KMITL Innovation Expo 2025 Logo

แปรงสีฟันที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล พร้อมหัวแปรงที่สามารถถอดเปลี่ยนได้

รายละเอียด

BrushXchange เป็นแบรนด์แปรงสีฟันที่มุ่งเน้นการลดปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย ผ่านการนำเสนอแปรงสีฟันที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล พร้อมหัวแปรงที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ เพื่อช่วยลดการสร้างขยะจากแปรงสีฟันแบบดั้งเดิม การออกแบบที่ทันสมัยและใช้งานง่าย เน้นความทนทาน ความสะดวกสบาย และความคุ้มค่า เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แบรนด์มีเป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมดูแลช่องปาก โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในราคาที่เข้าถึงได้ การตลาดเน้นการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Instagram และ TikTok รวมถึงความร่วมมือกับองค์กรที่สนับสนุนแนวคิดความยั่งยืน และการจัดจำหน่ายผ่านร้านค้าปลีก เช่น Lotus’s และ Tops BrushXchange ยังเน้นการสร้างภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยบรรจุภัณฑ์กระดาษรีไซเคิลและการจัดกิจกรรมรณรงค์ความยั่งยืน เป้าหมายระยะยาวของแบรนด์คือการเป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในตลาดแปรงสีฟันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนในสังคม

วัตถุประสงค์

1.ปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย ประเทศไทยมีการผลิตขยะรวม 27.8 ล้านตันต่อปี โดยขยะพลาสติกคิดเป็น 12-13% ของปริมาณขยะทั้งหมด โดยขยะพลาสติกจากแปรงสีฟันที่ใช้แล้วทิ้งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้น ด้วยจำนวนประชากรไทยกว่า 66 ล้านคน มีความเป็นไปได้ที่จะมีแปรงสีฟันที่ถูกทิ้งปีละประมาณ 66 ล้านชิ้น 2.มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะพลาสติกในชุมชนและสังคม 3.เราต้องการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยยังคงคุณภาพ ทนทาน และใช้งานได้สะดวก

นวัตกรรมอื่น ๆ

แนวทางการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับสถานีรถไฟความเร็วสูง

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

แนวทางการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับสถานีรถไฟความเร็วสูง

งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับสถานีรถไฟความเร็วสูง โดยแบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 4 ขั้นตอน 1) การสำรวจและวิเคราะห์อัตลักษณ์บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน 2) การเปรียบเทียบการรับรู้สภาพแวดล้อมของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามชุดที่ 1 จากผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) รถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน (MRT BL) รถไฟฟ้าแอร์พอตเรียลลิ้งค์ (APL) หรือ AERA1 และ รถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วง(MRT PPL) จำนวน 800 คน 3) การสำรวจ และวิเคราะห์การรับรู้อัตลักษณ์บริเวณสถานีของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน (MRT BL) โดยใช้แบบสอบถามชุดที่ 2 จากผู้ใช้บริการ จำนวน 800 คน สถานีวัดมังกร สามยอด สนามไชย และอิสรภาพ 4) การศึกษาและสำรวจสภาพแวดล้อมรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย จากนั้นนำผลการศึกษาที่ได้มาสังเคราะห์แนวทางการออกแบบอัตลักษณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อการสรุปผลกรอบแนวคิดการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับสถานีรถไฟความเร็วสูง ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน สถานีเป็นองค์ประกอบหนึ่งจากสถาปัตยกรรมด้านประวัติศาสตร์ที่มีความสอดคล้องกับสถานที่ สังคม วิถีชีวิต รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญใกล้สถานี สภาพแวดล้อมภายนอกสถานีมีผลต่อการรับรู้ของผู้ใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ อาคารภายนอก จุดเชื่อมต่อของระบบขนส่งสาธารณะใกล้เคียง และประตูทางเข้าออกสถานี โดยแนวทางการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับสถานีรถไฟความเร็วสูง สามารถสรุปอัตลักษณ์ในการออกแบบได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1) อัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม 2) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม 3) อัตลักษณ์จากการ์ตูน และ 4) อัตลักษณ์ทางด้านศิลปะและงานออกแบบ

Hacking the Show: QoP and Log Data Analyses of Interactive Concert Experiences

วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต

Hacking the Show: QoP and Log Data Analyses of Interactive Concert Experiences

-

ต้นแบบระบบเว็บแอปพลิเคชันสำหรับระบุและตรวจนับจำนวนชนิดเครื่องมือทันตกรรมหัตถการด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ต้นแบบระบบเว็บแอปพลิเคชันสำหรับระบุและตรวจนับจำนวนชนิดเครื่องมือทันตกรรมหัตถการด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก

โครงงานนี้จึงได้พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับระบุชนิดเครื่องมือทันตกรรมหัตถการเพื่อตรวจนับจำนวนด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก โดยเป็นการตรวจนับความครบถ้วนของอุปกรณ์ที่นำไปใช้ มีใช้วิธีการตรวจจับวัตถุ(Object Detection) ซึ่งการตรวจจับวัตถุช่วยให้สามารถตรวจจับอุปกรณ์ทันตกรรหัตถการทั้งหมดหลังจากการใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ อีกทั้งสามารถตรวจนับเครื่องมือต่างๆได้พร้อมกันหลายๆภาพเพื่อช่วยลดเวลาและความล่าช้าในกระบวนการตรวจสอบและนับจำนวนเครื่องมือทั้งหมด รวมถึงข้อมูลจำนวนและชนิดของอุปกรณ์ สามารถส่งออกไปยังฐานข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้อีกด้วย