Back

Effects of Salinity Stress at Flowering Stage on Physiological Traits and Yield of Landrace Rice

ผลของความเค็มในระยะออกดอกที่มีต่อลักษณะสรีรวิทยาและผลผลิตในข้าวพื้นเมือง

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
ผลของความเค็มในระยะออกดอกที่มีต่อลักษณะสรีรวิทยาและผลผลิตในข้าวพื้นเมือง

Details

The objective of this study was to evaluate the salt tolerance ability of eight landrace rices during the flowering to harvesting stages. The rice was exposed to salinity levels of 0, 6, 12, and 16 ds/m from flowering until harvest. The landrace rice that was tested in this study included Kamfueang, Homjan, Keawngu, Homyai, Kaedeaw, Medmakham, and Homnangnuan, tested together with Khao Dok Mali 105 (commercial variety), Pokkali (salt-tolerant variety) and IR29 (susceptible variety). Results of the study found that Homyai, Kaedeaware and Keawngu varieties had the potential to tolerate salt comparable to Pokkali, which is a standard comparison variety. Landrace rice varieties that were evaluated this time  will be used as parents in breeding program to improve rice for salt tolerance.

Objective

ข้าว (Rice) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L. เป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทย การเพิ่มปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น สามารถทำได้โดยการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มี ผลผลิตสูงและทนทานต่อสภาวะเครียดจากสภาพแวดล้อมเช่นดินเค็ม รายงานว่าต้นกล้าข้าวที่อยู่ในความเค็มที่เพิ่มขึ้น 5.0–7.5 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร ทำให้การเจริญเติบโตและน้าหนักสดของต้นกล้าลดลง (พรทิพย์ และคณะ, 2564) 
ดินเค็มเป็นปัญหาสำคัญของการปลูกข้าว ซึ่งดินเค็มเป็นดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้มากเกินไปจนมีผลต่อการเจริญเติบโต คุณภาพ และปริมาณของผลผลิตพืช ซึ่งอาจมีความรุนแรงทำให้พืชตายได้ เนื่องจากพืชเกิดการขาดน้ำ รากไม่สามารถดูดน้ำจากดินขึ้นไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสะสมไอออนเป็นพิษในพืชมากเกินไป และทำให้พืชเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร พื้นที่ดินเค็มในประเทศไทยพบบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ดินเค็มประมาณ 18 ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่ 17 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งภาค พื้นที่ดินเค็มมักเกิดในที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมในฤดูฝนซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว โดยจะพบคราบเกลืออยู่บนผิวดินไม่สม่ำเสมอกันทั้งพื้นที่ และระดับความเค็มก็แตกต่างกันขึ้นกับฤดูกาล โดยทั่วไปดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าความเค็มอยู่ระหว่าง 2–16 dS/m (ธนกร และ สุมนา, 2566)  การตอบสนองของข้าวต่อความเค็มขึ้นอยู่กับความยาวนานของการได้รับอิทธิพลจากความเค็มชนิดของเกลือ และระยะการเจริญเติบโตของข้าว โดยเฉพาะข้าวในระยะต้นกล้าและระยะออกดอกจะมีความอ่อนแอต่อความเค็มมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวในระยะแตกกอ 

Project Members

เมธัส บุญสม
MAYTHAS BOONSOM

#นักศึกษา

Member
ช่อแก้ว อนิลบล
Chorkaew Aninbon

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...