KMITL Innovation Expo 2025 Logo

โครงการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเครื่องขายของอัตโนมัติ

รายละเอียด

การออกแบบกราฟฟิกตู้ขายของอัตโนมัติ และพื้นที่โดยรอบขนาด 5*6 เมตร โดยนำแบรนด์สกินแคร์ INGU เป็นสินค้า

วัตถุประสงค์

เพื่อให้พัฒนาความเข้าใจ ความคิด การออกแบบ ให้สอดคล้องกับแบรนด์

นวัตกรรมอื่น ๆ

ผลิตภัณฑ์สารธรรมชาติกำจัดวัชพืชเพื่อทดแทนสารพาราควอต

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ผลิตภัณฑ์สารธรรมชาติกำจัดวัชพืชเพื่อทดแทนสารพาราควอต

ปัจจุบันการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในภาคเกษตรกรรมเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะสารพาราควอตซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชที่ถูกห้ามใช้ในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารธรรมชาติกำจัดวัชพืช ที่สามารถใช้ทดแทนสารเคมีเหล่านี้ได้ โดยทำการสกัดสารออกฤทธิ์จากพืชที่มีศักยภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช และทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่า สารธรรมชาติที่พัฒนาขึ้นสามารถควบคุมวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ได้ ช่วยลดการพึ่งพาสารเคมีที่เป็นอันตราย และส่งเสริมแนวทางการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญในการสนับสนุนการเกษตรที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาเส้นใยไผ่ตงผสมสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพื่อสิ่งแวดล้อม

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

การพัฒนาเส้นใยไผ่ตงผสมสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพื่อสิ่งแวดล้อม

การวิจัยนี้ยืนยันถึงศักยภาพของเส้นใยไผ่ตงในฐานะวัตถุดิบที่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรม สิ่งทอ โดยแสดงถึงคุณสมบัติเด่นที่ตอบโจทย์ทั้งในด้านการใช้งานและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งชี้ให้เห็นแนวทางการพัฒนาที่สามารถส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืนและตอบสนองความต้องการในตลาดที่เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยผสมผสานแนวคิดด้านความยั่งยืนเข้ากับนวัตกรรมวัสดุ การวิจัยครอบคลุมการวิเคราะห์คุณสมบัติเส้นใย การพัฒนากระบวนการผลิต และการออกแบบผลิตภัณฑ์ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาคุณสมบัติเส้นใยไผ่ตงสู่การผลิต 2)เพื่อศึกษาปัจจัยในการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยไผ่ตง 3)เพื่อคาดการณ์อนาคตภาพในการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยไผ่ตง ผลการวิจัยพบว่า ไผ่ตงอายุ 60 วันมีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดในการแยกเส้นใย โดยมีขนาดเส้นใยเฉลี่ย 5.32 μm ซึ่งเล็กกว่าเส้นใยธรรมชาติชนิดอื่น ส่งผลให้มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นและระบายอากาศได้ดี เมื่อนำมาปั่นผสมกับเส้นใยพอลิเอสเตอร์รีไซเคิลในสัดส่วน 30:70 จะได้เส้นด้ายที่มีความแข็งแรงและผิวสัมผัสที่มีเอกลักษณ์ แม้ว่าคุณสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus จะอยู่ในระดับต่ำ แต่เส้นใยมีความขาวสะอาดและอ่อนนุ่ม และจากการวิเคราะห์ปัจจัยในการออกแบบผลิตภัณฑ์พบองค์ประกอบสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ วัสดุท้องถิ่น (Local Materials) ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Products) สุขภาพ (Healthy) และความยั่งยืน (Sustainability) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก โดยสามารถอธิบายความพึงพอใจได้ร้อยละ 84.7 ทั้งนี้ กระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นช่วยลดการใช้สารเคมีและของเสียอันตราย อีกทั้งการใช้ไผ่ตงซึ่งเป็นพืชโตเร็วยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางอาชีพในชุมชนชนของประเทศไทย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาเส้นใยไผ่ตงผสมเส้นใยพอลิเอสเตอร์รีไซเคิลสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืน ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในด้านสุขภาพ การใช้วัสดุท้องถิ่น และการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สีเขียว อีกทั้งการนำเสนอผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต

ระบบให้บริการอ่านป้ายทะเบียนรถแบบอัตโนมัติ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ระบบให้บริการอ่านป้ายทะเบียนรถแบบอัตโนมัติ

โครงงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบอ่านป้ายทะเบียนรถยนต์แบบอัตโนมัติ ซึ่งรองรับทั้งป้ายทะเบียนรูปแบบปกติและพิเศษของประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยี Machine Learning เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านป้ายทะเบียน ระบบนี้สามารถรองรับข้อมูลได้ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนและชำระค่าบริการแบบ Subscription เพื่อนำส่งข้อมูลให้ระบบประมวลผลผ่าน RESTful API, WebSocket, และกล้อง IP ที่ลงทะเบียนกับระบบ