KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การกำจัดไบโอฟิล์มในช่องปากที่เกิดจากเชื้อโรคปริทันต์อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ DNase I และเปปไทด์ต้านจุลชีพมนุษย์ที่ถูกดัดแปลง D-LL-31: ศักยภาพในการพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปาก

รายละเอียด

Aggregatibacter actinomycetemcomitans เป็นเชื้อก่อโรคหลักของโรคปริทันต์ โดยสามารถทำลายเอ็นยึดปริทันต์และกระดูกเบ้าฟันผ่านการสร้างไบโอฟิล์ม D-LL-31 ซึ่งเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพที่ถูกดัดแปลงทางวิศวกรรม แสดงศักยภาพที่สูงในการกำจัดเชื้อที่ฝังตัวในไบโอฟิล์มได้ดีกว่าวิธีรักษาแบบดั้งเดิม ขณะที่ DNase I ช่วยเสริมประสิทธิภาพโดยการสลายเมทริกซ์ของไบโอฟิล์ม โดยวัตถุประสงศ์ของงานวิจัยนี้ต้องศึกษาผลของ D-LL-31 ร่วมกับ DNase I ต่อไบโอฟิล์มของ A. actinomycetemcomitans ผลการทอลองพบว่า D-LL-31 สามารถกำจัดไบโอฟิล์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อใช้ร่วมกับ DNase I จะช่วยเพิ่มการทำลายไบโอฟิล์มได้มากขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุเหงือก ดังนั้นการใช้ D-LL-31 ร่วมกับ DNase I มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปาก เพื่อช่วยรักษาสุขภาพช่องปากและลดความเสี่ยงของโรคปริทันต์

วัตถุประสงค์

โรคปริทันต์เป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อย โดยมี Aggregatibacter actinomycetemcomitans (Aa) เป็นหนึ่งในเชื้อก่อโรคสำคัญ เชื้อชนิดนี้สามารถสร้างไบโอฟิล์ม ซึ่งเป็นกลไกหลักที่ช่วยให้เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพและหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไปไม่ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาแนวทางใหม่ในการกำจัดไบโอฟิล์มจึงเป็นสิ่งจำเป็น งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาประสิทธิภาพของ D-LL-31 ซึ่งเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพที่ถูกแปลงทางวิศวกรรม เพื่อทำลายเชื้อที่อยู่ในไบโอฟิล์ม และการใช้ DNase I เพื่อสลายโครงสร้างเมทริกซ์ของไบโอฟิล์มร่วมกัน ซึ่งอาจเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนา น้ำยาบ้วนปาก ที่ช่วยลดเชื้อก่อโรคในช่องปากและป้องกันโรคปริทันต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรมอื่น ๆ

ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอัตโนมัติในโรงเรือนเห็ดนางฟ้าภูฐานในครัวเรือนขนาดเล็ก

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอัตโนมัติในโรงเรือนเห็ดนางฟ้าภูฐานในครัวเรือนขนาดเล็ก

ในปัจจุบัน ความสนใจในสุขภาพและการบริโภคอาหารปลอดสารพิษได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาหารที่สามารถผลิตได้เองในครัวเรือน เช่น เห็ดนางฟ้าภูฐาน ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและเหมาะสำหรับการควบคุมน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม การเพาะเห็ดในโรงเรือนขนาดเล็กมักประสบปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิและความชื้นที่ไม่เสถียร ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของเห็ด การพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอัตโนมัติจึงมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นเพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเห็ดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดความผิดพลาดจากการควบคุมด้วยมือ และส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัยในครัวเรือน นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตและสนับสนุนแนวคิดการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน การใช้เทคโนโลยีนี้จึงถือเป็นนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับการเพาะเห็ดให้มีคุณภาพและเพิ่มความยั่งยืนในการผลิตอาหาร

เกษตรกิจ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

เกษตรกิจ

โครงงานเรื่องเกษตรกิจ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการที่สังคมในปัจจุบัน เรื่องของธุรกิจ และเทคโนโลยีมีการเติบโตและผสานเข้าด้วยกันมากยิ่งขึ้น ทำให้เรื่องของเศรษฐศาสต์เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น ดังนั้นแล้วการเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่การเรียนรู้ผ่านหนังสือ หรือตำราต่างๆ เป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจน้อยลง ทางผู้พัฒนาจึงมองหาหนทางใหม่ๆ ในการสร้างสื่อการเรียนรู้ ที่ไม่ได้มอบเพียงแค่ความรู้ แต่ยังคงมอบความเพลิดเพลินให้กับผู้เล่นด้วย จึงเกิดความคิดริเริ่มในการสร้างเกมเกษตรกิจขึ้นมา โดยภายในเกมผู้เล่นจะได้รับบทเป็นเกษตรกรที่ต้องบริหารฟาร์ม ซึ่งผู้เล่นจะต้องปลูกพืชในฟาร์มของตนเองให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และนำไปขายในตลาด โดยผู้เล่นจะต้องตัดสินใจเลือกประเภทของผลผลิต ปริมาณของผลผลิต รวมถึงราคาขายที่ผู้เล่นต้องการ ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณที่ขายได้ และกำไรที่จะได้รับ โดยเป้าหมายของเกม คือ การที่ผู้เล่นจะต้องสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการใช้หนี้ในแต่ละฤดูกาล ซึ่งผู้เล่นจะได้เรียนรู้หลักเศรษฐศาสตร์ผ่านการจำลองสถานการณ์ต่างๆ ภายในเกม อีกทั้งยังต้องอาศัยทักษะในการวางแผน และการตัดสินใจที่รอบคอบ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3 ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3 ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ 2) เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะปิคลองด่านชุมชน 3 ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 9 คน ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ นั้นขาดบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมแก่การเป็นของฝากและมีความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีลักษณะเหมาะสมแก่การเป็นของฝากโดยวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์คือกระดาษ มีรูปแบบบรรจุภัณฑ์เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพร้อมหูจับสำหรับพกพา สามารถพับเก็บขนส่งสะดวก และซ้อนทับเพื่อเรียงเป็นชั้นได้มีความแข็งแรงทนทาน สีบรรจุภัณฑ์ที่ใช้คือสีน้ำตาลอ่อน ส่วนสีฉลากคือสีขาว มีรายละเอียดที่ระบุในฉลากดังนี้ สูตรทำน้ำพริกกะปิ ส่วนประกอบ วันผลิตและวันหมดอายุ ความเป็นมาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ QR Code เบอร์โทรศัพท์ เรื่องราวสั้น ๆ ชื่อกลุ่ม สถานที่ผลิต พร้อมทั้งใช้ภาพประกอบเป็นที่ตั้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ และภาพเคยแดง ผลการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฯ พบว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของสินค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ และความพึงพอใจต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของสมาชิกกลุ่ม ฯ พบว่าบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 1 มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( x ̅ = 4.57, S.D.= 0.22) โดยมีด้านสีได้ระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( x ̅ = 4.74, S.D.= 0.06) รองลงมาคือด้านฉลากมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( x ̅ = 4.69, S.D.= 0.10) น้อยที่สุดคือ ด้านคุณสมบัติระดับความพึงพอใจปานกลาง ( x ̅ = 3.83, S.D.=1.58) ตามลำดับ