กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
โปรแกรมประยุกต์เพื่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัยสำหรับสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจัาคุณทหารลาดกระบัง
Mobile application following research standard operation for higher education institution; A case of King Mongkuth Institute of Ladkrabang
@คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
#Cluster 2024
#Digital Technology
รายละเอียด
โครงการวิจัยการวิจัยโปรแกรมประยุกต์เพื่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัยสำหรับสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ศึกษาจากสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัยสำหรับสถาบันอุดมศึกษา แสดงถึงพัฒนาการทางการวิจัย มีวัตถุประสงค์ 1)การศึกษาการดำเนินการตามมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยประจำสถาบันอุดมศึกษา นำไปสู่ 2)ออกแบบโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์มือถือติดตามมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยประจำสถาบันอุดมศึกษา ด้วย 3)ทำการประเมินผลโปรแกรมประยุกต์ติดตามมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยประจำสถาบันอุดมศึกษา โดยการการปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัยสำหรับสถาบันอุดมศึกษา แสดงพัฒนาการทางการวิจัย กำหนดรูปแบบโปรแกรมประยุกต์ติดตามมาตรฐานการวิจัย มีเป้าหมายส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัยสำหรับสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและพัฒนาแอพพลิเคชันส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยประจำสถาบันอุดมศึกษา ในการบริหารจัดการชุมชนเมืองริมคลองแห่งการเรียนรู้ โดยทำการศึกษา 3 ขั้นตอน ตามลำดับ ด้วย 1)การศึกษาการดำเนินการตามมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยประจำสถาบันอุดมศึกษา 2)ออกแบบโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์มือถือติดตามมาตรฐานการวิจัยประจำสถาบันอุดมศึกษา 3) ประเมินผลโปรแกรมประยุกต์ติดตามมาตรฐานการวิจัย การพัฒนาแอพพลิเคชันตามลำดับขั้นตอนข้างต้น คณะผู้วิจัยใช้เวลาศึกษา 1 ปี ทำการสำรวจพื้นที่ศึกษา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่างในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังอย่างดี การริเริ่มใช้แอพพลิเคชั่นติดตามมาตรฐานการวิจัยเป็นการพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีรูปแบบร่วมสมัยซึ่งสนับสนุนด้วยแนวคิดพฤติกรรมสารสนเทศและการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทและความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ให้บริการและผู้รับบริการมาตรฐานการวิจัยได้อย่างชัดเจน โดยสรุปข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการติดตามมาตรฐานการวิจัยดังนี้ 1) นักวิจัยและคณะวิจัยจะต้องศึกษาและส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัยสำหรับสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงต้องมีการเสนอข้อมูลส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีร่วมสมัย และข้อควรระวังในการใช้แอพพลิเคชั่นในกลุ่มมาตรฐานการวิจัยด้วยเสมอ 2) การใช้แอพพลิเคชั่นติดตามมาตรฐานการวิจัย จะต้องเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยนี้เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม และปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัยอย่างครบครัน ทั้งนี้การพัฒนาแอพพลิเคชันติดตามมาตรฐานการวิจัยสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ให้บริการและผู้รับบริการมาตรฐานการวิจัย ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการออกแบบ และด้านกำหนดทิศทางการพัฒนาแอพพลิเคชันติดตามมาตรฐานการวิจัยดังกล่าว เป็นส่วนที่สนับสนุนบูรณาการทางการวิจัยแสดงถึงการมีส่วนร่วมในการใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัยอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าการศึกษาวิจัยหรือการทดลองในมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับระบาดวิทยา การเกิดโรค พยาธิสรีรวิทยาของโรค การวินิจฉัย การป้องกัน การรักษา เพื่อยืนยันประสิทธิผล และความปลอดภัยทางยา นำไปสู่วิธีการตรวจวินิจฉัย การป้องกัน รักษาโรค และการดูแลสุขภาพที่ทันสมัยและก้าวหน้าขึ้น อันจะส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวนช.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยมีหลักการและแนวทางดำเนินงาน 3 เรื่อง คือ ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนาปัจจัยเอื้อต่าง ๆ เช่น ระบบมาตรฐาน กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของ สวนช. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในการกำหนดทิศทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมทั้งปรับปรุงระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยมีภารกิจสำคัญประการหนึ่ง คือ การจัดทำมาตรฐานการวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางและหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการระบบการวิจัยให้มีมาตรฐานเดียวกัน และจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการวิจัยในระดับหน่วยงานวิจัย ปัจจุบัน วช. ได้มีการพัฒนามาตรฐานการวิจัยของประเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานการวิจัยทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ไปใช้ในกระบวนการวิจัย เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการวิจัยของประเทศให้ได้ผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยกำหนดให้มีมาตรฐานการวิจัยที่สำคัญ ใช้เป็นกลไกในการกำกับ ตรวจสอบและรับรอง การรักษามาตรฐานในกระบวนการดำเนินงานวิจัย โดยมาตรฐานที่ดำเนินการฯ ดังกล่าว ได้แก่ มาตรฐานการวิจัยในคน มาตรฐานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ประเมินโครงการวิจัย ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ รวมทั้งจริยธรรมนักวิจัยเป็นต้น ประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติทางกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือทดลองในมนุษย์เป็นการเฉพาะ แต่มีกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับคำประกาศที่มีบางส่วนที่ต้องอ้างอิงเพื่อประกอบการวิจัยในบางเรื่องที่เกี่ยวข้องได้แก่ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม 2549 หมวด9 การศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์ ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่อง การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษา พ.ศ. 2552 แล้ว และคำประกาศสิทธิผู้ป่วย แม้ไม่มีกฎหมายเฉพาะ การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตก็ต้องอ้างอิงกฎเกณฑ์หรือแนวทางจริยธรรมสากลและของประเทศ ผู้เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย สถาบันวิจัย คณะกรรรมการจริยธรรมการวิจัย ผู้สนับสนุนการวิจัย และผู้กำกับดูแลการวิจัย ต่างมีบทบาทและความรับผิดชอบในการปกป้องสิทธิ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เข้าร่วมการวิจัย โดยอาศัยหลักจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสากลที่ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทางชมรมจริยธรรมการทำวิจัยในประเทศไทย ได้จัดทำ “แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยแห่งชาติ” ครั้งแรกในปี พ.ศ.2545 และได้ปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น “แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ. 2550” เพื่อเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติด้านจริยธรรมในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และทำหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยแก่ผู้สนใจมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุที่พันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ที่มีเป้าหมายยุทธศาสตร์ทางด้านการวิจัยทั้งด้านสุขภาพ ด้านวิทยาศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์ จำเป็นต้องศึกษาและหาแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัย ดังนั้นการสร้างระบบพัฒนาและติดตามมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา ให้มีความสามารถและสมรรถนะด้านความปลอดภัยตามที่ต้องการ และมีประสิทธิภาพดีขึ้น ด้วยแนวคิดการออกแบบโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์มือถือติดตามมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระยัง จะช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบการศึกษาวิจัย และเป็นประโยชน์ในการพัฒนามาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย โดยมุ่งเน้นการกำหนดมาตรการหลักเกณฑ์ ในการดำเนินงานวิจัยซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม
ผู้จัดทำ
พัสตราภรณ์ ทิพยโสธร
Passatraporn Thipsotorn
#อาจารย์
สมาชิก
อมรชัย ชัยชนะ
Amornchai Chaichana
#อาจารย์
สมาชิก
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project