โครงงานเรื่องเกษตรกิจ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการที่สังคมในปัจจุบัน เรื่องของธุรกิจ และเทคโนโลยีมีการเติบโตและผสานเข้าด้วยกันมากยิ่งขึ้น ทำให้เรื่องของเศรษฐศาสต์เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น ดังนั้นแล้วการเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่การเรียนรู้ผ่านหนังสือ หรือตำราต่างๆ เป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจน้อยลง ทางผู้พัฒนาจึงมองหาหนทางใหม่ๆ ในการสร้างสื่อการเรียนรู้ ที่ไม่ได้มอบเพียงแค่ความรู้ แต่ยังคงมอบความเพลิดเพลินให้กับผู้เล่นด้วย จึงเกิดความคิดริเริ่มในการสร้างเกมเกษตรกิจขึ้นมา โดยภายในเกมผู้เล่นจะได้รับบทเป็นเกษตรกรที่ต้องบริหารฟาร์ม ซึ่งผู้เล่นจะต้องปลูกพืชในฟาร์มของตนเองให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และนำไปขายในตลาด โดยผู้เล่นจะต้องตัดสินใจเลือกประเภทของผลผลิต ปริมาณของผลผลิต รวมถึงราคาขายที่ผู้เล่นต้องการ ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณที่ขายได้ และกำไรที่จะได้รับ โดยเป้าหมายของเกม คือ การที่ผู้เล่นจะต้องสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการใช้หนี้ในแต่ละฤดูกาล ซึ่งผู้เล่นจะได้เรียนรู้หลักเศรษฐศาสตร์ผ่านการจำลองสถานการณ์ต่างๆ ภายในเกม อีกทั้งยังต้องอาศัยทักษะในการวางแผน และการตัดสินใจที่รอบคอบ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
การทำความเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่ อุปสงค์ (Demand) อุปทาน (Supply) และกลยุทธ์การตั้งราคา มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่วัยรุ่นเริ่มหันมาสนใจการทำธุรกิจส่วนตัวมากขึ้น รวมถึงการที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้ผู้คนสามารถเข้าถึงสินค้าในหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ดังนั้นแล้วการเรียนรู้หลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน จะมีผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ทำให้สามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างรอบคอบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงยังส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินในชีวิตประจำวัน ทำให้สามารถวิเคราะห์ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาด แต่การเรียนรู้ผ่านการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจน้อยลง ทางผู้พัฒนาจึงได้หยิบยกประเด็นความรู้นี้มานำเสนอผ่านรูปแบบเกม เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นสามารถเข้าถึงการเล่นเกมได้ง่ายกว่าการอ่านหนังสือ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์ที่ได้กล่าวไปข้างต้น พร้อมทั้งสร้างความเพลิดเพลินในเวลาเดียวกัน โดยภายในเกมผู้เล่นจะได้รับบทเป็นเกษตรกรที่ต้องบริหารฟาร์ม เพื่อนำผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จากฟาร์มไปขาย เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ในแต่ละเดือน ในส่วนของฟาร์มผู้เล่นจะได้เพลิดเพลินไปกับความวุ่นวายกับการตอบสนองความต้องการของพืชที่จะคอยเรียกร้องอยู่ตลอดเวลา เมื่อผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวได้ ผู้เล่นจะต้องนำผลผลิตไปขายในตลาด พร้อมทั้งตัดสินใจเลือกปริมาณ และราคาขาย ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณกำไรที่จะได้รับเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ผู้เล่นจะได้เรียนรู้หลักเศรษฐศาสตร์ผ่านผลตอบรับต่างๆ ได้แก่ ปริมาณผลผลิตที่ขายได้ ผลตอบรับจากผู้บริโภค รวมไปถึงคะแนนความพึงพอใจที่ผู้บริโภคโหวตให้ร้านค้า ซึ่งได้รับจากการสรุปผลการขาย รวมถึงคำแนะนำต่างๆ ที่เกมมอบให้ตามสถานการณ์ของตลาดที่เปลี่ยนไป ผู้เล่นจะต้องอาศัยข้อมูลในเกม ประกอบกับการวางแผน และการตัดสินใจที่รอบคอบเพื่อให้สามารถทำยอดรายได้ให้บรรลุตามเป้าหมายหนี้ในแต่ละเดือน ตัวเกมเกษตรกิจจะถูกสร้างขึ้นมาในรูปแบบผู้เล่นคนเดียว (Single player) และทำงานบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows)
คณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงงานนี้นำเสนอระบบคีออสก์แบบอินเทอร์แอคทีฟที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา บุคลากร และผู้มาเยี่ยมชมภายในมหาวิทยาลัย คีออสก์มีการนำเสนอกิจกรรมแบบเรียลไทม์ ข่าวสาร และการเข้าถึงเอกสารของมหาวิทยาลัยผ่านคิวอาร์โคดหรืออีเมล ระบบได้รวมฟังก์ชันแผนที่สามมิติของคณะวิศวกรรมศาสตร์พร้อมระบบนำทาง ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาห้องเรียน สำนักงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีระบบจองห้อง ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจองพื้นที่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และเช็คอินผ่านการสแกนคิวอาร์โคดที่คีออสก์ จากการผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบเมืองอัจฉริยะ ส่งผลให้ระบบนี้เพิ่มขีดความสามารถและการเข้าถึง การจัดการพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย เพิ่มพูนประสบการณ์ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยี่ยมชม
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
การศึกษานี้มุ่งเน้นการออกแบบ การผลิต และการติดตั้งแนวปะการังเทียมแบบแยกส่วนที่พิมพ์ด้วยเทคโนโลยี 3 มิติ (3DMARs) บริเวณเกาะไข่ จังหวัดชุมพร ประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคิดการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ร่วมมือกับบริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง งานวิจัยนี้กำหนดเกณฑ์การออกแบบและวิธีการติดตั้งโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิจัยเชิงคุณภาพ หลักการสำคัญที่ระบุได้ ได้แก่ ความเป็นโมดูลาร์ (Modularity), ความยืดหยุ่น (Flexibility), ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) และการใช้งานได้จริง (Usability) โดยใช้แนวทางที่มุ่งเน้นผู้ใช้งานเพื่อให้แนวปะการังเทียมสามารถขนส่งและติดตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและการปฏิบัติที่ยั่งยืน การออกแบบแบบโมดูลาร์ช่วยให้สามารถขยายขนาดได้ง่าย ส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและการตั้งถิ่นฐานของตัวอ่อนปะการัง นอกจากนี้ เทคนิคการติดตามผลใต้น้ำยังช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะพื้นที่ ซึ่งนำไปสู่การสร้างแบบจำลองดิจิทัลทวิน (Digital Twin) งานวิจัยนี้นำเสนอกรอบแนวทางปฏิบัติสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล และช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับชุมชนชายฝั่งในประเทศไทยและในระดับสากล
คณะบริหารธุรกิจ
ในโลกที่ให้ความสําคัญกับความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น DreamHigh เป็นผู้บุกเบิกแนวทางที่เป็นนวัตกรรมในการแก้ปัญหาบรรจุภัณฑ์โดยใช้ไมซีเลียม ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และทดแทนได้จากเชื้อรา ภารกิจของเราคือการปฏิวัติอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โดยนําเสนอทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่เพียงแต่ลดขยะเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับความพยายามระดับโลกในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย บรรจุภัณฑ์ไมซีเลียมเสนอทางเลือกที่น่าสนใจสําหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกและสไตโรโฟมแบบดั้งเดิม ซึ่งมีส่วนสําคัญต่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพอย่างสมบูรณ์ ย่อยสลายได้ และสามารถย่อยสลายได้ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติภายในไม่กี่สัปดาห์ โดยไม่ทิ้งสารพิษตกค้างไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไมซีเลียมมีน้ําหนักเบา ทนทาน และปรับแต่งได้ ทําให้เหมาะสําหรับการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคไปจนถึงวัสดุป้องกันการจัดส่ง แผนธุรกิจของ DreamHigh ได้สรุปกระบวนการผลิตที่ปรับขนาดได้โดยใช้เทคนิคการเพาะปลูกไมซีเลียมขั้นสูงและความร่วมมือกับภาคเกษตรกรรมในท้องถิ่นเพื่อใช้ของเสียทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบหลัก สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพด้านต้นทุนเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการนําของเสียที่จะถูกทิ้งไปใช้ประโยชน์ใหม่