KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ระบบตรวจสอบฝุ่นบนแผงโซลาร์เซลล์

รายละเอียด

แผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้กันในครัวเรือน ในปัจจุบันยังขาดระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด งานวิจัยนี้มีเป้าหมายในการออกแบบระบบตรวจสอบผ่านเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) และ Machine Learning มาใช้ในการคาดการณ์กระแส และแรงดันไฟฟ้าที่ผลิตโดยแผงโซลาร์เซลล์ การศึกษาทดลองพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการสะสมของฝุ่นกับกระแสไฟฟ้าที่แผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตได้ ระบบที่นำเสนอสามารถคาดการณ์เวลาที่เหมาะสมในการทำความสะอาด

วัตถุประสงค์

ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศในเขตร้อนที่เหมาะสมต่อการติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นอย่างมาก แต่เนื่องด้วยปริมาณฝุ่นเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งปริมาณฝุ่นนี้มีผลกระทบต่อแผงโซลาร์เซลล์ จึงมีแนวคิดในการพัฒนาระบบติดตามดูแลแผงสำหรับครัวเรือน ที่โดยส่วนใหญ่ไม่ได้มีการดูแลอย่างเหมาะสม

นวัตกรรมอื่น ๆ

ระบบทำนายผลไม้เน่าเสียสำหรับภาคอุตสาหกรรม

คณะวิทยาศาสตร์

ระบบทำนายผลไม้เน่าเสียสำหรับภาคอุตสาหกรรม

ระบบตรวจจับผลไม้เน่ามีที่มาจากความต้องการในการลดการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเกษตรและการจัดจําหน่ายอาหาร ผลไม้ที่เน่าเสียจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และสามารถก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้อย่างมาก การพัฒนาระบบตรวจจับผลไม้เน่าจึงมีเป้าหมายเพื่อช่วยในการคัดกรองและแยกผลไม้ที่ไม่เหมาะสมออกจากกระบวนการจัดส่ง เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการผลไม้สดใหม่ ทางผู้จัดจึงได้จำลองระบบคัดแยกผลไม้เน่าเสียออกจากผลไม้สดโดยใช้รูปภาพเป็นปัจจัย ผลการทดลองออกมาอย่างมีประสิทธิภาพและมีความเร็วในการทำนายสูง

การศึกษาประสิทธิภาพของปูนในการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ในการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การศึกษาประสิทธิภาพของปูนในการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ในการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei)

การศึกษาประสิทธิภาพปูนในการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว Efficacy Study of lime in Enhancing Water Alkalinity for Pacific White Shrimp (Litopenaeus vannamei) Aquaculture การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเพิ่มค่าอัลคาไลน์ของปูนที่มีองค์ประกอบ calcium oxide มากกว่า 50% และ magnesium oxide ไม่ต่ำกว่า 29% ในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว ทดลองที่ระดับความเข้มข้น 0, 5, 10, 15 และ 20 ppm เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง โดยเก็บข้อมูลที่ชั่วโมงที่ 0, 3, 6, 12, 24, 36 และ 48 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปูนมีประสิทธิภาพการแตกตัวสูง (65-86%) ในชั่วโมงแรก และเข้าสู่การแตกตัวสมบูรณ์ (98.5-98.6%) ภายใน 6 ชั่วโมง ค่า pH มีการเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของปูนในช่วงแรก และค่อยๆ ลดลงในช่วง 3-12 ชั่วโมง ก่อนเข้าสู่สภาวะคงที่ ส่วนค่า Total alkalinity พบการเพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วง 3-6 ชั่วโมงแรกและคงที่จนสิ้นสุดการทดลอง การวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าทั้งความเข้มข้นและระยะเวลามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทุกพารามิเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

การออกแบบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ใหม่

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การออกแบบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ใหม่

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนารถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าโดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงจากระบบเครื่องยนต์สันดาปเป็นระบบไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการลดมลพิษทางอากาศและเสริมสร้างเทคโนโลยียานยนต์ที่ยั่งยืน รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าได้รับการออกแบบโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า BLDC และระบบควบคุมที่ปรับแต่งให้เข้ากับการขับขี่แบบเฉพาะของรถสามล้อในประเทศไทย การศึกษาได้พิจารณาถึงระบบพลังงานที่เหมาะสม รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ขับขี่รถตุ๊กตุ๊กแบบดั้งเดิมเพื่อออกแบบรถที่ตอบสนองต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการนำรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามาใช้นอกจากจะลดการปล่อยมลพิษและฝุ่น PM2.5 ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแก่ภาคการท่องเที่ยวไทย พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจภายในประเทศ