กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
ผลของความเค็มในระยะออกดอกที่มีต่อลักษณะสรีรวิทยาและผลผลิตในข้าวพื้นเมือง
Effects of Salinity Stress at Flowering Stage on Physiological Traits and Yield of Landrace Rice
@คณะเทคโนโลยีการเกษตร
#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
รายละเอียด
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการทนเค็มของข้าวพื้นเมือง 8 พันธุ์ในระยะออกดอกและเติมเต็มผลผลิต โดยให้ข้าวได้รับความเค็มที่ระดับ 0, 6, 12, และ 16 ds/m ตั้งแต่ระยะออกดอกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ข้าวพื้นเมืองที่นำมาทดสอบในครั้งนี้ ได้แก่ ก่ำเฟือง หอมจันทร์ เขี้ยวงู หอมใหญ่ กอเดียว เม็ดมะขาม หอมนางนวล ทดสอบร่วมกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (พันธุ์การค้า) Pokkali (พันธุ์ทนเค็ม) และ IR29 (พันธุ์อ่อนแอ) ผลการศึกษาพบว่า ข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมใหญ่ กอเดียว และเขี้ยวงู เป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพในการทนเค็มได้เทียบเท่ากับพันธุ์ Pokkali ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐาน พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ผ่านการประเมินในครั้งนี้ จะถูกนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ในโปรแกรมการปรังปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความทนเค็มต่อไป
วัตถุประสงค์
ข้าว (Rice) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L. เป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทย การเพิ่มปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น สามารถทำได้โดยการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มี ผลผลิตสูงและทนทานต่อสภาวะเครียดจากสภาพแวดล้อมเช่นดินเค็ม รายงานว่าต้นกล้าข้าวที่อยู่ในความเค็มที่เพิ่มขึ้น 5.0–7.5 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร ทำให้การเจริญเติบโตและน้าหนักสดของต้นกล้าลดลง (พรทิพย์ และคณะ, 2564) ดินเค็มเป็นปัญหาสำคัญของการปลูกข้าว ซึ่งดินเค็มเป็นดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้มากเกินไปจนมีผลต่อการเจริญเติบโต คุณภาพ และปริมาณของผลผลิตพืช ซึ่งอาจมีความรุนแรงทำให้พืชตายได้ เนื่องจากพืชเกิดการขาดน้ำ รากไม่สามารถดูดน้ำจากดินขึ้นไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสะสมไอออนเป็นพิษในพืชมากเกินไป และทำให้พืชเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร พื้นที่ดินเค็มในประเทศไทยพบบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ดินเค็มประมาณ 18 ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่ 17 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งภาค พื้นที่ดินเค็มมักเกิดในที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมในฤดูฝนซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว โดยจะพบคราบเกลืออยู่บนผิวดินไม่สม่ำเสมอกันทั้งพื้นที่ และระดับความเค็มก็แตกต่างกันขึ้นกับฤดูกาล โดยทั่วไปดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าความเค็มอยู่ระหว่าง 2–16 dS/m (ธนกร และ สุมนา, 2566) การตอบสนองของข้าวต่อความเค็มขึ้นอยู่กับความยาวนานของการได้รับอิทธิพลจากความเค็มชนิดของเกลือ และระยะการเจริญเติบโตของข้าว โดยเฉพาะข้าวในระยะต้นกล้าและระยะออกดอกจะมีความอ่อนแอต่อความเค็มมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวในระยะแตกกอ
ผู้จัดทำ
เมธัส บุญสม
MAYTHAS BOONSOM
#นักศึกษา
สมาชิก
ช่อแก้ว อนิลบล
Chorkaew Aninbon
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project