กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

แชทบอทด้านการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3

Healthcare Chatbot for slowing the Progression in Chronic Kidney Disease Stage 3 patients

@คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
แชทบอทด้านการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3

รายละเอียด

ในแต่ละปี ประเทศไทยมีประชากรป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นในทุกๆปีและยังมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาโรคไตเรื้อรังจนเข้าสู่โรคไตระยะสุดท้าย เนื่องจากโรคไตเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ กระทรวงสาธารณสุข จึงมีเป้าหมายให้มีการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังในแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ผู้วิจัยสนใจจึงพัฒนาระบบ Healthcare Chatbot เพื่อนำเข้ามาช่วยให้คำแนะนำ และให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังแก่ผู้ป่วย และช่วยเเบ่งเบาภาระหน้าที่ของบุคคลากรทางการเเพทย์ โดยทางผู้จัดทำได้เลือกพัฒนาระบบขึ้นเป็น Mobile Application ผ่าน Application Line ซึ่งเป็นช่องทางที่สะดวกต่อการเข้าถึง และใช้งาน เนื่องจากเป็นแอปพลิเคชันที่คนไทยนิยมใช้ในประเทศไทย และสามารถใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android

วัตถุประสงค์

โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญของทั่วโลกซึ่งเป็นภาวะที่คุกคามขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทั่วโลกประมาณ 843.6 ล้านคนทั่วโลกต่อปี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับที่ 12 ที่ทำให้ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงถึง 1.2 ล้านคนต่อปี สำหรับในประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่พบโรคนี้มากอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน ปัจจุบันพบว่าประชากรไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ของประชากรหรือประมาณ 11.6 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2563 มีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคไตเรื้อรังทั้งสิ้น 10,758 ราย ซึ่งโรคไตเรื้อรังแบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยแต่ละระยะขึ้นอยู่กับค่าอัตราการกรองของไตหรือ eGFR นอกจากนี้ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาโรคไตเรื้อรังจนเข้าสู่โรคไตระยะสุดท้าย เนื่องจากโรคไตเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ กระทรวงสาธารณสุข จึงมีเป้าหมายให้มีการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังในแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3
ดังนั้น ผู้วิจัย จึงนำเทคโนโลยี แชทบอท (Chatbot) ที่เป็นระบบการตอบกลับอัตโนมัติที่เสมือนการโต้ตอบกับมนุษย์ ปัจจุบันแชทบอทได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้สำหรับตอบคำถามต่าง ๆ โดยสามารถโต้ตอบได้อย่างรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้เทคโนโลยีนี้ได้รับความนิยม และทำให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่
จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยสนใจพัฒนาระบบ Healthcare Chatbot เพื่อนำเข้ามาช่วยให้คำแนะนำ และให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังแก่ผู้ป่วย และช่วยเเบ่งเบาภาระหน้าที่ของบุคคลากรทางการเเพทย์ โดยทางผู้จัดทำได้เลือกพัฒนาระบบขึ้นบน Mobile Application ผ่าน Application Line ซึ่งเป็นช่องทางที่สะดวกต่อการเข้าถึง และใช้งาน เนื่องจากเป็นแอปพลิเคชันที่คนไทยนิยมใช้ในประเทศไทย และสามารถใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android

ผู้จัดทำ

นัทธพงศ์ กลั่นสุวรรณ์
NATTAPONG KLANSUWAN

#นักศึกษา

สมาชิก
นพวิชญ์ สุทธิวิเชียรโชติ
NOPPAWIT SUTTHIWICHIENCHOT

#นักศึกษา

สมาชิก
พัฒนพงษ์ ฉันทมิตรโอภาส
Pattanapong Chantamit-O-Pas

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด