กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของบอนสีโดยการผ่าหัวร่วมกับการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต

Increasing the Quantity and Quality of Caladium with Tuber Cutting and Plant Growth Regulators Application

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของบอนสีโดยการผ่าหัวร่วมกับการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต

รายละเอียด

เพื่อศึกษาผลของการผ่าหัวพันธุ์ร่วมกับการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต ของบอนสีสายพันธุ์อิเหนา โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x5 Factorial in CRD ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 ขนาดชิ้นส่วนในการผ่าหัว ได้แก่ 0.5 และ 1 เซนติเมตร และปัจจัยที่ 2 ชนิดของสารควบคุมการ เจริญเติบโต 2 ชนิดได้แก่ GA3 และ IBA ในความเข้มข้น 2 ระดับ คือ 100 และ 150 ppm และการแช่ น้้าประปาเป็นกรรมวิธีควบคุม โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง ตามระยะการพักตัวของหัวบอนสี ได้แก่ ระยะพักตัว (ตุลาคม) ระยะหลังการพักตัว (มีนาคม) และระยะก่อนการพักตัว (พฤษภาคม) จากผลการทดลองทั้ง 3 ช่วงระยะเวลาในการพักตัว พบว่า อัตราการรอดชีวิต และจ้านวนวันในการ เกิดหน่อ มีค่าใกล้เคียงกันทั้ง 3 ระยะ โดยการผ่าหัวขนาด 1 เซนติเมตรในระยะพักตัว ร่วมกับ การใช้ IBA ที่ ระดับ 150 ppm มีการเจริญเติบโตทางด้านล้าต้นได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่นในด้าน ความสูงและความกว้างทรงพุ่ม และ จ้านวนใบต่อต้น หลังท้าการปลูกนาน 4 เดือน ซึ่งเหมาะแก่การผลิตบอนสีสายพันธุ์อิเหนาเป็นไม้กระถาง มากที่สุด ค่าสีใบและปริมาณคลอโรฟิลล์เอและบี พบว่า ในระยะพักตัว และระยะหลังการพักตัวมีค่าความ สว่าง (L*) มีสีเขียวอ่อน (a*) และปริมาณคลอโรฟิลล์บีที่มากกว่าระยะก่อนการพักตัว ซึ่งในระยะก่อนการพัก ตัวมีปริมาณคลอโรฟิลล์เอที่มากกว่า ในขณะที่การผ่าหัวขนาด 1 เซนติเมตรในระยะพักตัว ร่วมกับ การใช้ IBA ที่ระดับ 100 ppm มีขนาดหัวใหม่ที่ใหญ่กว่าทั้ง 2 ระยะ นอกจากนี้การผ่าหัวที่ระยะพักตัวกับระยะหลังการ พักตัวมีขนาดหัวพันธุ์ใหม่และปริมาณ RS ที่มากกว่าระยะก่อนการพักตัว ในขณะที่ระยะก่อนการพักตัวมี ปริมาณ TNC ที่สูงกว่าทั้ง 2 ระยะ

วัตถุประสงค์

การขยายพันธุ์บอนสีเพื่อจ้าหน่ายเป็นไม้กระถางโดยปกติใช้ระยะเวลานาน 4-6 เดือนถึงพร้อม จ้าหน่ายเป็นต้นบอนสี ขนาดกระถาง 4 - 6 นิ้ว ระยะเวลาขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ การน้าหัวบอน สีมาปลูกจะได้จ้านวน 1-2 ต้นต่อกระถาง โดยใช้ระยะเวลาปลูกเลี้ยงนาน 6 เดือน ซึ่งปัจจุบัน เกษตรกรนิยมขยายพันธุ์โดยใช้วิธีการผ่าหัวพันธุ์ของบอนสี เพื่อให้ได้จ้านวนต้นเพิ่มมากขึ้น และใช้ ระยะเวลาในการปลูกเลี้ยงไม่นาน ประมาณ 4-5 เดือน (สุรเดช สดคมข้า. 2563) นอกจากนี้การใช้ สารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มออกซินและจิบเบอเรลลิน ยังช่วยเร่งการงอกของหัวพันธุ์ การ เจริญเติบโตทางล้าต้น การขยายขนาดหัว และการสะสมอาหารในหัวของไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด (Bose,T.K. et.al. 1980) โดยการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการผ่าหัวนิยมใช้ระยะเวลาหลังการพักตัวของไม้ ประดับประเภทหัว เนื่องจากมีการสะสมอาหารจากส่วนเหนือดินไปเก็บไว้ยังบริเวณหัวใต้ดินท้าให้หัว มีขนาดใหญ่ ท้าให้การผ่าแบ่งหัวพันธุ์ได้จ้านวนต้นที่มากขึ้น (โสระยา ร่วมรังษี. 2558) ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานในบอนสีมากนัก ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและ ขนาดชิ้นส่วนในการผ่าหัวของบอนสีเพื่อการผลิตเป็นไม้กระถาง ในช่วงฤดูที่แตกต่างกันต่อการผ่าหัว พันธุ์ที่เหมาะสมกับการผลิตบอนสีในเชิงพาณิชย์

ผู้จัดทำ

ชมัยพร อนุวงศ์
Chamaiporn Anuwong

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด