กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การพัฒนาชุดตรวจแบบแถบสีสำหรับตรวจวัดสารหมู่เลือดเอบีเอชในน้ำลาย

The Development of Lateral Flow Immunoassay for Detect ABH substance in Saliva

@วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ

#Highlight 2024
#Healthcare and Wellness
การพัฒนาชุดตรวจแบบแถบสีสำหรับตรวจวัดสารหมู่เลือดเอบีเอชในน้ำลาย

รายละเอียด

งานวิจัยนี้ศึกษาการคอนจูเกตแอนติบอดีลงบนพื้นผิวอนุภาคนาโนทองคำที่นำไปใช้ประยุกต์ใช้กับกับชุดตรวจแบบแถบสี (LFIAs) สำหรับระบุหมู่เลือด ABO ในน้ำลาย  อนุภาคนาโนทองคำจะถูกสังเคราะห์ด้วยวิธี Turkevich  แอนติบอดีจะถูกคอนจูเกตลงบนพื้นผิวของอนุภาคนาโนทองคำด้วยวิธีทางกายภาพ  อนุภาคนาโนทองคำที่คอนจูเกตของแอนติบอดี A หรือ B (Ab-AuNPs) จะถูกนำไปวัดค่าการดูดกลินแสงด้วยเครื่อง UV-VIS spectrophotometer จากนั้นชุดตรวจแบบแถบสีจะถูกเตรียมด้วยเงื่อนไขต่างๆ เพื่อหาเงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาสร้างชุดตรวจ  ผลการวิจัยพบว่าหลังจากอนุภาคทองนาโนถูกคอนจูเกตด้วยแอนติบอดี ความยาวคลื่นของการดูดกลืนแสงสูงสุดจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอนุภาคทองนาโนก่อนคอนจูเกต แสดงให้เห็นว่าขนาดอนุภาคเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีแอนติบอดีไปอยู่บนพื้นผิวของอนุภาคทองนาโน  และผลลัพธ์ของงานนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการพัฒนาชุดตรวจแบบแถบสีสำหรับตรวจจับสาร ABH ที่ใช้อนุภาคทองนาโนเป็นตัวแสดงผล เพื่อระบุหมู่เลือดจากน้ำลายแบบไม่รุกล้ำ

วัตถุประสงค์

ข้อมูลหมู่เลือดของตัวบุคคลนับว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญ เนื่องจากในทางการแพทย์ กระบวนการถ่ายโอนเลือดเป็นกระบวนที่สำคัญมากในกรณีที่มีการผ่าตัด จะต้องมีการถ่ายโอนเลือดให้ผู้ป่วย ซึ่งเลือดที่ถ่าายโอนเข้ามากับเลือดของผู้รับเลือดจะต้องสามารถเข้ากันได้ มิฉะนั้นอาจจะส่งผลอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นจึงได้มีการจัดกลุ่มของเลือด โดนระบบที่ใช้ในแบ่งกลุ่มของเลือดในปัจจุบันมีหลายระบบ แต่ระบบหมู่เลือด ABO ถือว่าเป็นระบบหมู่เลือดที่สำคัญที่สุด โดยระบบหมู่เลือดนี้จะแบ่งกลุ่มจากชนิดของแอนติเจนที่พบบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 หมู่ ได้แก่ หมู่เลือด A, หมู่เลือด B, หมู่เลือด AB และ หมู่เลือด O ซึ่งการระบุหมู่เลือดของระบบนี้ นอกจากระบุจากเลือดโดยตรงแล้ว ยังสารมารถระบุได้จากสารคัดหลั่งในร่างกายได้เช่นกัน โดยนิยมระบุจากน้ำลาย การตรวจหาสารหมู่เลือด ABH จากน้ำลาย นิยมใช้วิธีมาตรฐาน อย่างเทคนิค Neutralization
, เทคนิค Absorption-inhibition และ เทคนิค Absorption-elution อย่างไรก็ตามเทคนิคเหล่านี้
 เป็นเทคนิคที่ซับซ้อน ใช้เวลานาน ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และจำกัดการใช้งานได้แค่ใน
ห้องแลปปฏิบัติการเท่านั้น ทางผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาเทคนิคในการตรวจหา
สารหมู่เลือดจากน้ำลายให้มีความง่าย สะดวก และใช้เวลาไม่มาก โดยนำเสนอแพลตฟอร์มของชุดตรวจ
แบบแถบสี หรือ Lateral flow immunoassay strip (LFIAs) ซึ่งเป็นเทคนิคที่นิยมถูกนำมาพัฒนาเพื่อ
นำมาใช้ในการตรวจวัดสารชีวภาพต่างๆ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดทางชีวภาพที่ง่ายพกพาสะดวก ราคาไม่แพง ให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว และ ไม่มีความซับซ้อนในการใช้งาน โดยในงานนี้ชุดตรวจจะใช้อนุภาคทองนาโนเป็นตัวแสดงผล เนื่องจากเป็นอนุภาค
โลหะที่มีขนาดเล็กในระดับนาโน ส่งผลให้มีคุณสมบัติเชิงแสง กล่าวคือ อนุภาคทองนาโนสามารถ
ดูดกลืนแสงได้ในช่วงความยาวคลื่นหนึ่ง ทำให้แสงที่ผ่านออกมาปรากฏเป็นสีที่แตกต่างกัน โดย
ความยาวคลื่นแสงที่อนุภาคโลหะดูดกลืนไปนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะ รูปร่าง และ ขนาดของ
อนุภาคโลหะ ด้วยสมบัติเหล่านี้เองการทำให้อนุภาคทองนาโนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่พื้นผิว ขนาด 
และ รูปร่าง จะส่งผลให้สีของอนุภาคทองนาโนเปลี่ยนแปลงไปด้วย นอกจากนี้อนุภาคทองนาโนยังสามาเข้ากับสารชีวโมเลกุลได้อีกด้วย จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็น
อุปกรณ์ตรวจวัดทางชีวภาพ (Biosensor) สำหรับตรวจจับสารทางเคมี ชีวเคมี และใช้งานทาง
 การแพทย์ได้ 

ผู้จัดทำ

นงลักษณ์ หวงกำแหง
Nongluck Houngkamhang

#อาจารย์

สมาชิก
นรีรัตน์ เฉลิมฉัตรวรากร
NAREERAT CHALERMCHATWARAKORN

#นักศึกษา

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด