หน่วยบริการวิชาการเฉพาะทางด้านการทดสอบสมรรถนะยานยนต์เชื้อเพลิงสะอาด มีการบริการทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม รวมถึงการเป็นต้นแบบของโครงการวิจัยด้านพลังงานเชื้อเพลิงสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเครื่องมือหลักในการทดสอบ คือ Chassis Dynamometer และ เครื่องวิเคราะห์ไอเสียจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ซึ่งทางหน่วยบริการฯ ได้เปิดบริการตรวจวัดและทดสอบตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2563 ให้กับยานยนต์ไฟฟ้าทุกรูปแบบ เช่น มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าดัดแปลง รถตุ๊กๆ ไฟฟ้าดัดแปลง และรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง เป็นต้น
เนื่องจากในปัจจุบันมีการเจริญเติบโตทางด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การขนส่ง และการคมนาคมเป็นอย่างมาก ทำให้มีการใช้รถยนต์สำหรับการคมนาคมและขนส่งอย่างมากมาย ทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์นั่งสาธารณะ เช่น รถแท็กซี่และรถตุ๊กๆนั่นเอง ซึ่งจากข้อมูลเมื่อปี 2556 ในกรุงเทพมหานคร มีรถแท็กซี่ประมาณ 120,000 คัน ในจำนวนนี้มีรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 108,616 คัน แต่มีรถแท็กซี่ที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพตัวรถตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด จำนวน 24,859 คัน หรือคิดเป็น 23 % ของจำนวนรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น ทั้งนี้ในอนาคตอันใกล้ กลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์นั่งสาธารณะเหล่านี้จะถูกผลักดันจากนโยบายสนับสนุนของรัฐบาลให้เปลี่ยนมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้าในจำนวนมาก เพื่อมาแทนยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันซึ่งจะเป็นแนวทางในการลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ และช่วยลดมลพิษไอเสียที่เกิดขึ้นมาจากเครื่องยนต์สันดาปภายในเหล่านั้น ที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดภาวะโลกร้อน (Global warming) โดยตรง ดังนั้นยานยนต์ไฟฟ้าปริมาณมากมายที่จะถูกนำมาใช้งานจริงบนท้องถนนต้องผ่านการตรวจสอบและทดสอบสมรรถนะอย่างถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานจากกรมการขนส่งทางบกโดยตรง หรือจากหน่วยบริการวิชาการเฉพาะทางด้านการทดสอบสมรรถนะยานยนต์เชื้อเพลิงสะอาดที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้แทนตรวจสภาพรถยนต์ไฟฟ้าได้ จึงเป็นมูลเหตุให้มีการจัดตั้งหน่วยบริการวิชาการเฉพาะทางด้านการทดสอบสมรรถนะยานยนต์เชื้อเพลิงสะอาดขึ้น เพื่อรองรับการการตรวจสอบและทดสอบสมรรถนะยานยนต์ไฟฟ้าตามเกณฑ์มาตรฐานจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งขณะนี้หน่วยบริการวิชาการเฉพาะทางด้านของเราได้มีความร่วมมือจากคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติและหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาค 5, บริษัท ไทยคิงมอเตอร์ อินโนเวชั่น จำกัด, บริษัท เอ็ส บี เอ็ม เอ็นจิเนี่ยริ่ง จำกัด, บริษัท ช่วยราม เอ็นจิเนี่ยริ่ง จำกัด และสมาคมการค้ารถสามล้อส่วนบุคคล และมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการตรวจสอบและทดสอบสมรรถนะยานยนต์ไฟฟ้า เช่น บริการทดสอบประสิทธิภาพกำลังงาน ประสิทธิภาพการเผาไหม้และค่าไอเสียของรถยนต์สันดาปภายใน รถยนต์นั่งสาธารณะ(รถแท็กซี่)ในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในเขตลาดกระบัง นอกจากนี้ยังจะเป็นการบูรณาการการศึกษาสำหรับการเรียนการสอนในรายวิชา 05106335 หน่วยปฏิบัติการทางอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ที่มีสาระสำคัญมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้การถ่ายโอนโมเมนตัม การไหลของอากาศ การดุลมวล โมเมนตัมและพลังงาน รายวิชาด้าน Software and Automotive Engineering ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยนานาชาติ ได้เข้าเรียนรู้ และฝึกงานที่หน่วยบริการวิชาการเฉพาะทางด้านการทดสอบสมรรถนะยานยนต์เชื้อเพลิงสะอาด เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะออกไปทำงานจริง ดังนั้น การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในรายวิชาที่กำลังศึกษาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเป็นวิกฤตระดับโลก เนื่องจากปริมาณน้ำจืดที่สามารถใช้ในการอุปโภคได้มีจำกัด ขณะที่ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแยกเกลือออกจากน้ำทะเลเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวต้องใช้พลังงานสูงและพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลให้ต้นทุนสูงและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักคือเพื่อศึกษาการใช้พลังงานความร้อนจากตัวเก็บพลังงานแสงอาทิตย์แบบท่อสุญญากาศในการผลิตน้ำจืด โดยใช้กระบวนการระเหยและควบแน่นเพื่อนำน้ำบริสุทธิ์ออกจากสารละลายปนเปื้อน การศึกษานี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบโดยเปรียบเทียบปริมาณน้ำจืดที่ผลิตได้กับพลังงานที่ใช้ ผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้อาจนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ำจืดที่มีความยั่งยืนและเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีทรัพยากรน้ำจืดจำกัด
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ถังบรรจุก๊าซความดันสูงที่ผลิตจากวัสดุประกอบ ได้แก่ คาร์บอนไฟเบอร์ เรซิน และพลาสติก ถูกออกแบบสำหรับบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) หรือไฮโดรเจน ซึ่งถูกเรียกว่าถังความดันสูง แบบที่4 โดยในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบให้รองรับการใช้งานที่ความดัน 250 บาร์ สำหรับการขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุดมุ่งหมายของการประดิษฐ์นี้ เพื่อพัฒนาสารป้องกันการเกิดไฟป่าให้มีความสามารถในการป้องกันการเกิดไฟป่าระยะยาว มิใช่เพียงการใช้ระงับไฟป่า หรือป้องกันไม่ให้ไฟป่านั้นแพร่กระจายเป็นวงกว้าง แต่มุ่งเน้นที่การป้องกันไม่ให้เกิดการติดไฟตั้งแต่เริ่มต้น สามารถป้องกันการเกิดไฟป่าได้อย่างครอบคลุม สามารถป้องกันได้ยาวนานตลอดช่วงระยะเวลาที่เกิดไฟป่าสูงสุดหรือช่วงเข้าสู่ฤดูแล้ง นับเป็นระยะเวลาประมาณ 3 - 4 เดือน โดยหลังจากการที่มีการผลสารกันไฟป่าจะไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำ ไม่มีสารตกค้างหรือตกค้างน้อยที่สุดโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบภายใต้มาตรฐานที่มีการระบุไว้ เน้นการใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ และเคมีภัณฑ์ที่สามารถหาได้ง่ายในประเทศไทย รวมไปถึงการใช้มูลค่าต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งทำให้เหมาะสมต่อการใช้งานในปริมาณมากสำหรับการฉีดพ่นป้องกันพื้นที่ป่าไม้บริเวณพื้นที่ป่าที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย จากค่าเฉลี่ยโดยประมาณสำหรับมลพิษที่เกิดในรหว่างการเกิดไฟป่า ได้แก่ ฝุ่นละออง (PM) ประกอบด้วย PM2.5 PM10, คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO), คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx), สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เป็นต้น