KMITL Innovation Expo 2025 Logo

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย

รายละเอียด

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 20 คน ปีการศึกษา 2567 เพื่อเป็นสื่อสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองและเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ จะมีเนื้อหาการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย แบบฝึกทักษะการเรียนรู้และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งยังมีการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนได้ด้วยตนเอง เพื่อทำให้ผู้เรียนมีความสนใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น โดยมีสมมุติฐานการวิจัยว่า บทเรียนนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ไม่ต่ำกว่า 80/80 เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัยเน้นการพัฒนาทางด้านความรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 71.50/89.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียน

วัตถุประสงค์

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งด้านการศึกษาที่จะนำเอาเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนามนุษย์ให้มีการเรียนที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 หรือ 21st Century Skill และเนื่องจาก ‘ทักษะ’ ไม่ได้เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นมาได้โดยง่ายเพียงแค่การนั่งฟังครูหรืออาจารย์สอนแบบบรรยายภายในห้องเพียงอย่างเดียวเท่านั้น การฝึกฝน ลงมือปฏิบัติและการค้นคว้าหาความรู้เพื่อทบทวนบทเรียนถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้มนุษย์มีทักษะเพิ่มมากขึ้น การรับเปลี่ยนรูปแบบของสื่อการสอนจากรูปแบบเดิมที่เน้นการบรรยายเนื้อหาเป็นหลักจึงถูกพัฒนาเป็นสื่อการสอนรูปบแบบดิจิตอล ซึ่งสื่อดิจิตอลนี้จำเป็นต้องประกอบด้วยบทบาทของครูผู้สอนและรูปแบบของการเรียนรู้ในห้องเรียนเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ไปสู่ตัวผู้เรียนได้ง่ายและรวดเร็ว บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถนำเสนอได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ กราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯ เป็นโปรแกรมเพื่อการจัดการเรียนการสอนโดยให้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ไปสู่ผู้เรียน ความสำคัญของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นเน้นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนด้วยเทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟฟิกต่าง ๆ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว สามารถให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบกับบทเรียนและได้รับแรงเสริมจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับในทันที ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจของตนเอง อีกทั้งยังเป็นตัวส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในตนเอง ควบคุมการเรียน แก้ไขปัญหาและฝึกคิดอย่างมีเหตุผล รายวิชาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 รหัสวิชา 03456106 ภาคเรียนที่ 2 สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีสาขาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลดกระบัง เป็นเรื่องของการออกแบบบ้านพักอาศัย ซึ่งบ้านพักอาศัยนั้นถือเป็นหนึ่งในปัจจัยทั้ง 4 ในการดำรง ชีพ หนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญของบ้านพักอาศัยคือห้องครัว ซึ่งห้องครัวถือเป็นส่วนสำคัญถัดจากห้องรับแขกและห้องรับประทานอาหาร การออกแบบห้องครัวจึงมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อออกแบบให้ ตอบสนองต่อพฤติกรรมและความต้องการของมนุษย์ให้ได้มากที่สุดโดยคำนึงถึงความสะอาดและความปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่งการที่ผู้เรียนจะสามารถออกแบบได้มีความจำเป็นต้องเข้าใจถึงหลักการและทฤษฎีในการออกแบบห้องครัวอย่างละเอียด จากเหตุผลข้างต้นผู้วิจัยจึงได้คิดวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเกิดความเข้าใจ ในเนื้อหาให้ได้เร็วและง่ายที่สุด โดยการจัดทำรูปแบบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย เพื่อผู้เรียนสามารถเรียนรู้โต้ตอบทบทวนบทเรียน สามารถประเมินผลการเรียนจากบทเรียนได้ด้วยตนเอง สามรถควบคุมเวลาในการเรียนของตนเองได้ และสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากในห้องเรียนได้อีกด้วย ถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นวัตกรรมอื่น ๆ

การห่อหุ้มร่วมระหว่างวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นที่ส่งผลต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพการกักเก็บ : ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การห่อหุ้มร่วมระหว่างวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นที่ส่งผลต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพการกักเก็บ : ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการห่อหุ้มร่วม (Co-encapsulation) ของวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นภายในลิโปโซม เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและประสิทธิภาพการกักเก็บของสารสำคัญ รวมถึงศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการปลดปล่อยในสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร โดยทำการเตรียมลิโปโซมด้วยวิธี High-Speed Homogenization Method และวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ขนาดอนุภาค ศักย์ไฟฟ้า การกักเก็บสารสำคัญ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระผ่าน DPPH, ABTS และ FRAP assay ผลการศึกษาพบว่าการห่อหุ้มร่วมสามารถเพิ่มความเสถียรของวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการห่อหุ้มเดี่ยว โดยมีค่าประสิทธิภาพการกักเก็บสูง และสามารถรักษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี นอกจากนี้ ลิโปโซมที่เตรียมขึ้นยังแสดงประสิทธิภาพการปลดปล่อยที่เหมาะสมในสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคนิค Co-encapsulation ในการเพิ่มประสิทธิภาพของสารอาหารเชิงหน้าที่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพได้

การเปรียบเทียบรูปแบบโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพิทูเนียกระถาง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การเปรียบเทียบรูปแบบโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพิทูเนียกระถาง

การวิจัยนี้มีวัตถุเพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโรงเรือนพรางแสงและโรงเรือนอีแวปสำหรับการ ผลิตพิทูเนียกระถางที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต การออกดอกและประสิทธิภาพการสังเคราะห์ ด้วยแสงของพิทูเนีย โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มประชากรดังนี้ 1) โรงเรือนอีแวป (evaporative cooling house) 2) โรงเรือนพรางแสง (shade net house) โดยแต่ละกลุ่มใช้พิทูเนียจำนวน 50 กระถางในการบันทึกผล ผลการทดลองพบว่า การปลูกพิทูเนียในโรงเรือนอีแวปส่งผลให้ลำต้นมี ความสูงมากที่สุด ดอกมีขนาดใหญ่และบานได้นานกว่า แต่การปลูกในโรงเรือนพรางแสงส่งผลให้ พิทูเนียแทงตาดอก ออกดอกได้เร็วกว่า รวมถึงดอกมีสีเข้มกว่า และมีจำนวนดอกใหม่ต่อต้น มากกว่าเท่าตัวหลังการย้ายปลูก 21 วัน ในส่วนของประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงในรอบวันหลัง การย้ายปลูก 30 วัน พบว่าในช่วงเวลา 12.00 น. ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสุทธิทั้ง 2 โรงเรือนสูงสุด และทำให้ค่าการนำไฟฟ้าของปากใบและอัตราการคายน้ำเพิ่มขึ้นสูงสุดในโรงเรือน อีแวป หลังการย้ายปลูก 60 วัน พบว่าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสุทธิ ค่าการนำไฟฟ้าของปาก ใบและค่าการคายน้ำมีค่าสูงสุดในโรงเรือนพรางแสงในช่วงเวลา 10.00 น. ส่วนการสังเคราะห์ด้วย แสงในความเข้มแสงที่แตกต่างกัน หลังการย้ายปลูก 30 วัน พบว่าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง สุทธิ ค่าการนำไฟฟ้าปากใบและอัตราการคายน้ำสูงสุดเมื่อให้ความเข้มแสงที่ 2000 µmol m-2 s-1 โดยมีค่าสูงสุดในโรงเรือนพรางแสง หลังการย้ายปลูก 60 วัน อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสุทธิ สูงสุดเมื่อให้ความเข้มแสงที่ 1400 µmol m-2 s-1 โดยมีค่าสูงสุดในโรงเรือนพรางแสง จากการศึกษา จึงสรุปผลได้ว่า การปลูกพิทูเนียในโรงเรือนพรางแสง เหมาะสมสำหรับการผลิตพิทูเนียกระถาง และมีประสิทธิภาพการสังเคราะห์ด้วยแสงของพิทูเนียมากกว่าการปลูกพิทูเนียในโรงเรือนอีแวป

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และสมบัติการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียแลคติก

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และสมบัติการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียแลคติก

งานวิจัยนี้ทำการแยกและเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียแลคติกที่แยกได้จากอาหารหมักจำนวน 4 สายพันธุ์โดยศึกษาฤทธิ์การต้านเชื้อจุลินทรีย์ของเชื้อแบคทีเรียแลคติก โดยใช้วิธี agar spot และ ศึกษาสมบัติการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียแลคติก โดยใช้วิธี agar overlay diffusion method ผลการทดลองพบว่าแบคทีเรียแลคติกแต่ละสายพันธุ์มีฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร และสมบัติการดื้อยาปฏิชีวนะที่ระดับแตกต่างกัน ซึ่งเป็นสมบัติด้านความปลอดภัยของจุลินทรีย์โพรไบโอติก