กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
ผลกระทบของน้ำมันไบโอดีเซลต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนและการลดปริมาณเขม่าควันดำจากรถยนต์ดีเซล
Impact of Biodiesel on Diesel Vehicle Thermal Efficiency and Soot Reduction
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
รายละเอียด
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อนเบรก (Brake thermal efficiency) และการลดเขม่าที่เกิดขึ้นจากการสันดาปของเครื่องยนต์ดีเซล จากการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100 เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซลมาตรฐาน B7 เพื่อเป็นการลดปัญหามลภาวะทางอากาศที่เกิดจาก PM2.5 และลดปัญหาภาวะเรือนประจก (Greenhouse effect) การใช้พลังงานทางเลือกจากเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากพืชช่วยลดปัญหาโลกร้อนจากกระบวนการเติบโตของต้นปาล์มที่สามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการสังเคราะห์ด้วยเเสง (Photosynthesis) โดยจากการศึกษาพบว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100 มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะเบรก (Brake specific fuel consumption) ที่มากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลมาตรฐาน B7 เนื่องจากเชื้อเพลิงไบโอดีเซล B100 มีค่าความร้อน (Heating value) ที่ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลมาตรฐาน อย่างไรก็ตามรถยนต์ที่ใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100 มีอัตราการใช้พลังงานจำเพาะเบรก (Brake specific energy consumption) และประสิทธิภาพเชิงความร้อนเบรก (Brake thermal efficiency) ที่ใกล้เคียงกันกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลมาตรฐาน B7 นอกเหนือจากนั้นยังพบว่าการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100 สามารถลดเขม่าที่เกิดขึ้นจากการสันดาปของเครื่องยนต์ได้เนื่องจากอะตอมของออกชิเจนในโมเลกุลของไบโอดีเซลช่วยให้เกิดการเผาไหม้ที่มีปริมาณเขม่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญประมาณร้อยละ 50
วัตถุประสงค์
แหล่งพลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้ในปัจจุบันนั้นเป็นพลังงานที่มาจากการเผาไหม้ (Combustion) ของเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil fuels) เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon compounds) การเผาไหม้ของไฮโดรคาร์บอนก่อให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ซึ่งส่งผลให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (Greenhouse effect) การใช้พลังงานทางเลือกจากเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากพืชช่วยลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) นอกจากนี้การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่สมบูรณ์ก็ทำให้เกิดเขม่าที่เป็นต้นเหตุของมลภาวะทางอากาศในเมืองใหญ่ การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสามารถช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศได้จากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่าการใช้น้ำมันดีเซลมาตรฐาน
ผู้จัดทำ
ธัญญะ งามประเสริฐโสภณ
THANYA NGAMPRASERTSOPHON
#นักศึกษา
สมาชิก
สรวิศ มลวิสัย
SORRAWIT MONWISAI
#นักศึกษา
สมาชิก
ณภัทร ปาละวัธนะกุล
NAPAT PALAVATHANAKUL
#นักศึกษา
สมาชิก
ปรีชา การินทร์
Preechar Karin
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project