Back

Mobile application following research standard operation for higher education institution; A case of King Mongkuth Institute of Ladkrabang

โปรแกรมประยุกต์เพื่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัยสำหรับสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจัาคุณทหารลาดกระบัง

@คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

#Cluster 2024
#Digital Technology
โปรแกรมประยุกต์เพื่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัยสำหรับสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจัาคุณทหารลาดกระบัง

Details

Research project, research application for compliance with research standards for higher education institutions, case study: King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. Study of the current state of compliance with research standards for higher education institutions. Shows research development have a purpose 1) Studying the implementation of research standards and ethics at higher education institutions, leading to 2) designing a mobile phone application to track research standards and ethics at higher education institutions as well 3) evaluating the application to follow standards and ethics. Research at higher education institutions. By complying with research standards for higher education institutions Show research developments Define the application format for tracking research standards. The goal is to promote compliance with research standards for higher education institutions.
Application research and development promotes compliance with research standards and ethics at higher education institutions. in the management of the learning canal city community The study was conducted in 3 steps sequentially. With 1) Studying the implementation of research standards and ethics at higher education institutions. 2) Design a mobile phone application to monitor research standards for higher education institutions. 3) Evaluate the application to monitor research standards. Develop the application according to the above steps. The research team spent one year studying and surveying the study area. which received good cooperation from experts and sample groups at King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. The introduction of research standards tracking applications is developed in line with contemporary technological changes, supported by the concept of information behavior and adoption of information technology. There is clearly a role and cooperation between service providers and recipients of research standards. In summary, recommendations for developing research standards monitoring are as follows.
1) Researchers and research groups must study and promote compliance with research standards for higher education institutions. Including the need to present information to promote the use of contemporary technology. And caution should always be taken when using applications in the research standard group.
2) Using an application to track research standards Must learn to use contemporary technology for the benefit of research and innovation management. and fully comply with research standards.
In this regard, the development of an application for tracking research standards creates cooperation between service groups and recipients of research standards services. to encourage participation in design and setting the direction for the development of applications to follow the aforementioned research standards. It is a part that supports research integration, showing participation in the use of contemporary technology, promoting sustainable research standards.

Objective

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าการศึกษาวิจัยหรือการทดลองในมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับระบาดวิทยา การเกิดโรค พยาธิสรีรวิทยาของโรค การวินิจฉัย การป้องกัน การรักษา เพื่อยืนยันประสิทธิผล และความปลอดภัยทางยา นำไปสู่วิธีการตรวจวินิจฉัย การป้องกัน รักษาโรค และการดูแลสุขภาพที่ทันสมัยและก้าวหน้าขึ้น อันจะส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ด้วยสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวนช.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยมีหลักการและแนวทางดำเนินงาน 3 เรื่อง คือ ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนาปัจจัยเอื้อต่าง ๆ เช่น ระบบมาตรฐาน กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของ สวนช. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในการกำหนดทิศทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมทั้งปรับปรุงระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยมีภารกิจสำคัญประการหนึ่ง คือ การจัดทำมาตรฐานการวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางและหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการระบบการวิจัยให้มีมาตรฐานเดียวกัน และจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการวิจัยในระดับหน่วยงานวิจัย
ปัจจุบัน วช. ได้มีการพัฒนามาตรฐานการวิจัยของประเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานการวิจัยทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ไปใช้ในกระบวนการวิจัย เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการวิจัยของประเทศให้ได้ผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยกำหนดให้มีมาตรฐานการวิจัยที่สำคัญ ใช้เป็นกลไกในการกำกับ ตรวจสอบและรับรอง การรักษามาตรฐานในกระบวนการดำเนินงานวิจัย โดยมาตรฐานที่ดำเนินการฯ ดังกล่าว ได้แก่ มาตรฐานการวิจัยในคน มาตรฐานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ประเมินโครงการวิจัย ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ รวมทั้งจริยธรรมนักวิจัยเป็นต้น
ประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติทางกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือทดลองในมนุษย์เป็นการเฉพาะ แต่มีกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับคำประกาศที่มีบางส่วนที่ต้องอ้างอิงเพื่อประกอบการวิจัยในบางเรื่องที่เกี่ยวข้องได้แก่ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม 2549 หมวด9 การศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์ ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่อง การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการรักษา  พ.ศ. 2552 แล้ว และคำประกาศสิทธิผู้ป่วย
แม้ไม่มีกฎหมายเฉพาะ การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตก็ต้องอ้างอิงกฎเกณฑ์หรือแนวทางจริยธรรมสากลและของประเทศ ผู้เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย สถาบันวิจัย คณะกรรรมการจริยธรรมการวิจัย ผู้สนับสนุนการวิจัย และผู้กำกับดูแลการวิจัย ต่างมีบทบาทและความรับผิดชอบในการปกป้องสิทธิ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เข้าร่วมการวิจัย โดยอาศัยหลักจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสากลที่ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทางชมรมจริยธรรมการทำวิจัยในประเทศไทย ได้จัดทำ “แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยแห่งชาติ” ครั้งแรกในปี พ.ศ.2545 และได้ปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น “แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ. 2550” เพื่อเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติด้านจริยธรรมในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และทำหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยแก่ผู้สนใจมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุที่พันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ที่มีเป้าหมายยุทธศาสตร์ทางด้านการวิจัยทั้งด้านสุขภาพ ด้านวิทยาศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์  จำเป็นต้องศึกษาและหาแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานการวิจัย 
ดังนั้นการสร้างระบบพัฒนาและติดตามมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา ให้มีความสามารถและสมรรถนะด้านความปลอดภัยตามที่ต้องการ และมีประสิทธิภาพดีขึ้น ด้วยแนวคิดการออกแบบโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์มือถือติดตามมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระยัง จะช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบการศึกษาวิจัย และเป็นประโยชน์ในการพัฒนามาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย โดยมุ่งเน้นการกำหนดมาตรการหลักเกณฑ์ ในการดำเนินงานวิจัยซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม

Project Members

พัสตราภรณ์ ทิพยโสธร
Passatraporn Thipsotorn

#อาจารย์

Member
อมรชัย ชัยชนะ
Amornchai Chaichana

#อาจารย์

Member

Vote for this Innovation!

Loading...