เตปาเช่เป็นเครื่องดื่มที่มีต้นกำเนิดจากเม็กซิโก ที่นิยมใช้เปลือกสับปะรดที่มีน้ำตาลธรรมชาติและเอนไซม์โบรมีเลนในการผลิต จึงทำให้เตปาเช่มีกลิ่นหอมและมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ โครงงานนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตเครื่องดื่มเตปาเช่เพื่อสุขภาพ โดยหมักเปลือกสับปะรดด้วยยีสต์และแบคทีเรียกรดแลคติกที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติก ร่วมกับการใช้พรีไบโอติกที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์โพรไบโอติก ได้แก่ อินูลิน และ ไซโลโอลิโกเซคคาไรด์ ทำให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มซินไบโอติกเตปาเช่ที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ลำไส้ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และเสริมภูมิต้านทานให้กับผู้บริโภค
เตปาเช่ (Tepache) เป็นเครื่องดื่มพื้นเมืองของเม็กซิโกที่ทำจากเปลือกสับปะรดร่วมกับน้ำตาลหรือเครื่องปรุงรสอื่นๆ เพื่อกระตุ้นการหมักซึ่งมักได้จากยีสต์และแบคทีเรียที่เกิดตามธรรมชาติในสับปะรด เตปาเช่ได้รับความนิยมมากในภูมิภาคละตินอเมริกาเพราะมีรสชาติเปรี้ยวอมหวานที่สดชื่น และเป็นที่รู้จักในฐานะเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากมีจุลินทรีย์ที่ส่งเสริมการย่อยอาหารคล้ายกับเครื่องดื่มประเภทโพรไบโอติกการนำเปลือกสับปะรด ซึ่งถือเป็นขยะอาหาร (food waste) มาใช้ในการผลิตเตปาเช่ มีความสำคัญอย่างมากในแง่ของการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเปลือกสับปะรดมีส่วนประกอบถึง 40% ของผลสับปะรด ซึ่งมักถูกทิ้งในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร การใช้เปลือกสับปะรดในกระบวนการหมักไม่เพียงแต่เพิ่มมูลค่าให้กับของเสียทางการเกษตรนี้เท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยลดของเสียและสร้างเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ปัจจุบันเตปาเช่ได้รับความสนใจจากการเป็นเครื่องดื่มที่ทำจากกระบวนการหมักแบบธรรมชาติ ซึ่งไม่เพียงแค่ให้ความสดชื่น แต่ยังมีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารและสุขภาพลำไส้ เนื่องจากมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และยีสต์ การบริโภคเตปาเช่จึงถือเป็นอีกหนึ่งวิธีในการส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่สนใจโพรไบโอติกจากแหล่งธรรมชาติ การศึกษาวิธีการผลิตและคุณภาพของเตปาเช่จึงมีความสำคัญ เพราะสามารถช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้ ทั้งในแง่ของการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร เช่น สับปะรดที่เหลือจากกระบวนการผลิตอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเตปาเช่ยังมีอย่างจำกัดทั้งทางด้านจุลชีววิทยา และกรรมวิธีการผลิตให้มีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องท้าทายในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีรสชาติและคุณภาพที่คงที่ นอกจากนี้การหมักแบบธรรมชาติมีปัจจัยหลากหลายที่ส่งผลต่อคุณภาพเครื่องดื่ม ทั้งอุณหภูมิ เวลา ความเข้มข้นของน้ำตาล และชนิดของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก การศึกษาและพัฒนาวิธีการผลิตที่ควบคุมคุณภาพได้จึงเป็นที่ต้องการ ดังนั้น การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตเตปาเช่ที่สามารถควบคุมคุณภาพได้ทั้งทางกายภาพ เคมี และประสาทสัมผัส รวมถึงการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีประโยชน์ในการผลิตจึงมีความสำคัญ ซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร เช่น การใช้สับปะรดที่เหลือจากการแปรรูปอื่น ๆ เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
คณะวิทยาศาสตร์
แบคเทอริโอซินเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพชนิดหนึ่งที่จุลินทรีย์เป็นคนผลิตออกมาซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคได้ จากงานวิจัยนี้นั้นได้มีการศึกษาความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคและระบุชนิดของแบคเทอริโอซินของแบคเรียกรดแลคติกสายพันธุ์ TKP1-5 ที่คัดแยกมาจากอุจจาระเป็ด ซึ่งมีการระบุลักษณะสปีชีส์ของสายพันธุ์ TKP1-5 โดยใช้การวิเคราะห์จากลำดับ 16s rRNA และลำดับจีโนมทั้งหมด พบว่าจากค่า ANIb, ANIm, และค่า dDDH พบว่าสายพันธุ์นี้คือ Lactococcus lactis อีกทั้งยังมีการทดสอบลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์นี้พบว่ามีความสามารถในการเจริญเติบโตใดในสภาวะแวดล้อมดังต่อไปนี้ สามารถโตได้ที่เปอร์เซ็นต์เกลือที่ 2-6% อุณหภูมิ 25-45 องศาเซลเซียส และพีเอช 3-9 ตามลำดับ โดยการศึกษาและระบุชนิดของแบคเทอริโอซินผ่านการวิเคราะห์ลำดับจีโนมนั้นพบว่าเป็นชนิด ไนซิน-ซี (Nisin-Z) ที่ค่าคะแนนเท่ากับ 114.775 รวมไปถึงการวิเคราะห์ความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคพบว่ามีความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคดังนี้ Pediococcus pentosaceus JCM5885, Listeria monocytogenes ATCC 19115, Enterococcus faecalis JCM 5803T, Salmonella Typhimurium ATCC 13311ᵀ, Aeromonas hydrophila B1 AhB1, Streptococcus agalactiae 1611 และ Streptococcus cowan I ตามลำดับ การวิเคราะห์ลำดับจีโนมทั้งหมดยังยืนยันได้อีกว่า L.lactis TKP 1-5 นี้ไม่พบยีนที่สามารถจะเป็นจุลชีพก่อโรค ยีนดื้อยา และพลาสมิด อีกด้วย อีกทั้งยังพบยีนที่มีความเกี่ยวข้องในการเป็นโพรไบโอติกหรือยีนที่ก่อให้เกิดประโยชน์อีกด้วย ทั้งนี้หวังว่าสายพันธุ์ TKP1-5จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่อุตสาหกรรมอาหารนั้นนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารในการต้านจุลชีพก่อโรคในอนาคต
คณะอุตสาหกรรมอาหาร
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตกรดแกมมา-อะมิโนบิวทิริก (GABA) ในน้ำสับปะรดหมักโดยใช้โพรไบโอติกและแบคทีเรียกรดอะซิติก (AAB) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการเพิ่มปริมาณ GABA กระบวนการนี้ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของน้ำหมักสับปะรด และช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตสับปะรดไทยที่มีราคาต่ำมาเป็นเวลานาน การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่การหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิต GABA โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณน้ำตาล ค่า pH ระยะเวลาการหมัก และความเข้มข้นของ L-glutamate รวมถึงการเพาะเลี้ยงร่วมกันระหว่างโพรไบโอติกและแบคทีเรียกรดอะซิติก การทดลองดำเนินการโดยใช้เทคนิคการหมักแบบควบคุม และวิเคราะห์องค์ประกอบทางชีวภาพของน้ำหมักโดยใช้เครื่องมือขั้นสูง เช่น HPLC และ GC-MS ผลการวิจัยคาดว่าจะนำไปสู่การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตเครื่องดื่มน้ำสับปะรดที่มีปริมาณ GABA สูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยลดความเครียด ส่งเสริมการทำงานของสมอง และเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารหมักในประเทศไทย
คณะวิศวกรรมศาสตร์
เนื่องจากสำนักงานดูแลกิจการโทรคมนาคม (ดท.) ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) มีหน้าที่กำกับดูแลและการควบคุมคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมตามมาตรฐานกฎหมาย จึงมีการตรวจสอบคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมเคลื่อนที่ส่งผลให้ต้องเก็บข้อมูลของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมจำนวนมหาศาล โดยโปรแกรม Microsoft Excel ซึ่งโปรแกรมหลักที่สำนักงานดูแลกิจการโทรคมนาคม (ดท.) ของสำนักงาน กสทช. ใช้ในการประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านมานั้นประมวลผลได้ช้า ทางผู้จัดพัฒนามีความเห็นว่าในปัจจุบันได้มีนวัตกรรมที่ดีกว่าในการใช้งานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ผู้พัฒนาเลือกใช้ Python Programing ในการประมวลผล วิเคราะห์ และจัดเตรียมข้อมูลต้นทางจากโปรแกรม Syberiz ของสำนักงาน กสทช. ในรูปของไฟล์ CSV จากนั้นนำไฟล์ที่ได้ไปทำการแสดงผลในรูปแบบของหน้าจอแสดงผล (Dashboard) ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนของ กราฟ รายงานผลการทดสอบการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อน และแผนที่ เป็นไปตามประกาศมาตรฐานคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมของสำนักงาน กสทช. ในการแสดงผลค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรม Power BI ในการออกแบบส่วนของการแสดงผล ส่งผลให้หน้าจอแสดงผล (Dashboard) ที่ได้นั้นมีความสวยงาม ง่ายต่อการใช้งาน และที่สำคัญคือความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่า Microsoft Excel โดยโครงงานได้ออกแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อใช้งานในส่วนของสำนักงานดูแลกิจการโทรคมนาคม (ดท.) ของสำนักงาน กสทช. เท่านั้น