ในยุคดิจิทัล เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และการบริหารจัดการธุรกิจ เทคโนโลยี AI Vision Analytics ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในด้าน การควบคุมการเข้าถึงสถานที่ (Access Control System - ACS) และการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior Analytics) งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการบูรณาการ AI Access Control และ AI Video Analytics เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Adoption Behavior) ของผู้ใช้ทั้งสองระบบ โดยใช้กรอบแนวคิด UTAUT2 (Unified Theory of Acceptance and Use of Technology 2) เพื่อประเมินปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจในการใช้งาน อาทิ ความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี (Trust in Technology), ความง่ายในการใช้งาน (Effort Expectancy), อิทธิพลทางสังคม (Social Influence), และความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ (Performance Expectancy) งานวิจัยนี้ยังมีการทดสอบระบบ Access Control และ AI Vision Analytics ในบริบทจริง โดยติดตั้งระบบในงาน KMITL EXPO เพื่อเก็บข้อมูลการใช้ระบบ การนำ AI Vision มาใช้ในการบริหารธุรกิจและความปลอดภัย ผลการศึกษาจะช่วยให้ธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ สามารถปรับกลยุทธ์ในการใช้ AI Vision Analytics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทั้งในด้าน ความปลอดภัยและการตลาดดิจิทัล
ในยุคดิจิทัล เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจและการบริหารจัดการความปลอดภัย โดยเฉพาะ AI Vision Analytics ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหลายด้าน เช่น การควบคุมการเข้าถึงสถานที่ (Access Control System - ACS) และ การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior Analytics) โดย Access Control System (ACS) ช่วยให้สถานที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยใช้ AI ในการ จดจำใบหน้า (Face Recognition), ตรวจสอบป้ายทะเบียน (License Plate Recognition - LPR) และติดตามการเข้า-ออกในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้ และระบบ AI Video Analytics ช่วยให้ธุรกิจสามารถ วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า (Consumer Insights) ผ่านการติดตามความเคลื่อนไหวของผู้บริโภค เช่น Heat Map, Dwell Time, และ Customer Flow Analysis ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดและการให้บริการ ทั้งนี้แม้ว่า AI Vision Analytics จะมีศักยภาพสูง แต่ การยอมรับเทคโนโลยี (Technology Adoption) ยังเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องศึกษา เนื่องจาก ความเป็นส่วนตัว (Privacy Concerns), ความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี (Trust in Technology), และต้นทุนในการติดตั้ง อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้งาน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้น การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยี AI Vision โดยใช้กรอบแนวคิด UTAUT2 (Unified Theory of Acceptance and Use of Technology 2) เพื่อวิเคราะห์ว่า ผู้ใช้มีความเต็มใจแค่ไหนในการใช้งานระบบ AI ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและการตลาด
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
ด้วยสถานการณ์ “ค่าครองชีพ” ของประเทศไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มพุ่งขึ้นสูงเรื่อยๆ เป็นผลทำให้ประชากรที่พึ่งสำเร็จการศึกษา ประสบกับปัญหาเรื่องการจัดการค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับค่าครองชีพอย่างเหมาะสมในปัจจุบัน ซึ่งค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารที่แม้แต่ตามสั่งทั่วไปก็พุ่งสูงขึ้นเรื่อยเรื่อยไม่มีท่าทีจะลดลงแม้ต้นทุนวัตถุดิบจะปรับปรุงก็ตาม Pay - Attention เป็นเว็บไซต์แพลต์ฟอร์มที่จะช่วยให้ทราบถึงการบริหารจัดการ การใส่ใจเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการบริโภคอาหารเบื้องต้นสำหรับเด็กจบใหม่ จับจ่ายใช้สอยอย่างไร ให้คุ้มค่า คุ้มราคา เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงานสำหรับชีวิตประจำวันโดยไม่จำเจ
คณะบริหารธุรกิจ
ตู้แช่เวชภัณฑ์ชนิดกระจายความเย็นอย่างทั่วถึงพร้อมระบบบันทึกข้อมูลและควบคุมระยะไกล เป็นตู้แช่เวชภัณฑ์ที่มีระบบควบคุมการกระจายความเย็นภายในตู้แช่ให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกันทุกระดับความสูงภายในตู้แช่ พร้อมระบบบันทึกข้อมูล (Data Logging) เพื่อตรวจสอบห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain) ในการเก็บรักษาเวชภัณฑ์ พร้อมระบบแจ้งเตือนและควบคุมการทำงานระยะไกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ปริญญานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการนำขุยมะพร้าวและน้ำยางพารามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานก่อสร้าง 2) เพื่อหาอัตราส่วนผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพาราที่เหมาะสม และ 3) เพื่อทดสอบคุณสมบัติของแผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพาราภายใต้ มอก. 219-2552 เรื่องแผ่นฝ้ายิปซั่ม วิธีการดำเนินงาน มีขั้นตอนดังนี้ 1) การวางแผนการดำเนินงาน 2) การออกแบบส่วนผสมของแผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพารา 3) จัดทำผลิตภัณฑ์แผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพารา 4) นำผลิตภัณฑ์แผ่นฝ้าเพดานไปทดสอบคุณสมบัติตาม มอก. 219-2552 เรื่องแผ่นฝ้ายิปซั่ม และ 5) สรุปผลการทดสอบ