Back

The Development of Lateral Flow Immunoassay for Detect ABH substance in Saliva

การพัฒนาชุดตรวจแบบแถบสีสำหรับตรวจวัดสารหมู่เลือดเอบีเอชในน้ำลาย

@วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ

#Highlight 2024
#Healthcare and Wellness
การพัฒนาชุดตรวจแบบแถบสีสำหรับตรวจวัดสารหมู่เลือดเอบีเอชในน้ำลาย

Details

This work studies the conjugation of antibodies on gold nanoparticles applied to lateral flow immunoassay strips (LFIAs) for identifying the ABO blood group in saliva. Gold nanoparticles are synthesized by the Turkevich method. The antibodies are conjugated on the surface of gold nanoparticles by a physical method. The antibody A or B-conjugated gold nanoparticles (Ab-AuNPs) is measured by a UV-VIS spectrophotometer. The LFIAs were tested for efficiency under various conditions to prepare a test strip. The results revealed that the conjugation of antibodies on AuNP surfaces results in an increase in absorption shifts. The wavelength of the absorption peak of Ab-AuNPs is increasing, which shows that the particle size is increasing because of antibodies covering the AuNPs surface. The result of this work shows the possibility of the development of LFIAs to detect ABH substances that use gold nanoparticles for non-invasive saliva identification.

Objective

ข้อมูลหมู่เลือดของตัวบุคคลนับว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญ เนื่องจากในทางการแพทย์ กระบวนการถ่ายโอนเลือดเป็นกระบวนที่สำคัญมากในกรณีที่มีการผ่าตัด จะต้องมีการถ่ายโอนเลือดให้ผู้ป่วย ซึ่งเลือดที่ถ่าายโอนเข้ามากับเลือดของผู้รับเลือดจะต้องสามารถเข้ากันได้ มิฉะนั้นอาจจะส่งผลอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นจึงได้มีการจัดกลุ่มของเลือด โดนระบบที่ใช้ในแบ่งกลุ่มของเลือดในปัจจุบันมีหลายระบบ แต่ระบบหมู่เลือด ABO ถือว่าเป็นระบบหมู่เลือดที่สำคัญที่สุด โดยระบบหมู่เลือดนี้จะแบ่งกลุ่มจากชนิดของแอนติเจนที่พบบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 หมู่ ได้แก่ หมู่เลือด A, หมู่เลือด B, หมู่เลือด AB และ หมู่เลือด O ซึ่งการระบุหมู่เลือดของระบบนี้ นอกจากระบุจากเลือดโดยตรงแล้ว ยังสารมารถระบุได้จากสารคัดหลั่งในร่างกายได้เช่นกัน โดยนิยมระบุจากน้ำลาย การตรวจหาสารหมู่เลือด ABH จากน้ำลาย นิยมใช้วิธีมาตรฐาน อย่างเทคนิค Neutralization
, เทคนิค Absorption-inhibition และ เทคนิค Absorption-elution อย่างไรก็ตามเทคนิคเหล่านี้
 เป็นเทคนิคที่ซับซ้อน ใช้เวลานาน ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และจำกัดการใช้งานได้แค่ใน
ห้องแลปปฏิบัติการเท่านั้น ทางผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาเทคนิคในการตรวจหา
สารหมู่เลือดจากน้ำลายให้มีความง่าย สะดวก และใช้เวลาไม่มาก โดยนำเสนอแพลตฟอร์มของชุดตรวจ
แบบแถบสี หรือ Lateral flow immunoassay strip (LFIAs) ซึ่งเป็นเทคนิคที่นิยมถูกนำมาพัฒนาเพื่อ
นำมาใช้ในการตรวจวัดสารชีวภาพต่างๆ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดทางชีวภาพที่ง่ายพกพาสะดวก ราคาไม่แพง ให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว และ ไม่มีความซับซ้อนในการใช้งาน โดยในงานนี้ชุดตรวจจะใช้อนุภาคทองนาโนเป็นตัวแสดงผล เนื่องจากเป็นอนุภาค
โลหะที่มีขนาดเล็กในระดับนาโน ส่งผลให้มีคุณสมบัติเชิงแสง กล่าวคือ อนุภาคทองนาโนสามารถ
ดูดกลืนแสงได้ในช่วงความยาวคลื่นหนึ่ง ทำให้แสงที่ผ่านออกมาปรากฏเป็นสีที่แตกต่างกัน โดย
ความยาวคลื่นแสงที่อนุภาคโลหะดูดกลืนไปนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะ รูปร่าง และ ขนาดของ
อนุภาคโลหะ ด้วยสมบัติเหล่านี้เองการทำให้อนุภาคทองนาโนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่พื้นผิว ขนาด 
และ รูปร่าง จะส่งผลให้สีของอนุภาคทองนาโนเปลี่ยนแปลงไปด้วย นอกจากนี้อนุภาคทองนาโนยังสามาเข้ากับสารชีวโมเลกุลได้อีกด้วย จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็น
อุปกรณ์ตรวจวัดทางชีวภาพ (Biosensor) สำหรับตรวจจับสารทางเคมี ชีวเคมี และใช้งานทาง
 การแพทย์ได้ 

Project Members

นงลักษณ์ หวงกำแหง
Nongluck Houngkamhang

#อาจารย์

Member
นรีรัตน์ เฉลิมฉัตรวรากร
NAREERAT CHALERMCHATWARAKORN

#นักศึกษา

Member

Vote for this Innovation!

Loading...