Back
Improvement of EV Skateboard for Education
การปรับปรุง EV สเก็ตบอร์ด เพื่อการศึกษา
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#Cluster 2024
#Digital Technology
Details
Improvement of EV skateboards for Education is a project that uses Microcontroller to control the skateboard or platform so that it can drive forward and backward, can turn left and right. It is controlled via the Dabble application on the smartphone.
Objective
รถสเก็ตบอร์ดไฟฟ้าหรือ Electric Skateboards (EV Skateboards) คือยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าโดยมีแบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งมีข้อได้เปรียบดังนี้ด้านการเดินทางด้วยสเก็ตบอร์ดไฟฟ้า ช่วยลดการใช้ยานพาหนะที่ใช้น้ำมันหรือเชื้อเพลิง ซึ่งส่งผลให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านการอนุรักษ์พลังงาน การใช้สเก็ตบอร์ดไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าช่วยลดการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปเช่นน้ำมัน ด้านความคุ้มค่าในระยะยาว มีราคาที่เข้าถึงได้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเติมเชื้อเพลิง ลดการใช้ยานพาหนะที่ใช้น้ำมันหรือเชื้อเพลิงอื่นๆ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ต่ำเนื่องจากไม่มีเครื่องยนต์จึงไม่เกิดความร้อนที่สูงไม่ทำให้ชิ้นส่วนของรถยนต์ไม่เกิดการสึกหรอที่เร็วเท่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปในการขับเคลื่อน ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้งาน เนื่องจากข้อได้เปรียบดังกล่าว ทำให้สมาชิกภายในกลุ่มได้ร่วมตัดสินใจกันที่จะนำ EV สเก็ตบอร์ดที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงแก้ไขให้สามารถใช้งานได้ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนจากแบตเตอรี่ตะกั่วกรดเป็นแบตเตอรี่ลิเทียมขนาด 12 โวลต์ที่สามารถจ่ายกระแสเพียงพอต่อการทำงานของมอเตอร์ จากนั้นทำการทดสอบและปรับปรุงมอเตอร์ระบบเลี้ยวและมอเตอร์ขับเคลื่อนหน้าหลัง โดยสมาชิกภายในกลุ่มมีความคิดที่จะนำ Microcontroller มาใช้ซึ่งก็คือบอร์ด Arduino UNO R3 แทนเนื่องจาก Micorcontroller ที่มีอยู่เดิมนั้นไม่สามารถควบคุมมอเตอร์ได้อย่างมีเสถียรภาพ รวมถึงนำสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทในการควบคุมตัวรถโดยจะควบคุมผ่านบลูทูธในแอพพลิเคชั่น Dabble การทำโครงงาน EV สเก็ตบอร์ดนั้นถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการศึกษา เนื่องจากแนวโน้มในอนาคตรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น EV สเก็ตบอร์ดจึงถือว่าเป็นรากฐานที่จะส่งผลกระทบที่มากมายทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยสร้างสังคมที่ยั่งยืนและมีคุณภาพดีขึ้นในระยะยาว
Project Members
ชนกนาถ บัวจันทร์
CHANOKNAT BUACHAN
#นักศึกษา
Member
จตุรภัทร สว่างศรี
JATURAPHAT SAWANGSRI
#นักศึกษา
Member
จิรัฎฐ์ สุวรรณธนดิษฐ์
CHIRAT SUWANTHANADIT
#นักศึกษา
Member
สมภพ ผลไม้
Sompob Polmai
#อาจารย์
Advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project