KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การปรับปรุงการผลิตกรดแกมมาอะมิโนบิวทิริกในน้ำสับปะรดหมัก

รายละเอียด

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตกรดแกมมา-อะมิโนบิวทิริก (GABA) ในน้ำสับปะรดหมักโดยใช้โพรไบโอติกและแบคทีเรียกรดอะซิติก (AAB) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการเพิ่มปริมาณ GABA กระบวนการนี้ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของน้ำหมักสับปะรด และช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตสับปะรดไทยที่มีราคาต่ำมาเป็นเวลานาน การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่การหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิต GABA โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณน้ำตาล ค่า pH ระยะเวลาการหมัก และความเข้มข้นของ L-glutamate รวมถึงการเพาะเลี้ยงร่วมกันระหว่างโพรไบโอติกและแบคทีเรียกรดอะซิติก การทดลองดำเนินการโดยใช้เทคนิคการหมักแบบควบคุม และวิเคราะห์องค์ประกอบทางชีวภาพของน้ำหมักโดยใช้เครื่องมือขั้นสูง เช่น HPLC และ GC-MS ผลการวิจัยคาดว่าจะนำไปสู่การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตเครื่องดื่มน้ำสับปะรดที่มีปริมาณ GABA สูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยลดความเครียด ส่งเสริมการทำงานของสมอง และเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารหมักในประเทศไทย

วัตถุประสงค์

การพัฒนากระบวนการผลิตกรดแกมมา-อะมิโนบิวทิริก (γ -aminobutyric acid) ในเครื่องดื่มจากน้ำสับปะรดด้วยโพรไบโอติกซึ่งเน้นการใช้แบคทีเรียกรดอะซิติกและโพรไบโอติกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต GABA โดยที่มาของการวิจัยนี้เกิดจากความต้องการแก้ไขปัญหาราคาสับปะรดของไทยซึ่งมีราคาต่ำมาเป็นเวลานาน การผลิตเครื่องดื่มที่มี GABA สูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยในการผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล และส่งเสริมการทำงานของสมอง

นวัตกรรมอื่น ๆ

การจัดการแบตเตอรี่ แบบ IoT

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การจัดการแบตเตอรี่ แบบ IoT

การออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ระยะไกล งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่สามารถมอนิเตอร์และควบคุมจากระยะไกล พร้อมทั้งรองรับการกำหนดคุณสมบัติของเซลล์แบตเตอรี่ได้ตามต้องการ ระบบนี้ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับใช้งานร่วมกับเซลล์แบตเตอรี่กราฟีน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระบบพลังงานทางเลือกสำหรับที่อยู่อาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณเพื่อช่วยระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับกระบวนการควบคุมไนโตรเจนในไซโลเก็บข้าว

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

การใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณเพื่อช่วยระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับกระบวนการควบคุมไนโตรเจนในไซโลเก็บข้าว

เนื่องจากไซโลเก็บข้าวอินทรีย์เผชิญกับปัญหาแมลง เจ้าของจึงแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ในกระบวนการควบคุมบรรยากาศ (CAP) ภายใต้มาตรฐานที่กำหนด โดยทำการรมแมลงด้วยไนโตรเจน (N₂) และลดความเข้มข้นของออกซิเจน (O₂) ให้น้อยกว่า 2% เป็นเวลา 21 วัน บทความนี้นำเสนอการใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) ร่วมกับ ES ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นแรก CFD ถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการไหลของก๊าซ ความเข้มข้นของ O₂ สภาวะการทำงานที่เหมาะสม และค่าสัมประสิทธิ์การแก้ไข (K) ของไซโล ซึ่งผลลัพธ์ของ CFD สอดคล้องกับผลการทดลองและทฤษฎี ยืนยันความน่าเชื่อถือของ CFD อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ของ CFD ยังแสดงให้เห็นว่า ES สามารถควบคุมการกระจายตัวของไนโตรเจนภายในไซโลได้อย่างทั่วถึงและลดความเข้มข้นของ O₂ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด จากนั้น ระบบ ES ถูกพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกลไกการวินิจฉัย (Inference Engine) ที่ได้รับการสนับสนุนจากผลลัพธ์ของ CFD และหลักการกวาดผ่านเพื่อล้าง (Sweep-Through Purging) ก่อนจะนำไปใช้ในกระบวนการ CAP สุดท้าย การทดลองถูกดำเนินการเพื่อประเมินประสิทธิภาพของ CAP ในการควบคุมความเข้มข้นของ O₂ และกำจัดแมลงภายในไซโลจริง ผลการทดลองและข้อเสนอแนะจากเจ้าของยืนยันว่า การนำ ES ไปใช้มีประสิทธิภาพสูง จึงทำให้ CAP เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิผลและสามารถนำไปใช้ได้จริง ความแปลกใหม่ของงานวิจัยนี้อยู่ที่การใช้วิธีการ CFD ในการสร้างกลไกการวินิจฉัยและพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)

พริกสายพันธุ์ใหม่ต้านทานโรคแอนแทรกโนสและไวรัสใบหงิกเหลือง และเผ็ดสูง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

พริกสายพันธุ์ใหม่ต้านทานโรคแอนแทรกโนสและไวรัสใบหงิกเหลือง และเผ็ดสูง

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพริกพันธุ์การค้าของไทยให้ต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสและโรคไวรัสใบหงิกเหลือง เพื่อให้เกษตรได้ลดการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดโรคและแมลง และเป็นการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร โดยการพัฒนาพันธุ์พริกผ่านกระบวนการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างนักปรับปรุงพันธุ์รุ่นใหม่ ที่มีทั้งความรู้ด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้วิธีมาตรฐานร่วมกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และงานวิจัยนี้ยังได้เผยแพร่สายพันธู์เพื่อให้เกษตรกร และบริษัทเมล็ดนำไปต่อยอดใช้ในเชิงพานิชย์ และช่วยเสริมความเข้มแข็งให้กับธุรกิจเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทยได้