งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อสร้างคำบรรยายอัตโนมัติจากการแบ่งส่วนความเสียหายของชิ้นส่วนรถยนต์ โดยการวิเคราะห์จากข้อมูลภาพของรถยนต์โดยใช้โครงสร้างแบบโครงคร่าวแบบรวม (Unified Framework) เพื่อช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งและอธิบายความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว โดยการพัฒนาประยุกต์จากพื้นฐานงานวิจัยที่มีชื่อว่า ”GRiT: A Generative Region-to-text Transformer for Object Understanding” ที่ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาและปรับแต่งให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์ภาพที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์โดยเฉพาะ การปรับปรุงนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำให้แบบจำลองสามารถสร้างคำบรรยายสำหรับบริเวณต่างๆ ของรถยนต์ได้อย่างแม่นยำ ตั้งแต่บริเวณที่ได้รับความเสียหายไปจนถึงการระบุส่วนประกอบต่างๆ บนรถยนต์ ทางผู้วิจัยได้เน้นการพัฒนาเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อสร้างคำบรรยายอัตโนมัติและการแบ่งส่วนความเสียหายในการวิเคราะห์ความเสียหายของรถยนต์ เพื่อช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งและอธิบายความเสียหายที่เกิดขึ้นกับยานยนต์ได้อย่างแม่นยำ ช่วยเพิ่มความรวดเร็ว ลดภาระของผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเสียหาย โดยวิธีการเเบบดั้งเดิมอาศัยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน เพื่อลดปัญหานี้ ทางเราเสนอให้ใช้ประโยชน์จากการสร้างข้อมูลเพื่อฝึกฝนการสร้างคำบรรยายาย เเละ แบ่งส่วนความเสียหายอย่างอัตโนมัติ โดยใช้ โครงสร้างแบบโครงคร่าวแบบรวม ซึ่งการพัฒนานี้เป็นการขยายความสามารถของแบบจำลองให้สามารถประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางมากขึ้นในภาคส่วนของยานยนต์ ทางผู้วิจัยได้สร้างชุดข้อมูลใหม่จาก CarDD ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการตรวจจับความเสียหายของรถยนต์ ในชุดข้อมูลนี้มีการติดป้ายกำกับความเสียหายบนรถยนต์ และผู้วิจัยได้นำข้อมูลชุดดังกล่าวมาเข้าสู่แบบจำลองเพื่อแยกส่วนของรถยนต์เป็นชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อจัดทำการติดป้ายกำกับคำอธิบายที่แม่นยำสำหรับแต่ละชิ้นส่วนและหมวดหมู่ความเสียหาย ผลลัพธ์เบื้องต้นจากเเบบจำลอง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างคำบรรยายอัตโนมัติและการแบ่งส่วนความเสียหายในการวิเคราะห์ความเสียหายของรถยนต์ได้อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ด้วยผลลัพธ์นี้ เเบบจำลองนี้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะถูกพัฒนาต่อยอดในอนาคต การพัฒนาต่อยอดนี้ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการแบ่งส่วนความเสียหายและสร้างคำบรรยายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับปรุงความสามารถในการตอบสนองต่อความหลากหลายของความเสียหายที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวและส่วนต่างๆ ของรถยนต์ ซึ่งจะช่วยให้ระบบสามารถประยุกต์ใช้ได้กับยานยนต์หลากหลายรูปแบบและสภาพความเสียหายที่แตกต่างกันมากขึ้นในอนาคต
ในปัจจุบัน การประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์เป็นงานที่ซับซ้อนและต้องการความเชี่ยวชาญจากผู้ประเมินที่มีประสบการณ์ เนื่องจากลักษณะความเสียหายแต่ละกรณีมีความแตกต่างกัน โดยต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น ชนิดของความเสียหายและตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบ การขาดมาตรฐานการประเมินที่ชัดเจนและความแตกต่างในวิธีการของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน อาจนำไปสู่ความไม่สอดคล้องในการตัดสินใจ ทำให้เกิดความล่าช้าในการซ่อมแซมและการเบิกจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ขาดมาตรฐาน ซึ่งกลายเป็นความท้าทายสำคัญที่ภาคประกันภัยต้องเผชิญ ในปี 2021 สหรัฐอเมริกามีรายงานอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงถึง 1,767,116 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้น 13.3% จากปี 2011 แนวโน้มนี้สอดคล้องกับการเคลมค่าสินไหมที่เพิ่มขึ้น9%ในปี2022เมื่อเทียบกับปี2021ซึ่งเป็นผลจากค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่สูงขึ้นและภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้ต้นทุนของภาคประกันภัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มขึ้นของจำนวนอุบัติเหตุและต้นทุนการซ่อมแซมได้นำไปสู่ความท้าทายหลักสองประการประการแรกคือ ความรวดเร็วและความแม่นยำในการประเมินความเสียหาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการซ่อมแซมและการเบิกค่าสินไหม การประเมินด้วยมนุษย์อาจเกิดความล่าช้าและข้อผิดพลาด ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในด้านบริการของผู้เอาประกันภัย ประการที่สองคือการขาดมาตรฐานการประเมินความเสียหายที่ชัดเจนวิธีการประเมินของผู้เชี่ยวชาญที่แตกต่างกันอาจส่งผลให้เกิดความไม่สอดคล้องในการประเมินราคาและข้อเสนอแนะสำหรับการซ่อมแซมนอกจากนี้การขาดมาตรฐานกลางยังอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างบริษัทประกันและผู้เอาประกันภัย เนื่องจากการตีความขอบเขตความเสียหายที่แตกต่างกัน เพื่อแก้ปัญหานี้ แนวคิด การแบ่งส่วนความเสียหาย (Damage Segmentation) ได้ถูกเสนอให้เป็นเครื่องมือในการระบุและจำแนกความเสียหายตามส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ วิธีนี้ช่วยให้เกิดมาตรฐานในการประเมินและเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการประเมิน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับการแบ่งส่วนความเสียหายของรถยนต์ มักเน้นเพียงการแยกแยะความเสียหายออกจากพื้นที่โดยรอบ แต่ไม่ได้ระบุชิ้นส่วนที่เสียหายอย่างชัดเจน ขณะที่งานวิจัยบางชิ้นมุ่งเน้นแค่การแบ่งส่วนชิ้นส่วนของรถยนต์แยกกันเท่านั้น จากการศึกษาข้อมูลในปัจจุบัน ไม่พบงานวิจัยใดที่พยายามผสานเทคนิคการแบ่งส่วนความเสียหายร่วมกับการแบ่งส่วนชิ้นส่วนของรถยนต์ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ครอบคลุม ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนา คำบรรยายอัตโนมัติ (Image Captioning) ร่วมกับการแบ่งส่วนความเสียหายซึ่งไม่เพียงแค่ระบุประเภทความเสียหาย แต่ยังสามารถระบุชิ้นส่วนที่ได้รับความเสียหายจากภาพถ่ายปัจจุบันงานวิจัยเกี่ยวกับคำบรรยายอัตโนมัติ ส่วนใหญ่เน้นการบรรยายภาพในเชิงทั่วไป เช่น การระบุวัตถุหรือกิจกรรมภายในภาพ แม้ว่าจะมีงานที่บูรณาการระหว่างการแบ่งส่วนผนวกเข้ากับคำบรรยาย แต่ยังไม่มีงานใดที่เจาะจงบรรยายภาพเพื่อระบุความเสียหายของรถยนต์โดยเฉพาะ วิธีการนี้จะช่วยสร้างมาตรฐานใหม่ในการประเมินความเสียหายของยานพาหนะ ลดข้อผิดพลาดจากการประเมินด้วยมนุษย์ และเพิ่มความรวดเร็วในการประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับสถานีรถไฟความเร็วสูง โดยแบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 4 ขั้นตอน 1) การสำรวจและวิเคราะห์อัตลักษณ์บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน 2) การเปรียบเทียบการรับรู้สภาพแวดล้อมของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามชุดที่ 1 จากผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) รถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน (MRT BL) รถไฟฟ้าแอร์พอตเรียลลิ้งค์ (APL) หรือ AERA1 และ รถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วง(MRT PPL) จำนวน 800 คน 3) การสำรวจ และวิเคราะห์การรับรู้อัตลักษณ์บริเวณสถานีของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน (MRT BL) โดยใช้แบบสอบถามชุดที่ 2 จากผู้ใช้บริการ จำนวน 800 คน สถานีวัดมังกร สามยอด สนามไชย และอิสรภาพ 4) การศึกษาและสำรวจสภาพแวดล้อมรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย จากนั้นนำผลการศึกษาที่ได้มาสังเคราะห์แนวทางการออกแบบอัตลักษณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อการสรุปผลกรอบแนวคิดการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับสถานีรถไฟความเร็วสูง ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน สถานีเป็นองค์ประกอบหนึ่งจากสถาปัตยกรรมด้านประวัติศาสตร์ที่มีความสอดคล้องกับสถานที่ สังคม วิถีชีวิต รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญใกล้สถานี สภาพแวดล้อมภายนอกสถานีมีผลต่อการรับรู้ของผู้ใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ อาคารภายนอก จุดเชื่อมต่อของระบบขนส่งสาธารณะใกล้เคียง และประตูทางเข้าออกสถานี โดยแนวทางการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับสถานีรถไฟความเร็วสูง สามารถสรุปอัตลักษณ์ในการออกแบบได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1) อัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม 2) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม 3) อัตลักษณ์จากการ์ตูน และ 4) อัตลักษณ์ทางด้านศิลปะและงานออกแบบ
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ข้าวเป็นพืชที่อ่อนแอต่อดินเค็ม วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาผลของความเค็มในระยะออกดอกที่มีต่อลักษณะทางสรีรวิทยา และการให้ผลผลิตของข้าวพื้นเมือง วางแผนการทดลองแบบ 4*10 Factorial in RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัย A คือ ระดับความเค็ม 4 ระดับได้แก่ control , 6, 12 และ 16 dS/m ปัจจัย B คือพันธุ์ข้าวจำนวน 10 สายพันธุ์ เก็บข้อมูลลักษณะทางสรีรวิทยาแลผลผลิต ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเค็มที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง โดยผลผลิตจะลดลงมากที่สุดเมื่อข้าวได้รับเกลือที่ระดับ 16 dS/m นอกจากนี้พบว่า สายพันธุ์ข้าวมีการให้ผลผลิตที่แตกต่าง ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า ข้าวพันธุ์หอมใหญ่มีอัตราการลดลงของผลผลิตต่ำที่สุดเมื่อปลูกในระดับความเค็ที่ 16 dS/m และไม่แตกต่างกับพันธุ์ทนเค็มมาตรฐาน
คณะอุตสาหกรรมอาหาร
-