กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
การศึกษาพฤติกรรมของแบตเตอรี่ LFP ในฟังก์ชันของความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิ
Study of behavior of LFP battery as function of relative humidity and temperature
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#KLLC 2024
#Digital Technology
รายละเอียด
ในปัจจุบันมีมีการใช้แบตเตอรี่เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งการใช้รถยนต์ไฟฟ้าต้องมีการชาร์จแบตเตอรี่ เป็นผลให้เกิดการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ ทางคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจในการศึกษา ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ ไม่ว่าจะเป็น ความชื้น และอุณหภูมิ โดยการศึกษาของคณะผู้จัดทำ จะทำการอัดประจุและคายประจุภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ โดยผลที่นำมาบ่งชี้สุขภาพของแบตเตอรี่คือ ค่าความต้านทานของแบตเตอรี่ในรูปแบบ Cole - Cole Plot
วัตถุประสงค์
เนื่องด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันประสบปัญหาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ฝุ่นละออง และก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการคมนาคม ในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมเรื่องพลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น หลาย ประเทศมีการรณรงค์ให้ช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่งในการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพราะเปลี่ยนจากการใช้น้ํามันเชื้อเพลิงมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยคาดการณ์ว่าจะมีการ ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนมากยิ่งขึ้น ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นยานพาหนะที่มีการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่และดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ ออกมาให้มอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อทําให้รถสามารถขับเคลื่อนได้ โดยองค์ประกอบหลักภายในของตัวยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ มอเตอร์ มีหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า รีดิวเซอร์ มีหน้าที่เป็นตัวส่งผ่านกําลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า สู่ระบบเพลา แบตเตอรี่ มีหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้า ออนบอร์ดชาร์จเจอร์มีหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับจากที่ ชาร์จ ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง และ ตัวควบคุมกําลังไฟฟ้า มีหน้าที่ควบคุมกําลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ทั้งหมด จากส่วนประกอบของยานยนต์ไฟฟ้าที่กล่าวมาข้างต้น แบตเตอรี่เป็นหนึ่งส่วนที่สําคัญ ในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน บริษัทที่มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด คือ บริษัท BYD ซึ่งใช้ Blade battery เป็นแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP) แบบ Cell-to-pack ทําให้เพิ่มเซลล์แบตเตอรี่ได้มาก ขึ้นละมีความปลอดภัยสูง และบริษัท CATL ได้มีการเปิดตัวแบตเตอรี่ LFP ใหม่ในชื่อ Shenxing Superfast Charging Battery ซึ่งสามารถชาร์จด้วยความเร็ว 4C อีกทั้งยังสามารถขับได้ไกล 400 กิโลเมตร ในเวลาชาร์จ 10 นาที คาดว่าจะมีการนําไปใช้ในรถ Tesla Model 3 โดยคณะจัดทําจึงมีความสนใจที่จะ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพและสุขภาพของแบตเตอรี่ภายใต้สภาวะต่างๆ ดังนั้นคณะผู้จัดทําเลือกศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบวมและความต้านทานภายในของแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ โดยค่าความต้านทานภายในของแบตเตอรี่สามารถบอกถึงการเสื่อมสภาพและสุขภาพของแบตเตอรี่
ผู้จัดทำ
กชภณ สีบุญเรือง
KOTCHAPON SEEBOONRUEANG
#นักศึกษา
สมาชิก
กิตติพศ เจนสวัสดิ์พงศ์
KITTIPOT JANESAWATPONG
#นักศึกษา
สมาชิก
กันต์กวี พิผ่วนนอก
KANKAWI PHIPHUANNOK
#นักศึกษา
สมาชิก
ณัฐภูมิ อำนวยทรัพย์
NUTTAPUM AMNUAYSUP
#นักศึกษา
สมาชิก
ฐิติชญา พุทธวงศ์
TITICHAYA PUTTAWONG
#นักศึกษา
สมาชิก
วิวัฒน์ เกยูรวงศ์
Wiwat Keyoonwong
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project