KMITL Innovation Expo 2025 Logo

แนวทางการออกแบบและพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้งานรถโดยสารสาธารณะ เพื่อเดินทางมาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รายละเอียด

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้งานรถโดยสารสาธารณะ เพื่อการวางแผนการเดินทาง และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารสาธารณะแบบต่าง ๆ สำหรับเดินทางมายังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience : UX) และการออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface : UI) ที่มีผลต่อผู้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับการใช้รถโดยสารสาธารณะ 2) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันรถโดยสารสาธารณะที่ต้องเดินทางมายังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience : UX) และการออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface : UI) และผลิตต้นแบบของแอปพลิเคชันสำหรับใช้รถโดยสารสาธารณะเพื่อการเดินทางมายังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีการศึกษาการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience: UX) การออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface: UI) รวมถึงการศึกษาตัวอย่างเกี่ยวกับแอปพลิเคชันสำหรับการเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ และศึกษาจุดขึ้นรถสาธารณะโดยรอบสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การศึกษางานวิจัยเรื่องนี้ได้มีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีตัวอย่างการใช้แอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องประกอบการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาในสถาบัน อายุ 18 ถึง 35 ปี เพื่อศึกษาข้อมูลให้ต้นแบบในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ตอบสนองความต้องการ และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานอย่างแท้จริง ผลการวิจัยพบว่ารถโดยสารสาธารณะที่กลุ่มเป้าหมายมีการใช้งานมากที่สุดคือรถสองแถว, รถไฟ, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์, วินมอเตอร์ไซค์ และรถเมล์ตามลำดับ ผู้ใช้งานมีความกังวลในด้านความปลอดภัยต่าง ๆ และต้องการให้มีการออกแบบฟีเจอร์เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ความมั่นใจใน การใช้รถโดยสารสาธารณะที่มากขึ้นของนักศึกษา เช่น การส่งตำแหน่งไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือ และข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับรถโดยสารสาธารณะที่นักศึกษาต้องการ เช่นการคำนวณราคา คำนวณเวลาเดินทาง รอบการเดินรถ จุดขึ้นลงที่เป็นทางการและชัดเจน เส้นทางการเดินรถ การลงทะเบียนคนขับ ข้อเสนอแนะหรือการแนะนำเส้นทาง และเวลาของรถโดยสารสาธารณะที่เข้ามาถึงจุดที่ผู้ใช้งานรออยู่ เป็นต้น และนำเสนอแนวทางการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience : UX) จากการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นการจัดลำดับความสำคัญของลักษณะเมนูบันทึกเส้นทางที่ใช้บ่อย เมนูแสดงจุดขึ้นรถใกล้เคียง เมนูที่ค้นหาเส้นทางและเลือกโดยใช้ข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ของผู้ใช้งานได้เช่น การคำนวณราคาค่าเดินทาง หรือระยะเวลาเดินทาง และเมนูที่สามารถตั้งค่าแบบอักษร ตั้งค่าโหมดสี เพื่อรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย เนื่องจากการศึกษาความต้องการของผู้ใช้เกี่ยวกับแบบอักษรพบว่ามีความต้องการใช้งานตัวอักษรไทยแบบมีหัว และไม่มีหัวในจำนวนที่เท่ากัน รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการในสีของแอปพลิเคชันที่มีความต้องการทั้งการแสดงผลที่มีสีอ่อน และสีเข้มในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน รวมถึงการออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface) โดยออกแบบรูปสัญลักษณ์ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไม่ทำให้เกิดความสับสน

วัตถุประสงค์

1. ยังไม่มีแอปพลิเคชันสำหรับรถโดยสารสาธารณะเพื่อการเดินทางมาสจล.โดยตรง (www.condonewb.com ,2564) 2. จากการสำรวจบางแอปพลิเคชันนั้นไม่ ได้รับการเพิ่มเติมข้อมูลที่เป็ นปั จจุบันและไม่ ได้รับการพัฒนา อย่างต่อเนื่องนั้นก่อให้เกิดความสับสนในผู ้ใช้งานแอปพลิเคชัน (เว็บไซต์ rottuthai.com อัปเดทปี ล่าสุด 2562) 3. กลุ่มผู้โดยสารมีทัศนคติที่ ไม่ปลอดภัยในการโดยสารรถตู้สาธารณะ (ณิชา สุขวัฒนากรณ์ ,2562)

นวัตกรรมอื่น ๆ

Dream High ผลิตภัณฑ์จากไมซีเลียม

คณะบริหารธุรกิจ

Dream High ผลิตภัณฑ์จากไมซีเลียม

ในโลกที่ให้ความสําคัญกับความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น DreamHigh เป็นผู้บุกเบิกแนวทางที่เป็นนวัตกรรมในการแก้ปัญหาบรรจุภัณฑ์โดยใช้ไมซีเลียม ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และทดแทนได้จากเชื้อรา ภารกิจของเราคือการปฏิวัติอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โดยนําเสนอทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่เพียงแต่ลดขยะเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับความพยายามระดับโลกในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย บรรจุภัณฑ์ไมซีเลียมเสนอทางเลือกที่น่าสนใจสําหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกและสไตโรโฟมแบบดั้งเดิม ซึ่งมีส่วนสําคัญต่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพอย่างสมบูรณ์ ย่อยสลายได้ และสามารถย่อยสลายได้ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติภายในไม่กี่สัปดาห์ โดยไม่ทิ้งสารพิษตกค้างไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไมซีเลียมมีน้ําหนักเบา ทนทาน และปรับแต่งได้ ทําให้เหมาะสําหรับการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคไปจนถึงวัสดุป้องกันการจัดส่ง แผนธุรกิจของ DreamHigh ได้สรุปกระบวนการผลิตที่ปรับขนาดได้โดยใช้เทคนิคการเพาะปลูกไมซีเลียมขั้นสูงและความร่วมมือกับภาคเกษตรกรรมในท้องถิ่นเพื่อใช้ของเสียทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบหลัก สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพด้านต้นทุนเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการนําของเสียที่จะถูกทิ้งไปใช้ประโยชน์ใหม่

รถสองแถวไฟฟ้าดัดแปลง

คณะวิศวกรรมศาสตร์

รถสองแถวไฟฟ้าดัดแปลง

ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ทดแทนเทคโนโลยียานยนต์พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง (Internal Combustion Engine: ICE) เพื่อลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเริ่มมีการผลักดันนโยบายการส่งเสริมยานยนต์พลังงานไฟฟ้าผ่านหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เช่น การนำรถโดยสารไฟฟ้ามาทดสอบให้บริการประชาชนผ่านหน่วยงาน ขสมก. แต่อุปสรรคสำคัญของโครงการคือต้นทุนเริ่มต้นของราคายานยนต์ไฟฟ้ามีราคาสูง แม้ว่ายานยนต์ไฟฟ้าจะมีค่าดำเนินการต่อระยะทางต่ำกว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากก็ตาม จึงทำให้ผู้ประกอบการยังไม่ให้ความสนใจในการเปลี่ยนการใช้งานจากรถเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นการดัดแปลงรถเดิมเป็นรถไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ลงได้ โครงการนี้จะใช้เทคโนโลยีนี้กับการดัดแปลงรถกระบะเก่าให้เป็นรถ 2 แถวไฟฟ้า เพราะการใช้งานรถ 2 แถวมีระยะทางเฉลี่ยต่อวันค่อนข้างคงที่ ทำให้การออกแบบที่เหมาะสมมีเงื่อนไขที่ไม่เป็นอุปสรรคมากนัก และผู้ประกอบการขับรถ 2 แถว มีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นโครงการนี้จะส่งผลให้เป็นการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น นอกจากนี้เมื่อรถเครื่องยนต์สันดาปลดลงจะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย

นวัตกรรมน้ำจิ้มซีฟู้ดและน้ำจิ้มแจ่วรูปแบบก้อน

คณะบริหารธุรกิจ

นวัตกรรมน้ำจิ้มซีฟู้ดและน้ำจิ้มแจ่วรูปแบบก้อน

โครงงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาน้ำจิ้มซีฟู้ดและน้ำจิ้มแจ่วในรูปแบบก้อน เพื่อแก้ปัญหาของน้ำจิ้มเหลวที่พกพายากและเสี่ยงต่อการหกเลอะเทอะ รวมถึงน้ำจิ้มแบบผงที่อาจสูญเสียรสสัมผัสและเอกลักษณ์ของน้ำจิ้มไทย โดยใช้ส่วนผสมและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจากรูปแบบเดิม การดำเนินโครงงานนี้มีเป้าหมายในการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการบริโภคและขนส่งน้ำจิ้ม พร้อมทั้งคงคุณภาพและรสชาติให้ใกล้เคียงกับต้นตำรับมากที่สุด ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มรูปแบบใหม่ที่พกพาง่าย ลดปัญหาการหกเลอะเทอะ และสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมอาหาร