กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

กลยุทธ์การตลาดในรูปแบบดิจิทัลสำหรับธุรกิจฟาร์มเพาะและอนุบาลลูกกุ้งทะเล

Digital Marketing Strategies for Shrimp Hatchery Operations

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#KLLC 2024
#Digital Economy
กลยุทธ์การตลาดในรูปแบบดิจิทัลสำหรับธุรกิจฟาร์มเพาะและอนุบาลลูกกุ้งทะเล

รายละเอียด

ในยุคที่ระบบการตลาดหรือการค้ากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมเพาะพันธุ์กุ้งทะเลกำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นของ "การตลาดดิจิทัล"  เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การตลาดในหลายๆด้านที่จะมุ่งเน้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว รวมทั้งการให้ความสำคัญและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค โครงการนี้ได้เสนอแนวทางใหม่ในการทำการตลาดของโรงเพาะอนุบาลลูกกุ้งทะเล โดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อขยายการเข้าถึง และปรับรูปแบบการนำเสนอให้สอดคล้องกับความชอบของผู้บริโภคที่มุ่งสู่ความยั่งยืนอย่างมีจริยธรรม ผ่านการร่วมมือกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะผสมผสานความรู้ทางวิชาการเข้ากับการปฏิบัติการตลาดจริง โดยมีวิธีการวิเคราะห์ตลาดจากการสัมภาษณ์และการแจกแบบสอบถาม การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ในช่องทางดิจิทัลรูปแบบต่างๆ และแนวทางการสร้างเนื้อหาที่มีความน่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้เลี้ยงกุ้งกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ การเป็นที่รู้จักบนโลกดิจิทัลที่มากขึ้น, การเพิ่มยอดขาย ยังรวมถึงการสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและมีจริยธรรม

วัตถุประสงค์

อุตสาหกรรมเพาะและอนุบาลกุ้งทะเลได้พึ่งพาวิธีการทำการตลาดแบบดั้งเดิม (อาศัยความรู้จักคุ้นเคย การแจก การแถม หรือการให้ส่วนลด) มาเป็นเวลานาน ซึ่งวิธีการเหล่านี้กำลังจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอและล้าสมัยเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัลในปัจจุบัน ฟาร์มเพาะและอนุบาลลูกกุ้งต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญในการหาวิธีการดึงดูดลูกค้า(เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง)ใหม่และรักษาลูกค้าเดิม  เนื่องจากกลยุทธ์การตลาดแบบดั้งเดิม อาจมีข้อจำกัดในการสร้างความสัมพันธ์กับฐานลูกค้าสมัยใหม่หรือคนรุ่นใหม่ ที่มีความต้องการที่แตกต่างออกไปโดยเน้นความสะดวกในการเข้าถึง ความโปร่งใส ความยั่งยืน และการมีส่วนร่วมที่มากขึ้น
     โครงการนี้ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นอย่างมากที่ฟาร์มเพาะและอนุบาลลูกกุ้งจะต้องปรับตัวและเพิ่มการเรียนรู้ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบดิจิทัลให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดการค้าสมัยใหม่ ทางคณะผู้ศึกษาตระหนักว่าในอนาคตการสื่อสารในรูปแบบดิจิทัลหรือการสร้างแบรนด์โดยเฉพาะในโลกดิจิทัลจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงของผู้คนที่สนใจหรือลูกค้าใหม่ๆ และมีส่วนช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดต่อไป
     โดยสรุปช่องว่างระหว่างวิธีการตลาดแบบดั้งเดิมของอุตสาหกรรมโรงเพาะฟักลูกกุ้งกับความการเปลี่ยนแปลงไปของระบบธุรกิจที่เน้นการสื่อสารในรูปแบบดิจิทัล ยิ่งช่องว่างนี้กว้างเท่าใดก็จะส่งผลต่อยอดขายและศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจเท่านั้น การศึกษานี้จึงมุ่งหวังที่จะสำรวจและหาแนวทางการตลาดดิจิทัลสมัยใหม่เพื่อลดช่องว่างดังกล่าว ให้สอดคล้องตามความคาดหวังของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งยุคใหม่

ผู้จัดทำ

อัครวินท์ สุรนารถ
AKKARAWIN SURANART

#นักศึกษา

สมาชิก
ภูเบศร ชลารักษ์
PHUBET CHALARAK

#นักศึกษา

สมาชิก
อภินันต์ พูลเกษม
APHINAN PHUNKASEM

#นักศึกษา

สมาชิก
จุฑารัตน์ หลงศิริ
JUTARAT LONGSIRI

#นักศึกษา

สมาชิก
เทียนชัย สุวดิษฐ
THIANCHAI SUWADIT

#นักศึกษา

สมาชิก
ธัญญพร ภู่ถาวร
THANYAPORN PHUTHAVORN

#นักศึกษา

สมาชิก
ดุสิต เอื้ออำนวย
DUSIT AUE-UMNEOY

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด