งานวิจัยนี้ศึกษาการสร้างสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งได้ทำการสร้างสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพิมพ์ 3 มิติ ด้วยโปรแกรม AutoCAD ทำให้ตัวเครื่องนั้นมีความแข็งแรงทนทาน ต้นทุนต่ำ และพกพาสะดวก เพื่อใช้ในการตรวจวัดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในอาหารทะเลสด
เทคนิคในการตรวจวัดความเข้มข้นฟอร์มาลดีไฮด์ในอาหารทะเลสด เช่น UV-Vis Spectrophotometry เป็นเทคนิคที่ใช้วัดค่าการดูดกลืนแสงของสารและใช้ในการวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารในสารละลาย ข้อจำกัดของเทคนิคนี้คือราคาแพง และไม่สะดวกในการใช้งานภาคสนาม จึงมีการพัตนาและสร้างสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพิมพ์ 3 มิติ เพื่อตรวจวัดความเข้มข้นฟอร์มาลดีไฮด์ในอาหารทะเลสด ซึ่งมีความสำคัญในการลดต้นทุน พกพาสะดวก และใช้งานง่ายในภาคสนาม
คณะวิศวกรรมศาสตร์
การประดิษฐ์หุ่นยนต์การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2567 เกม “วิถีข้าว วิถีไทย สู่วิถีสากล (HARVEST DAY)”
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อระบบเกษตรกรรมทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตพืชลดลงและส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร ถั่วหรั่ง (Bambara groundnut) เป็นพืชที่มีศักยภาพในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และสามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัด งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตถั่วหรั่งในประเทศไทย โดยใช้แบบจำลอง DSSAT (Decision Support System for Agrotechnology Transfer) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการคาดการณ์การเจริญเติบโตของพืชภายใต้สภาพแวดล้อมที่หลากหลาย การศึกษานี้ใช้ข้อมูลภูมิอากาศ องค์ประกอบของดิน และข้อมูลพันธุกรรมของถั่วหรั่ง เพื่อจำลองและวิเคราะห์แนวโน้มของผลผลิตภายใต้สถานการณ์สภาพอากาศในอนาคต โดยเลือกพื้นที่ศึกษา 4 แห่งในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดสงขลา ลำปาง ยโสธร และสระบุรี แบบจำลอง CSM-CROPGRO-Bambara groundnut ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินอิทธิพลของอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วหรั่ง ผลการศึกษาคาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรและนักวิจัยมีข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนเพาะปลูกและการบริหารจัดการผลผลิตถั่วหรั่งให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกพืชที่ทนทานต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารของประเทศ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
กรรมวิธีผลิตแผ่นแสดงระดับความหืนของอาหารประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ 1. การเตรียมสารละลายอินดิเคเตอร์ 2. การเตรียมสารละลายเซลลูโลส และ 3. การขึ้นรูปแผ่น มีสารละลายโบรโมไทมอลบลู และสารละลายเมทิลเรดทำหน้าที่เป็นอินดิเคเตอร์ ส่วนสารละลายเซลลูโลสประกอบด้วยสารไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส สารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ สารโพลิเอทิลีน ไกลคอล 400 และสารละลายอินดิเคเตอร์ สำหรับการขึ้นรูปแผ่นใช้สารละลายเซลลูโลสผสมกับน้ำยางธรรมชาติเพื่อเพิ่มความยืนหยุ่นและทำให้มีคุณสมบัติไม่น้ำชอบ หลังการอบแห้งสิ่งประดิษฐ์จะมีลักษณะเป็นแผ่นบางสีน้ำเงินเข้ม เมื่อสัมผัสกับสารระเหยของความหืนของอาหารทอด จะเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเข้มเป็นสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ตามปริมาณสารระเหยของความหืนของอาหารทอดที่เพิ่มขึ้น