กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การปรับปรุง EV สเก็ตบอร์ด เพื่อการศึกษา

Improvement of EV Skateboard for Education

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#Cluster 2024
#Digital Technology
การปรับปรุง EV สเก็ตบอร์ด เพื่อการศึกษา

รายละเอียด

โครงงานการปรับปรุง EV สเก็ตบอร์ด เพื่อการศึกษา เป็นโครงงานที่ใช้ Microcontroller ในการควบคุมตัวสเก็ตบอร์ดหรือแพลตฟอร์มให้สามารถขับเคลื่อนหน้าหลัง เลี้ยวซ้ายขวาได้ โดยมีการสั่งการควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน Dabble บนสมาร์ทโฟน 

วัตถุประสงค์

รถสเก็ตบอร์ดไฟฟ้าหรือ Electric Skateboards (EV Skateboards) คือยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าโดยมีแบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งมีข้อได้เปรียบดังนี้ด้านการเดินทางด้วยสเก็ตบอร์ดไฟฟ้า ช่วยลดการใช้ยานพาหนะที่ใช้น้ำมันหรือเชื้อเพลิง ซึ่งส่งผลให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านการอนุรักษ์พลังงาน การใช้สเก็ตบอร์ดไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าช่วยลดการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปเช่นน้ำมัน ด้านความคุ้มค่าในระยะยาว มีราคาที่เข้าถึงได้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเติมเชื้อเพลิง ลดการใช้ยานพาหนะที่ใช้น้ำมันหรือเชื้อเพลิงอื่นๆ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ต่ำเนื่องจากไม่มีเครื่องยนต์จึงไม่เกิดความร้อนที่สูงไม่ทำให้ชิ้นส่วนของรถยนต์ไม่เกิดการสึกหรอที่เร็วเท่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปในการขับเคลื่อน ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้งาน 
	เนื่องจากข้อได้เปรียบดังกล่าว ทำให้สมาชิกภายในกลุ่มได้ร่วมตัดสินใจกันที่จะนำ EV สเก็ตบอร์ดที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงแก้ไขให้สามารถใช้งานได้ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนจากแบตเตอรี่ตะกั่วกรดเป็นแบตเตอรี่ลิเทียมขนาด 12 โวลต์ที่สามารถจ่ายกระแสเพียงพอต่อการทำงานของมอเตอร์ จากนั้นทำการทดสอบและปรับปรุงมอเตอร์ระบบเลี้ยวและมอเตอร์ขับเคลื่อนหน้าหลัง โดยสมาชิกภายในกลุ่มมีความคิดที่จะนำ Microcontroller มาใช้ซึ่งก็คือบอร์ด Arduino UNO R3 แทนเนื่องจาก Micorcontroller ที่มีอยู่เดิมนั้นไม่สามารถควบคุมมอเตอร์ได้อย่างมีเสถียรภาพ รวมถึงนำสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทในการควบคุมตัวรถโดยจะควบคุมผ่านบลูทูธในแอพพลิเคชั่น Dabble 
	การทำโครงงาน EV สเก็ตบอร์ดนั้นถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการศึกษา เนื่องจากแนวโน้มในอนาคตรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น EV สเก็ตบอร์ดจึงถือว่าเป็นรากฐานที่จะส่งผลกระทบที่มากมายทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยสร้างสังคมที่ยั่งยืนและมีคุณภาพดีขึ้นในระยะยาว

ผู้จัดทำ

ชนกนาถ บัวจันทร์
CHANOKNAT BUACHAN

#นักศึกษา

สมาชิก
จตุรภัทร สว่างศรี
JATURAPHAT SAWANGSRI

#นักศึกษา

สมาชิก
จิรัฎฐ์ สุวรรณธนดิษฐ์
CHIRAT SUWANTHANADIT

#นักศึกษา

สมาชิก
สมภพ ผลไม้
Sompob Polmai

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด