กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
โครงการออกเเบบสื่อบูรณาการ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในกลุ่มโรค NCDs ผ่านการเเนะนำการกินอาหารมื้อกลางวัน สำหรับพนักงานออฟฟิศในย่านสีลม
Integrated media design project to raise awareness on noncommunicable diseases (NCDs) by recommending what to eat during lunch for office workers in Silom area
@คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
#KLLC 2024
#Digital Technology
รายละเอียด
โรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ Noncommunicable Diseases (NCDs) เป็นกลุ่มโรคที่ไม่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อโรค เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาทิ การรับประทานอาหารซ้ำๆ, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ขาดการออกกำลังกาย และความเครียด เช่นเดียวกับการสื่อสารของสื่อโฆษณาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โรคในกลุ่มนี้มักไม่แสดงอาการทันที แต่เป็นการสะสม จนทำให้เกิดความรู้สึกคุ้นเคย จึงก่อให้เกิดโรค ดังนี้ โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคอ้วน เป็นต้น กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อกลุ่มโรค NCDs มักอยู่ในช่วงอายุ 30-69 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานหรือพนักงานออฟฟิศที่มักมองข้ามการดูแลสุขภาพของตนเอง จากความคุ้นชินในการรับประทานอาหาร โครงการออกเเบบสื่อบูรณาการนี้ เพื่อพนักงานออฟฟิศในย่านสีลม เนื่องจากเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่มีจำนวนสำนักงานจำนวนมาก เเละยังเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ตอบสนองการใช้ชีวิตของพนักงานออฟฟิศ โดยพฤติกรรมส่วนใหญ่มักเลือกกินอาหารตามเวลาตามที่จำกัดที่มีระหว่างการทำงาน อาทิ เวลาจำกัด, ระยะทางที่ใกล้, ราคาที่ถูก, ความอร่อย เป็นต้น โครงการออกเเบบสื่อบูรณาการนี้เพื่อช่วยสร้างความตระหนักรู้ในกลุ่มโรค NCDs และเเนะนำเมนูอาหารมื้อกลางวันในย่านสีลมที่เหมาะสมกับเเต่ละบุคคลโดยมีการออกเเบบเครื่องหมายรับรองคุณภาพเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อเมนูอาหารที่ดีต่อร่างกายห่างไกล กลุ่มโรค NCDs เเละยังรวบรวมความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารที่ตรงกับความต้องการเเต่ละบุคคล โดยโครงการออกเเบบสื่อบูรณาการนี้มีเป้าหมายต้องการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อพนักงานออฟฟิศ ผ่านสื่อประเภทต่างๆในย่านสีลม
วัตถุประสงค์
โรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ Noncommunicable Diseases (NCDs) เป็นกลุ่มโรค ที่ไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อโรคโดยตรง แต่เกิดจากนิสัย,พฤติกรรมของตัวเราที่ไม่เหมาะสม ความน่ากลัวของโรคในกลุ่มนี้คือ มันไม่แสดงอาการให้เห็นทันที แต่เป็นการสะสม จนทำให้เราเกิดความคุ้นเคย (สสส, 2563) ในปัจจุบัน โรคในกลุ่มนี้กลายเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของคนไทย เนื่องจากมักการเลือกรับประทานอาหารรสจัด,การเลือกทานอาหารตามใจ(เค็ม,หวาน,อาหารที่มีไขมันสูง,อาหารเเปรรูป),การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์,ขาดการออกกำลังกาย และความเครียดสะสม จึงก่อให้เกิดโรค ดังนี้ โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคอ้วน เป็นต้น จากสถิติจะพบว่า กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเป็นกลุ่มโรค NCDs จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 30-69 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานหรือพนักงานออฟฟิศ ซึ่งคนในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักคิดว่ายังเป็นวัยที่มีร่างกายที่เเข็งเเรง ทำให้มักขาดดูเเลใส่ใจตนเองบวกกับเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับชีวิตที่เร่งรีบขณะทำงาน ทำให้มักเลือกกินตามใจตนเองมากเกินไป, เน้นเมนูที่ง่ายๆหรือเลือกกินเมนูซ้ำๆ เเละการได้รับอิทธิพลของสื่อโฆษณาต่อการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานาน โครงการออกเเบบนี้เริ่มจากการเก็บข้อมูลย่านสีลม เนื่องจากเป็นย่านที่ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางธุรกิจ ,มีสำนักงานที่ตั้งอยู่เป็นจำนวนมากเป็นลำดับต้นๆในกรุงเทพมหานคร ยังเพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ตอบสนองการใช้ชีวิตของพนักงานออฟฟิศ ซึ่งพฤติกรรมการกินอาหารมื้อกลางวันของพนักงานออฟฟิศในย่านสีลมก็สามารถเเบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ไปกินอาหารเป็นกลุ่ม เเล้วหารเมนูร่วมกับเพื่อนๆร่วมงาน กับอีกกลุ่มหนึ่งคือเเยกไปกินข้าวคนเดียวเเละรูปเเบบการกินอาหารในมื้อกลางวันก็มีหลากหลายทั้งเลือกซื้อจากร้านสะดวก, เลือกกินที่ห้างสรรพสินค้าหรือเเม้เเต่การสั่ง delivery เเต่ส่วนใหญ่ มักเลือกกินจากร้านอาหารข้างทางเนื่องจากมีหลากหลายเมนูให้เลือก สะดวกเเละหาซื้อได้ง่าย บวกกับมีเเหล่งของกินอยู่ทั่วย่านสีลมให้เลือก ทั้ง ตลาดละลายทรัพย์, ตลาด SS สีลมสแควร์, ตลาดซอยคอนเเวนต์, ตลาด SS สีลมสแควร์, ตลาดพัฒน์พงษ์,ตลาดนัดสีลมซอย 10 ด้านหลัง เป็นต้น จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ผู้จัดทำเห็นปัญหา จึงทำให้เกิด โครงการออกเเบบสื่อบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความตระหนักในกลุ่มโรค NCDs ผ่านการเเนะนำการกินอาหารมื้อกลางวัน สำหรับพนักงานออฟฟิศในย่านสีลม ต้องการเป็นสื่อให้ความรู้เเละเเนะนำเมนูอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ให้พนักงานออฟฟิศหันมาใส่ใจการกินมากขึ้นเเละส่งเสริมให้มีเเนวความคิดที่ดีต่อสุขภาพร่างกายที่ดีในอนาคต เพื่อห่างไกลกลุ่มโรค NCDs โดยไม่จำเป็นต้องอดหรืองดการกินอาหารหากเเต่เลือกกินอาหารให้เป็น ค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตนเองเเละทำอย่างต่อเนื่องจะเห็นผลลัพธ์ในอนาคต
ผู้จัดทำ
ณัฐกร ก่อวุฒิกุลรังษี
NATTAKORN KORWUTHIKUNRANGSEE
#นักศึกษา
สมาชิก
นวลพรรณ แก้วผนึกรังษี
Nuanphan Kaewpanukrangsi
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project