กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การตรวจจับความผิดปกติสำหรับการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์บนสายพานลำเลียง

Anomaly Detection for Quality Inspection of Products in Conveyor Belt

@คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

#Cluster 2024
#Industry 4.0
การตรวจจับความผิดปกติสำหรับการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์บนสายพานลำเลียง

รายละเอียด

ในปัจจุบันนี้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบสายพานลำเลียง พบปัญหาหลายอย่างที่ต้องการการแก้ไขเพื่อให้การผลิตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพสูงขึ้น ปัญหาหนึ่งคือการตรวจสอบคุณภาพสินค้าบนสายพานว่ามีความสมบูรณ์และถูกต้องตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนดหรือไม่ และ ปัญหาอีกอย่างคือการควบคุมระยะเวลาในการผลิตให้เหมาะสมกับปริมาณสินค้าที่ต้องการผลิตในแต่ละช่วงเวลา   นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางด้านแรงงาน และ ความสะอาดที่ส่งผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งทำให้บางจุดของสายพานลำเลียงที่ใช้ในการผลิตไม่สามารถใช้แรงงานในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้ อันเนื่องมาจากการจำกัดการปนเปื้อนที่มาจากมนุษย์ในกระบวนการผลิต เช่น สินค้าด้านอาหารที่ต้องการลดการปนเปื้อนในระบบสายพานลำเลียง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ในโรงงานอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่นการใช้ระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าบนสายพานอัตโนมัติว่ามีความสมบูรณ์ถูกต้องตามเกณฑ์คุณภาพ 
	ทั้งนี้เมื่อมีการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศไทย โรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยจึงต้องปรับตัวเพื่อที่จะเข้าข้ามนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ให้ทันสมัยเช่นกัน อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้นมีราคาแพงเนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่เนื่องจากต้นทุนด้านเทคโนโลยีจากต่างประเทศมีราคาแพง ผู้ประกอบการในประเทศไทยมีความยากลำบากในการเข้าถึง  เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทีมงานของเราได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้และได้นำเทคโนโลยีด้าน ปัญญาประดิษฐ์ มาช่วยในการตรวจจับสินค้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งมีความแม่นยำใกล้เคียงกับเทคโนโลยีต่างประเทศ แต่ราคาถูก          

วัตถุประสงค์

I.	การเพิ่มประสิทธิภาพ: การนำเอาซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าบนสายพานลำเลียงได้ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในกระบวนการผลิต, ลดข้อผิดพลาด, และเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว.

II.	การลดต้นทุนการผลิต: การใช้เทคโนโลยี AI ในการตรวจจับความผิดปกติของสินค้าได้ช่วยลดต้นทุนด้านแรงงานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับข้อผิดพลาดในการผลิต.

III.	การส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ:การทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาและโรงงานได้ช่วยให้บุคลากรในองค์กรได้รับความรู้และทักษะใหม่ๆ 

IV.	การเพิ่มความมั่นคงในการจ้างงาน โครงการนี้สนับสนุนการสร้างงานในด้านเทคโนโลยีขั้นสูงภายในประเทศ, ช่วยลดการพึ่งพาแรงงานจากต่างประเทศและสร้างโอกาสในการจ้างงานสำหรับบุคคลที่มีทักษะในด้านนี้.

ผู้จัดทำ

ทัศนัย พลอยสุวรรณ

#อาจารย์

สมาชิก
ณัฐดนัย ปราณีณัฐวีร์
NATDHANAI PRANEENATTHAVEE

#นักศึกษา

สมาชิก
โตมร สุนทรนภา
TOMORN SOONTORNNAPAR

#นักศึกษา

สมาชิก
พชรฎา ยั่งยืน
PATCHARADA YUNGYUEN

#นักศึกษา

สมาชิก
ธนันทิกานต์ ราชาเดช
THANANTIKAN RACHADECH

#นักศึกษา

สมาชิก
ณัฐกานต์ โคตรยอด
NATTAKAN KODYORD

#นักศึกษา

สมาชิก
คัมภีร์ ธิราวิทย์
KAMPREE THIRAVITH

#นักศึกษา

สมาชิก
มัลลิกา อินแปง
MULLIKA INPANG

#นักศึกษา

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด