KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ระบบขับเคลื่อนต่อพ่วงอุปกรณ์ทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี RFID

ระบบขับเคลื่อนต่อพ่วงอุปกรณ์ทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี RFID

รายละเอียด

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบขับเคลื่อนต่อพ่วงอุปกรณ์การเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี RFID พร้อมทั้งศึกษาประสิทธิภาพการเคลื่อนที่บนพื้นผิวที่แตกต่างกัน ได้แก่ พื้นปูนคอนกรีตและพื้นสนามหญ้า การทดลองมุ่งเน้นการตรวจสอบระยะการอ่านค่าแท็ก (Tag) ภายใต้ระดับกำลังส่ง 20 dBm, 23 dBm และ 26 dBm รวมถึงผลกระทบของมุมเสาอากาศต่อประสิทธิภาพการตรวจจับ นอกจากนี้ ระบบถูกทดสอบในเส้นทางตรง เลี้ยวซ้าย และเลี้ยวขวา ที่ระยะ 2 เมตร, 4 เมตร และ 6 เมตร ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนที่ในเส้นทางตรงบนพื้นปูนคอนกรีตที่ระยะ 4 เมตรให้ค่าความเร็วเฉลี่ยสูงสุดที่ 0.4736 m/s และมุมองศาเฉลี่ย 91.6° ขณะที่พื้นสนามหญ้าให้ค่าความเร็วเฉลี่ย 0.4483 m/s และมุมองศาเฉลี่ย 91.1° ในกรณีของเส้นทางเลี้ยวซ้ายและเลี้ยวขวา พบว่าการเคลื่อนที่บนพื้นปูนคอนกรีตมีค่าความเร็วเฉลี่ยสูงกว่าพื้นสนามหญ้า โดยเฉพาะที่ระยะ 4 เมตรซึ่งพบค่ามุมองศาที่แตกต่างกัน การศึกษานี้ช่วยให้เข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของรถขับเคลื่อนและเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต

วัตถุประสงค์

ปัจจุบัน เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรมและแอปพลิเคชันที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีนี้ใช้คลื่นวิทยุในการระบุวัตถุที่ติดแท็กโดยไม่จำเป็นต้องมองเห็นหรือสัมผัสโดยตรง ทำให้การติดตามและระบุตำแหน่งมีความแม่นยำ คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น ภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร ในภาคการเกษตร การใช้ RFID มีข้อดีหลายประการ เช่น ความสามารถในการทำงานกลางแจ้งโดยไม่ต้องพึ่งพาเซ็นเซอร์ราคาแพงหรือระบบสะท้อนสัญญาณที่ซับซ้อน ซึ่งช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความแม่นยำในการควบคุมอุปกรณ์ทางการเกษตร งานวิจัยนี้มุ่งเน้น การออกแบบและพัฒนาระบบขับเคลื่อนต่อพ่วงอุปกรณ์ทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี RFID เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่ของระบบบนพื้นผิวที่แตกต่างกัน ได้แก่ พื้นปูนคอนกรีตและสนามหญ้า โดยมีการติดตั้งแท็ก RFID บนเสาของแต่ละแถวเพื่อช่วยระบุตำแหน่งและทิศทางการเคลื่อนที่ของระบบ ผลการศึกษานี้จะช่วยให้เข้าใจข้อดีและข้อจำกัดของการใช้ RFID ในภาคการเกษตร ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุนในอนาคต

นวัตกรรมอื่น ๆ

พริกสายพันธุ์ใหม่ต้านทานโรคแอนแทรกโนสและไวรัสใบหงิกเหลือง และเผ็ดสูง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

พริกสายพันธุ์ใหม่ต้านทานโรคแอนแทรกโนสและไวรัสใบหงิกเหลือง และเผ็ดสูง

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพริกพันธุ์การค้าของไทยให้ต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสและโรคไวรัสใบหงิกเหลือง เพื่อให้เกษตรได้ลดการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดโรคและแมลง และเป็นการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร โดยการพัฒนาพันธุ์พริกผ่านกระบวนการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างนักปรับปรุงพันธุ์รุ่นใหม่ ที่มีทั้งความรู้ด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้วิธีมาตรฐานร่วมกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และงานวิจัยนี้ยังได้เผยแพร่สายพันธู์เพื่อให้เกษตรกร และบริษัทเมล็ดนำไปต่อยอดใช้ในเชิงพานิชย์ และช่วยเสริมความเข้มแข็งให้กับธุรกิจเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทยได้

การเพิ่มคุณภาพและมูลค่าของมะม่วง กรณีศึกษา มะม่วงมหาชนก

วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ

การเพิ่มคุณภาพและมูลค่าของมะม่วง กรณีศึกษา มะม่วงมหาชนก

ปัญหาด้านการตกต่ำด้านราคาของผลผลิตผลไม้ประเภทมะม่วงเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมะม่วงพันธุ์มหาชนกที่มีการเติบโตในการส่งออกอย่างมากเมื่อเทียบกับมะม่วงสายพันธุ์อื่น เนื่องจากเป็นมะม่วงที่มีสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอม ปัญหาการตกต่ำด้านราคาเกิดจากมีผลผลิตที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพการส่งออกทำให้เกิดผลผลิตที่ไม่ผ่านคุณภาพนำกลับมาขายในประเทศในราคาถูก บางกรณีเกษตรกรจำเป็นต้องละทิ้งผลผลิตดังกล่าว จากปัญหาที่เกิดขึ้นจึงมีแนวคิดนำมะม่วงดังกล่าวมาสกัดสารหอมระเหยจากเปลือกของมะม่วงเพื่อจะคงสภาพสารระเหยและนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้านกลิ่นรวมทั้งการศึกษาปัจจัยทางแสงที่ส่งผลต่อการแสดงสีผิวเปลือกเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงสีบนผิวเปลือกผลไม้ให้มีความโดดเด่นจากธรรมชาติความสวยงามของผลมะม่วงที่มีสีสม่ำเสมอด้วยปัจจัยทางแสงที่มีความยาวคลื่นและพลังงานที่แตกต่างกัน โดยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงเปลือกนอกเมื่อได้รับแสงโดยไม่ได้เกิดจากการสุกของผลมะม่วง องความรู้ที่ได้สามารถต่อยอดไปสู่การสร้างระบบนวัตกรรมต้นแบบ และสามารถนำเสนอนวัตกรรมที่ได้ต่อยอดสู่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่สนใจและเพื่อประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ ต่อไป

หุ่นจำลองเด็กอัจฉริยะสำหรับฝึกการกู้ชีพ (หุ่นเด็ก CPR)

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

หุ่นจำลองเด็กอัจฉริยะสำหรับฝึกการกู้ชีพ (หุ่นเด็ก CPR)

หุ่นจำลองเด็กสำหรับใช้ฝึกการกู้ชีพ (CPR) ภายในตัวหุ่นมีกลไกหลอดลม กลไกคอ กลไกปอด กลไกการปั้มหัวใจ ผิวหนังเทียม และระบบเซนเซอร์ ทั้งหมดทำงานร่วมกันทำหน้าที่คล้ายเด็กจริง สามารถใช้ฝึกการปั้มหัวใจ และการผายปอดได้ โดยหุ่นได้รับการออกแบบและตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญการกู้ชีพ มีระบบประเมินความถูกต้องของการฝึกพร้อมแสดงผลในคอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสอบแบบทันที