KMITL Innovation Expo 2025 Logo

Air Rack ตู้อุปกรณ์พร้อมระบบทำความเย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในตู้

Air Rack ตู้อุปกรณ์พร้อมระบบทำความเย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในตู้

รายละเอียด

Air Rack เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่และงบประมาณในการสร้างห้องเซิร์ฟเวอร์ ระบบระบายความร้อน และการจัดการเสียงรบกวน ระบบนี้ช่วยให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ไอทีในพื้นที่เปิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรองรับทั้งการทำงานแบบ On-premise และ On-cloud ผ่านการแปลงข้อมูลจากเซ็นเซอร์เป็นข้อมูลดิจิทัลและแสดงผลผ่าน Dashboard ผู้ใช้สามารถควบคุม ติดตาม และวิเคราะห์ข้อมูลได้จากระยะไกล อีกทั้งระบบยังช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการห้องเซิร์ฟเวอร์แบบเดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ

วัตถุประสงค์

Air Rack เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจจำนวนมากไม่มีพื้นที่ หรืองบประมาณในการสร้างห้องเซริฟ์เวอร์, ระบบระบายความร้อน และการจัดการเสียงรบกวน ซึ่งเป็นผลมาจากการนำอุปกรณ์ไอทีออกมาในที่โล่ง ใช้งานรวมกับระบบแสดงผลและเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ ระบบถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างละเอียดและแม่นยำ ทั้งแบบ On-premise และ On Cloud ก่อนจะประมวลผลโดยแปลงสัญญาณจากเซ็นเซอร์ให้เป็นข้อมูลดิจิตอล เพื่อส่งตรงสู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของ Dashboard ที่ประกอบไปด้วยแผนภูมิ (Charts) เกจ (Gauges) LEDs ตาราง และอื่นๆ ให้คุณสามารถควบคุมกระบวนการ ติดตาม ตรวจสอบ วิเคราะห์ และสั่งงานได้จากระยะไกล

นวัตกรรมอื่น ๆ

ผลของการทำ seed priming ด้วยสารสกัดจากสาหร่าย Chaetomorpha sp. ต่อความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริก

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ผลของการทำ seed priming ด้วยสารสกัดจากสาหร่าย Chaetomorpha sp. ต่อความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริก

การศึกษาผลของการทำ seed priming ด้วยสารสกัดจากสาหร่าย Chaetomorpha sp. ต่อความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของสารสกัดจากสาหร่ายต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริก การทดลองประกอบด้วยการแช่เมล็ดพริกในสารละลายสกัดจากสาหร่าย Chaetomorpha sp. ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ เปรียบเทียบกับชุดควบคุม วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า การทำ seed priming ด้วยสารสกัดจากสาหร่ายมีแนวโน้มส่งเสริมการงอกของเมล็ดพริก โดยพบว่าเมล็ดที่ผ่านการ priming ด้วยสารสกัดจากสาหร่ายมีเปอร์เซ็นต์ความงอก ดัชนีการงอก และความเร็วในการงอกสูงกว่าชุดควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่าต้นกล้าที่ได้มีการพัฒนาของรากและลำต้นที่แข็งแรงกว่าชุดควบคุม การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสารสกัดจากสาหร่าย Chaetomorpha sp. ในการเพิ่มคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พริก ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตต้นกล้าพริกคุณภาพสูงต่อไป

การศึกแบบจำลองพฤติกรรมทางความร้อนของแท่งห้ามล้อในรถไฟบรรทุกสินค้า

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การศึกแบบจำลองพฤติกรรมทางความร้อนของแท่งห้ามล้อในรถไฟบรรทุกสินค้า

ระบบเบรกของรถไฟนิยมใช้ระบบเบรกแบบลมอัด โดยใช้อากาศแรงดันสูงกดแท่งห้ามล้อไปสัมผัสกับผิวของล้อเพื่อลดความเร็วของรถไฟ เมื่อเกิดการเสียดสีกันซ้ำ ๆ จึงเกิดความร้อนขึ้นบริเวณผิวสัมผัส ทำให้เกิดความเค้นสะสมเนื่องจากความร้อนบนแท่งห้ามล้อวัสดุเหล็กหล่อ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเค้นเนื่องจากความร้อน (Thermal stress) บนแท่งห้ามล้อวัสดุเหล็กหล่อรูปแบบต้นแบบด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ที่ได้กับแท่งห้ามล้อชิ้นงานจริง และออกแบบแท่งห้ามล้อวัสดุเหล็กหล่อในรูปแบบใหม่เพื่อลดความเค้นเนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้น จากผลการวิเคราะห์ความเค้นเนื่องจากความร้อนด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ พบว่า ตำแหน่งที่เกิดความเค้นเนื่องจากความร้อนบนแท่งห้ามล้อรูปแบบต้นแบบสอดคล้องกับตำแหน่งที่เกิดรอยแตกร้าวบนแท่งห้ามล้อที่เป็นชิ้นงานจริง และการออกแบบให้แท่งห้ามล้อมีรอยบาก 1 บากบริเวณกึ่งกลางเนื้อของแท่งห้ามล้อสามารถช่วยลดความเค้นเนื่องจากความร้อนได้ ซึ่งผลการศึกษานี้ควรมีการสอบเทียบกับต้นแบบแท่งห้ามล้อจริงบนภาคสนามสำหรับประเมินประสิทธิภาพของการเบรกจริงอีกครั้งต่อไป

ระบบเล็งอาวุธ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ระบบเล็งอาวุธ

โปรเจคนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาต้นแบบของระบบเล็งอาวุธที่จำลองเป็นปืนต่อต้านอากาศยาน โดยใช้กล้องออปติคอลเพื่อตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนที่และคำนวณวิถีแบบ Real time ผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะส่งไปยังเลเซอร์พอยน์เตอร์บนมอเตอร์ 2 แกนหมุน แบบ degrees of freedom(DoF) ส่งผลให้สามารถเล็งไปยังเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ได้ ระบบนี้ถูกสร้างขึ้นบนแพตฟอร์มของ Raspberry Pi 4 ร่วมกับซอฟแวร์ machine vision โปรแกรมการ tracking นั้นถูกพัฒนาภายใต้ไลบรารีของ OpenCV โดยอาศัย color detections algorithms ผลการทดลองตอนนี้สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของลูกเทนนิสแบบ real time ที่อัตรา 30 เฟรมต่อวินาที(fps) ขณะนี้โปรเจคอยู่นขั้นตอนการออกแบบและทดลองกับระบบแมคคานิคเพื่อควบคุมเลเซอร์พอยน์เตอร์ให้แม่นยำ โปรเจคนี้มีการนำความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์(computer programing) และวิศวกรรมเครื่องกล(การควบคุมมอเตอร์)มาใช้งาน