ลงแอพพลิเคชันชื่อ “อัลบูมินสมาร์ทเทสท์” โดยขั้นตอนการตรวจวัดจะนำน้ำยาทดสอบหยดลงบนตัวอย่างปัสสาวะ อัลบูมินจะทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำยาทดสอบ แล้วใช้มือถือถ่ายรูปสีของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นแอพพลิเคชันจะประมวลผลภาพเพื่อเปลี่ยนความเข้มสีของผลิตภัณฑ์ให้เป็นความเข้มข้นของอัลบูมิน รายงานผลผ่านหน้าจอมือถือ การตรวจวัดเสร็จสิ้นภายใน 3 นาทีสามารถทดลองได้สะดวก รวดเร็ว ผู้ทดสอบทำได้ด้วยตนเอง
อัลบูมิน (Albumin) คือโปรตีนชนิดหนึ่ง โดยทั่วไป จะไม่พบอัลบูมินในปัสสาวะ ยกเว้นในกรณีที่ไตทำงานผิดปกติ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นระยะเวลานาน หรือที่เรียกว่า "โรคไตจากเบาหวาน" (Diabetic nephropathy) จะพบ อัลบูมินปนในปัสสาวะ ดังนั้น ปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะ (Urinary albumin) จึงสามารถใช้เป็นดัชนีบ่งชี้การทำงานของไตในผู้ป่วยเบาหวานได้ โดยถ้าพบปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะที่เก็บภายใน 24 ชั่วโมง น้อยกว่า 30 มิลลิกรัม จะถือว่าไตทำงานเป็นปกติ แต่ถ้าพบปริมาณอัลบูมินอยู่ในช่วงตั้งแต่ 30 ถึง 300 มิลลิกรัม จะจัดว่าไตทำงานผิดปกติในระยะแรก เรียกว่า "ภาวะไมโครอัลบูมินูเรีย" (Microalbuminuria) ซึ่งหากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะนี้ จะลดโอกาสเสี่ยงต่อภาวะไตวายเรื้อรังได้อย่างมาก วิธีการตรวจวัดระดับอัลบูมินในปัสสาวะในปัจจุบัน ทำโดยเก็บตัวอย่างปัสสาวะของผู้ป่วย ส่งไปที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล ถึงแม้จะให้ผลถูกต้องแม่นยำ หากแต่มีขั้นตอนในการวิเคราะห์หลายขั้นตอน ใช้เวลานานกว่าจะรู้ผล อีกทั้งเครื่องมือมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อน ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญทำการทดสอบ ผู้ป่วยไม่สามารถวัดระดับอัลบูมินได้เอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ตรวจคัดกรองปริมาณอัลบูมินที่ใช้ทดสอบนอกห้องปฏิบัติการได้ โดยควรเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก พกพาสะดวก ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับการวินิจฉัยนอกห้องปฏิบัติการ หรือ ‘Point-of-care testing’ ในปัจจุบัน ชุดตรวจวัดอัลบูมินในปัสสาวะแบบภาคสนามที่มีจำหน่าย จะทำการทดสอบโดยจุ่มแถบตรวจวัดที่เคลือบด้วยน้ำยาซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอัลบูมินในปัสสาวะ แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงที่แถบสี โดยระดับความเข้มสีจะแปรผันกับปริมาณของอัลบูมินที่ต้องการตรวจวัด ถึงแม้จะใช้งานง่าย แต่มีข้อจำจัดคืออาจมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากเป็นการตรวจวัดด้วยสายตา การแปลผลอาจจะไม่ละเอียดพอ ไม่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง อีกทั้งสีของปัสสาวะอาจรบกวนการทดสอบได้ เพื่อเป็นการพัฒนาวิธีทดสอบให้มีประสิทธิภาพ มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น จึงได้ประดิษฐ์ Albumin Smart Test สำหรับตรวจคัดกรองอัลบูมินในปัสสาวะโดยใช้โทรศัพท์มือถือขึ้น โดยออกแบบให้ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว พกพาไปใช้ ณ ที่ใดก็ได้ และสามารถหักล้างการรบกวนจากสีของตัวอย่างปัสสาวะได้
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
-
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อออกแบบ และพัฒนาระบบติดตามดวงตาเพื่อช่วยเหลือการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสาร หรือบอกความต้องการกับผู้ดูแล หรือสมาชิกในครอบครัวด้วยวิธีการตรวจจับและติดตามดวงตาด้วยอุปกรณ์ Tobii Eye Tracker 5 วิธีการนี้เป็นการสื่อสารแทนการขยับร่างกาย หรือการพูดของผู้ป่วยอัมพาต ระบบสามารถตรวจจับและติดตามดวงตาที่ระยะสายตา 55 ถึง 85 เซนติเมตร ระบบถูกออกแบบให้สามารถติดตั้งได้บนคอมพิวเตอร์เพื่อง่ายต่อการใช้งาน หน้าจอของโปรแกรมประกอบด้วย 3 ส่วน 1) ชุดคำสั่งทางความรู้สึก และ 2) ชุดคำสั่งทางความต้องการ 3) ชุดคำสั่งเพิ่มเติม สามารถรับค่าได้จากแป้นพิมพ์เสมือนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และสามารถระบุความต้องการเพิ่มเติมผ่านการพิมพ์ด้วยการตรวจจับสายตา นอกจากนี้ระบบยังสามารถสร้างเสียงสังเคราะห์จากข้อความที่มีความยากในการอ่านออกเสียง ส่งข้อความแจ้งเตือนไปที่แอปพลิเคชันไลน์ และจัดเก็บข้อมูลการใช้งานบนฐานข้อมูลในรูปแบบแดชบอร์ด จากผลการทดสอบระบบพบว่าระยะทาง 65 ถึง 75 เซนติเมตร เป็นระยะที่ตรวจจับที่ดีที่สุดเนื่องจากมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ สามารถตอบสนองการมองเพื่อสื่อสารผ่านเสียงตามปุ่มการทำงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องโดยใช้เวลา 3 วินาที ระบบนี้สามารถติดตามดวงตาของผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เพื่อช่วยในการสื่อสาร เช่น การแสดงความรู้สึก การแสดงความต้องการ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต่อผู้ป่วยและผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวให้มีความเข้าใจต่อผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น
วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ
ปัญหาด้านการตกต่ำด้านราคาของผลผลิตผลไม้ประเภทมะม่วงเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมะม่วงพันธุ์มหาชนกที่มีการเติบโตในการส่งออกอย่างมากเมื่อเทียบกับมะม่วงสายพันธุ์อื่น เนื่องจากเป็นมะม่วงที่มีสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอม ปัญหาการตกต่ำด้านราคาเกิดจากมีผลผลิตที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพการส่งออกทำให้เกิดผลผลิตที่ไม่ผ่านคุณภาพนำกลับมาขายในประเทศในราคาถูก บางกรณีเกษตรกรจำเป็นต้องละทิ้งผลผลิตดังกล่าว จากปัญหาที่เกิดขึ้นจึงมีแนวคิดนำมะม่วงดังกล่าวมาสกัดสารหอมระเหยจากเปลือกของมะม่วงเพื่อจะคงสภาพสารระเหยและนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้านกลิ่นรวมทั้งการศึกษาปัจจัยทางแสงที่ส่งผลต่อการแสดงสีผิวเปลือกเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงสีบนผิวเปลือกผลไม้ให้มีความโดดเด่นจากธรรมชาติความสวยงามของผลมะม่วงที่มีสีสม่ำเสมอด้วยปัจจัยทางแสงที่มีความยาวคลื่นและพลังงานที่แตกต่างกัน โดยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงเปลือกนอกเมื่อได้รับแสงโดยไม่ได้เกิดจากการสุกของผลมะม่วง องความรู้ที่ได้สามารถต่อยอดไปสู่การสร้างระบบนวัตกรรมต้นแบบ และสามารถนำเสนอนวัตกรรมที่ได้ต่อยอดสู่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่สนใจและเพื่อประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ ต่อไป